ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 1,549

วัดพระหลวง หรือ วัดพระหลวงธาตุเนิ้ง

วัดพระหลวง หรือ วัดพระหลวงธาตุเนิ้ง

วัดพระหลวงธาตุเนิ้ง วัดพระหลวง ตั้งอยู่เลขที่ 177 หมู่ที่ 5 ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ นับเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านพระหลวงในปัจจุบัน วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าสร้างขึ้นในสมัยใด
 
 ประวัติวัดพระหลวงธาตุเนิ้ง
 จากตำนานวัดพระหลวง ซึ่งเรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 โดยพระครูปัญญาภิชัย เจ้าอาวาสรูปที่ 13 ได้กล่าวว่า แต่เดิมหมู่บ้านและวัดพระหลวงแห่งนี้ เคยเป็นป่าใหญ่ดงหลวงมาก่อน มีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นหนาทึบ มีสัตว์ป่าชุกชุม ในจำนวนนั้นก็มีงูใหญ่อยู่ตัวหนึ่ง จะคอยจับสัตว์ต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แม้แต่สัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน หากพลัดหลงเข้าไปก็จะถูกงูกัดกินทุกคราวไป ครั้งหนึ่งมีพวกพ่อค้าชาวฮ่อ (จีนฮ่อ) นำสินค้าบรรทุกหลังม้ามาขายและพากันพักแรมที่บ้านสูงเม่น โดยปล่อยม้าให้เที่ยวหากินบริเวณใกล้เคียง ม้าบางตัวที่ล่วงล้ำเข้าไปในดงหลวงก็จะถูกงูใหญ่รัดกินเป็นอาหาร เมื่อเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้ง ก็ทำความโกรธแค้นให้แก่พ่อค้าชาวจีนฮ่อเป็นอย่างมาก จึงช่วยกันหาวิธีกำจัดงูนั้นเสีย โดยช่วยกันตัดไม้ไผ่มาผ่า แล้วเหลาเอาผิวไม้มาสานขัดแตะเป็นตาแสง 6 เหลี่ยม ซึ่งชาวเมืองเหนือเรียกว่า “ตาแหลว” กะให้รูบ่วงตาแหลวมีขนาดกว้างพอ ๆ กับขนาดขนาดตัวงู แล้วนำไปปิดปากรู ตอกหลักยึดเงื่อนตาแหลวไว้ให้ตรึงแน่นหนา รุ่งขึ้นอีกวันก็พากันมาดูพบว่างูใหญ่ติดบ่วงตาแหลวงอยู่ จึงช่วยกันฆ่างูนั้นเสีย แล้วตัดซากงูออกเป็นท่อน ๆ กองไว้ใกล้ ๆ รูงูนั้น หลังจากวันนั้นพ่อค้าชาวจีนฮ่อก็นำสินค้าไปขายตามปกติ ครั้นเมื่อขายสินค้าหมดก็เดินทางกลับ และพากันไปดูซากงูที่กองไว้ ปรากฏว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง เพราะซากงูกลายเป็นท่อนเงินท่อนทอง จึงแบ่งท่อนเงินท่อนทองนั้นออกเป็น 3 ส่วน พวกพ่อค้าเอาไป 1 ส่วน นำไปถวายเจ้าฟ้า (เจ้าเมือง) 1 ส่วน และฝังไว้บริเวณรูงูนั้น 1 ส่วน
 ต่อมามีกลุ่มชนคณะหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นพวกม่านหรือพม่า ได้พากันมาบุกเบิกป่าดงหลวงนั้น แล้วตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและสร้างวัดขึ้นพร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์ครอบรูงูไว้ จึงเกิดเป็นหมู่บ้านและวัดขึ้น และไม่ปรากฏว่าชุมชนนี้อยู่บริเวณนี้นานเท่าใด ได้อพยพหรือถูกกวาดต้อนเนื่องจากสงครามไปที่ไหนเมื่อไร คงปล่อยให้เป็นหมู่บ้านและวัดร้างอีกเป็นเวลานาน จนเกิดเป็นป่าใหญ่ดงหลวง โบสถ์วิหารสิ่งก่อสร้างสลักหักพังเหลือแต่ซากและแนวขอบเขตของวัด อีกทั้งเจดีย์ พระพุทธรูปพระประธานก็ชำรุดทรุดโทรมมาก จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2330 ได้มีชนกลุ่มไทลื้อ ชาวเชียงแสน จังหวัดเชียงราย พากันอพยพลงมาทางใต้ถึงบ้านสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยมีพระภิกษุสามเณรและชาวบ้าน 3 วัด 3 หมู่บ้าน มาสร้างบ้านเรือนเป็นหมู่บ้านขึ้น และช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดร้าง ตลอดจนพระประธานองค์ใหญ่ในวิหาร และให้ชื่อวัดนี้ว่า “วัดพระหลวง” และหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านพระหลวง” ซึ่งทั้งวัดและหมู่บ้านมีคำว่าหลวง คงเกิดจากที่มีพระประธานองค์ใหญ่ มีชาวบ้านอพยพมาอยู่มากถึง 3 หมู่บ้านและ 3 วัดด้วยกัน และสถานที่นี้เป็นป่าใหญ่ดงหลวง วัดพระหลวงมีโบราณสถานที่มีความสำคัญหลายแห่งคือ เจดีย์วัดพระหลวง หอไตร หอระฆัง ซึ่งชาวบ้านได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานให้เป็นปูชนียสถานที่ควรค่าแก่การเคารพสักการะ และเป็นศูนย์รวมของชุมชนในท้องถิ่นสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้

ภาพมุมสูง วัดพระหลวง

ภาพมุมสูง วัดพระหลวง

ภาพมุมสูง วัดพระหลวง

ภาพมุมสูง วัดพระหลวง

ภาพมุมสูง วัดพระหลวง

ภาพมุมสูง วัดพระหลวง

ภาพมุมสูง วัดพระหลวง

ภาพมุมสูง วัดพระหลวง

ภาพมุมสูง วัดพระหลวง

ภาพมุมสูง วัดพระหลวง

ภาพมุมสูง วัดพระหลวง

ภาพมุมสูง วัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ประวัติความเป็นมา วัดพระหลวง

ประวัติความเป็นมา วัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง

ด้านนอกวัดพระหลวง