ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 1,816

ท่าเตียน

ท่าเตียน

ชุมชนท่าเตียน เป็นย่านการค้าใหญ่ ที่เก่าแก่ครั้งก่อนสร้างพระบรมมหาราชวังทีเดียว สมัยต้นกรุงรัตน -โกสินทร์เป็นตลาดจีน ทั้งตลาดบกและตลาดน้ำ มีท่าเรือใหญ่ขนส่งสินค้า ชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนท่าเตียนยัง คงสืบสานกันมาแต่อดีตกาลคู่กับวัดโพธิ์
 ในบริเวณที่ดินของชุมชนท่าเตียนเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรมศาสนา และเอกชน โดยมีเนื้อที่ประมาณ 3.5 ไร่
 แม้ว่าโรงเรียน ร้านค้าจะพัฒนาจากเรือนไม้ เรือนแพ เป็นตึกแถว ตลาดน้ำที่มีเรือผักผลไม้หายไปกลายเป็น การขนส่งทางรถบรรทุกก็ตาม แต่การค้ายังคงคึกคักเช่นเก่าก่อน ริมแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ยังคงมีท่าเรือ ทั้งเรือเมล์ข้าม ฟากไปวัดอรุณฯ เรือด่วนเจ้าพระยา รับส่งผู้โดยสารประจำวันตั้งแต่เช้าตรู่ถึงเย็นค่ำ

ท่าเตียนแห่งนี้เป็นชุมชนมาตั้งสมัยอยุธยาแล้วเรียกว่าชุมชนบางกอก ในสมัยรัตนโกสินทร์บริเวณท่าเตียน แห่งนี้เคยเป็นตลาดท้ายสนมหรือตลาดท้ายวังมาก่อน และเป็นตลาดที่มีความคึกคัก มีเรือมาจอดเทียบท่าส่งของ และค้าขายกันเต็มท่า ซึ่งนอกจากจะเป็นศูนย์กลางตลาด ขนส่งสินค้าทางการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ แล้วยังถือ ได้ว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการคมนาคมทางน้ำอีกด้วย ไม่ว่าใครจะเดินทางไปไหนมาไหนหรือจะไป ต่างประเทศ ก็ตามก็ต้องมาขึ้นลงเรือที่ท่านี้ทั้งสิ้นและตลอดสองฟาก ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาก็เต็มไปด้วยเรือนแพ ของชาวบ้านที่มาอาศัยอยู่และค้าขายในแถบนี้ จนกระทั่งมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ทำให้ บริเวณท่าเรือ เรือนแพ ต่างๆ ที่อยู่ริมน้ำ ตลาดท้ายวัง วังของเจ้าขุนมูลนายและบริเวณใกล้เคียงถูกเผาเรียบ เป็นหน้ากลองจึงสันนิษฐานว่า ด้วยเพลิงไหม้ครั้งนี้จึงเป็นมูลเหตุที่มาของชื่อ “ท่าเตียน”
 
 โดยในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้สร้างตึกแบบยุโรปขึ้นตรงท่าโรงโม่หรือซอยทางเข้าท่าเรือข้ามฟากท่าเตียน ซึ่งจะสร้างเป็นตัวยูไปทางซอยท่าเรือแดง ส่วนตรงกลางตึกรูปตัวยูคือตลาดท่าเตียน ส่วนตึกที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 จะอยู่แถวซอยประตูนกยูง แต่ยังมีตึกที่เก่ากว่านั้นตรงใกล้ๆซอยประตูนกยูง ที่เคยเป็นอู่จอดเรือของสมเด็จพระมหา- สมณ เจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส แถวนั้นจึงมีห้องพักของพวกฝีพาย เป็นอาคารชั้นเดียว 11 ห้องที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งสถาปัตยกรรมเก่าแก่เหล่านี้ทางชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยกันอนุรักษ์รักษาไว้
 
 ท่าเตียนเป็นแหล่งที่กำเนิดเพลงไทยสำเนียงลาวอันอมตะนั้นก็คือ“เพลงลาวดวงเดือน” เพลงลาวดวงเดือน เดิมชื่อว่า เพลงลาวดำเนินเกวียนซึ่งเป็นเพลงที่ทรงพระนิพนธ์โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิไชยมหินท โรดม (หรือพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์)พระราชโอรสองค์ที่38ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่- หัว ซึ่งแถวท่าเตียนนี้เคยเป็นที่อยู่ของขุนนางและเจ้าขุนมูลนายหลายพระองค์รวมทั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมด้วย ต้นเหตุของการนิพนธ์เพลงนี้เนื่องจากว่าครั้งหนึ่ง กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ได้เสด็จ ไปยังเชียงใหม่ และเกิดชอบพอกับเจ้าหญิงชมชื่น พระธิดาองค์โตของเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่ ทรงโปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเฒ่าแก่เจรจาสู่ขอแต่ได้รับการทัดทาน ไม่มีโอกาสที่จะได้สมรสกัน ทำให้พระองค์โศกเศร้ามาก และได้ทรงพระนิพนธ์เพลงนี้ขึ้น เพื่อเป็นการระลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่น แต่ด้วยเนื้อเพลง มีคำว่า ดวงเดือนอยู่หลายคำ จึงได้เรียกเพี้ยนกันมาจนกลายเป็นชื่อเพลงลาวดวงเดือน