ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 11,654

เที่ยวดอยภูคา

เที่ยวดอยภูคา

ห้องพัก |   สถานที่เที่ยวดอยภูคา | เที่ยวดอยภูคา

 เที่ยวดอยภูคา (ฉบับย่อ)

สิ่งที่น่าสนใจที่สุดบนดอยแห่งนี้ คือ "ชมพูภูคา" หากเดินทางมาช่วงเดือน มกราคม ก็จะได้เห็นขมพูภูคาบานสะพรั่ง สิ่งที่ไม่ควรพาดรองลงมาคือ จุดชมวิว เต่าร้างยักษ์(ปาล์มดึกดำบรรพ์) น้ำตกต่างๆ เช่น น้ำตกศิลาเพชร น้ำตกภูฟ้า(แต่ต้องเดินเท้ากว่าครื่งวัน)  ส่วนบ่อเกลือ ผมเองไม่คิดว่าจะน่าสนใจเท่าไร

......................................

 

วันแรก ตามโปรแกรม แล้วเราควรเที่ยวตัวเมืองน่านก่อน 1 วัน เพราะ น่านมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และประวัติศาสตร์มากมาย เช่น วัดภูมินทร์ วัดพระธาตุช้างค้ำ พระธาตุแช่แห้ง งาช้างดำที่พิพิธภัณฑ์จังหวัดน่าน ฯลฯ พักในตัวเมืองน่าน 1 คืน หรือจะพักรีสอร์ทกลางธรรมชาติที่ น่านวัลเลย์ก็ได้ ห่างจากตังเมืองเพียง 15 กม.

วันที่ 2 เช็คสภาพรถและเติมน้ำมันให้เรียบร้อย แล้วมุ่งสู่ดอยภูคา ก่อนขึ้นดอย อย่าลืมแวะซื้อผ้าลายน้ำไหลฝีมือไทลื้อ ร้านค้าอยู่ระหว่างทางขึ้นดอยในหมู่บ้าน น้ำตกศิลาเพชร เป็นน้ำตกอีกแห่งที่ไม่ควรพลาด (แต่ผมพลาดไปครับ เพราะเมื่อเดือน ตุลาฯที่ไปนี่ ทางมันขาดซะก่อน เลยไปไม่ถึง) ตลอดทางขึ้นดอย เราสามารถแวะชมทิวทัศน์สองข้างทางได้ตลอด ยิ่งขึ้นยิ่งสูงทางยิ่งคดเคี้ยว และแน่นอนครับ ทิวเขาจะแลดูสวยงามยิ่งๆขึ้น หากถามผมดอยภูคานี่มีอะไรดี สิ่งแรกที่ผมนึกถึงคือ ทิวเขาสีเขียวขจีสลับซ้อนกันเป็นชั้นๆ นี่แหละครับ มากว่าดอกชมพูภูคาซะอีก เดินทางต่อจะพบน้ำตกต้นตอง และเลยขึ้นไปก็ถึงที่ทำการประชาสัมพันธ์อุทยานฯ หาแผนที่ดีๆ ซักฉบับที่นี่ แล้วเดินทางต่อที่ทำการบนยอดดอย เลยจากที่ทำการไม่ไกลนักเราก็ถึงจุดชมวิว หากจะเดินทางไปชมน้ำตก หรือถ้ำ ควรจะมีเจ้าหน้าที่นำทาง อย่าลืมไปชมต้นปาล์มดึกดำบรรพ์ด้วยนะครับ เดินพักผ่อนชมบรรยากาศหายใจเข้าปอดให้เต็มที่ แล้วเดินทางกลับ จะพักที่นี่ หรือพักที่ป่าปัวภูคาบนเชิงดอยก็ได้ครับ แต่ที่ป่าปัวฯ เขามี ห้องนอนชมดาวและเครื่องทำน้ำอุ่นด้วย

รู้ไว้ใช่ว่า...

ชมพูภูคา เป็นพันธุ์ไม้ที่หายากที่สุดพันธุ์หนึ่ง มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า "ไบร์ทชไนเดอร์ซีเนนซีส" คาดว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว จนกระทั่งมีการค้นพบอีกครั้งในป่าดอยภูคาแห่งนี้  ลักษณะของดอกชมพูภูคา กลีบดอกด้านนอกมีสีชมพูจางขาว และกลีบดอกด้านในมีสีชมพูลายเส้นสีม่วง ชูช่อเป็นพวงใหญ่ ตั้งขึ้นดูสวยงาม จึงได้มีการตั้งชื่อตามสีของดอกและสถานที่ค้นพบว่าดอก "ชมพูภูคา" นับแต่นั้นมา ชมพูภูคาเป็นพืชใบประกอบ มีความยาว 30-70 ซม. ใบย่อย 4-9 คู่ ใบรูปไข่ผสมปลายดอกแหลม ฐานใบมนใต้ใบมีขน ดอกสีขาวอมชมพู กลีบดอก 5 กลีบ แยกออกจากกันเป็นรูปไข่ คว่ำโค้งงอที่ฐานหุ้มด้วยกลีบดอกรองอีกชั้นจนเกือบกลม มีความยาว 2-3.6 เซนติเมตร ขณะนี้กลุ่มต้นชมพูภูคาที่สมบูรณ์ที่สุด มีอายุราว 20-30 ปี อยู่รวมกัน 6 ต้นใหญ่ ออกดอกเต็มต้นทุกปี รวมถึงมีการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ บริเวณโคนต้นมีต้นกล้าเล็กๆ เต็มไปหมด ถือว่าเป็นแหล่งต้นชมพูภูคา

ที่เที่ยวแนะนำ

-- ดูเพิ่ม --