Thai Tour
สถานที่ท่องเที่ยว
เกาะเสม็ด เกาะช้าง บ้านพักพัทยา ปาย เขาค้อ ที่พักหัวหิน   
: หารายละเอียด : หากระทู้
back  1  [2]  3  next  
วัดในจังหวัดนนทบุรี
โพสเมื่อ : 26 ส.ค. 51 : 13:28 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


 
ความเห็นที่ 101 โพสเมื่อ : 20 ม.ค. 52 : 18:05 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๑๐๐.วัดปราสาท ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๔ ต.บางกร่าง อ.เมือง นนทบุรี เจ้าอาวาส พระครูวิสุทธิจริยาภิวัฒน์(วิมโล ฉลาด สดมุ้ย) อุปสมบทเมื่อ ๒๕ พ.ย.๒๕๑๕ ตั้งวัดประมาณ พ.ศ.๒๓๐๐ เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า ๒๕๐ ปี เป็นวัดร้างหลังเสียกรุง สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนังที่ควรศึกษา พระประธานเก่าแก่มีรูปทรงโค้งคล้ายเรือ มีกำแพงแก้ว สองชั้นซึ่งมีร่องรอยให้ศึกษาได้ ปัจจุบันทรุดโทรมมากแล้ว ทางวัดกำลังวางแผนบูรณะซ่อมแซมสมัยอยุธยาตอนปลาย สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หน้าบันพระอุโบสถเป็นไม้สักสลักรูปนารายณ์ทรงครุฑ (ปัจจุบันตัวครุฑถูกขโมยไปแล้ว) เครื่องบนเป็นไม้สักประดับด้วยรวยมอญ (ตัวไม้แกะสลักที่ทอดตัวลงมาบนหัวแปตอนหน้าจั่ว เป็นศิลปะมอญ) ตรงหุ่นนก (สามเหลี่ยม ข้างรวยมอญ) เป็นรูปราชสีห์และคชสีห์ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นโบสถ์แบบมหาอุดไม่มีการเจาะฝาผนังเลย ฐานพระอุโบสถเป็นแบบตกท้องช้างหรือท้องสำเภา (การสร้างโบสถ์แบบตกท้องช้างนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางสถาปัตยกรรม คือเมื่ออากาศร้อน ความร้อนจะลอยตัวขึ้นสูงอากาศเย็นจะพัดเข้าแทนที่ได้สะดวก) ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานและพระสาวก มีภาพจิตรกรรมเขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายโดยฝีมือของสกุลช่างชั้นสูงนนทบุรี เรียกว่าทศชาติชาดก นับว่าเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดนนทบุรี ถือว่าวัดนี้เป็นวัดหนึ่ง ที่ดำเนินการอนุรักษ์โบสถ์และศิลปกรรมได้อย่างถูกวิธี จึงทำให้เป็นแหล่งวิทยาการที่น่าสนใจยิ่งของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ บนศาลาการเปรียญยังมีธรรมาสน์ที่มีอายุเก่าแก่พอกับโบสถ์ ประดับลวดลายตกแต่งอย่างสวยงาม วัดนี้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดที่มีการอนุรักษ์ศิลปกรรมได้อย่างถูกต้อง เป็นที่เชิดหน้าชูตา
"อุโบสถวัดปราสาท" เป็นอุโบสถสมัยอยุธยาตอนกลาง และเป็นแบบมหาอุด คือผนังด้านข้างไม่มีหน้าต่าง มีเพียงหน้าต่างเล็กตรงผนังด้านหลังพระประธานอย่างเดียว อุโบสถหันหน้าสู่ทิศตะวันออก เป็นอุโบสถแบบมีช่อฟ้า ใบระกา มีทวย มีหน้าบันจำหลักไม้ มีลายจำหลักไม้ดาวเพดานที่หน้ามุข...
(น. ณ ปากน้ำ. สกุลช่างนนทบุรี, เมืองโบราณ, ๒๕๓๐)
. . . . วัดปราสาทเป็นที่รู้จักกันดีของผู้คลุกคลีอยู่ในวงการศิลปะแบบประเพณีนิยม .. วัดนี้มีวิจิตรศิลป์อันงดงามทั้งด้านสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเฉพาะจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเป็นผลงานสกุลช่างนนทบุรีที่หาชมได้ยากยิ่งแล้วในปัจจุบัน...
. . . . วัดปราสาทสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๓๐๐ ในสมัย อยุธยาตอนปลาย ไม่ปรากฎหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง กรมศิลปากรได้เคยบูรณะจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถมาครั้งหนึ่งแล้ว...
. . . . พระอุโบสถวัดปราสาทนั้นก็เหมือนกับพระอุโบสถของวัดอื่น ๆ ที่สร้างในสมัยอยุธยา กล่าวคือไม่มีหน้าต่างด้านข้าง แต่มีหน้าต่างเล็ก ๆ อยู่ทางด้านหลังพระอุโบสถเบื้องหลังพระประธานเท่านั้น...
(กรมการศาสนา, ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๒ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๐)
หมายเหตุ : คัดข้อความโดย "ปุ้มปุ้ย" ...
การเดินทาง
รถยนต์ วัดนี้ตั้งอยู่ริมถนนบางกรวย-ไทรน้อย จากสะพานพระนั่งเกล้า ตรงไปสี่แยกไฟแดงที่ ๒ เลี้ยวซ้ายเข้าบางกรวย ผ่านวัดสวนแก้ว ตรงไปทางเส้นบางกรวย-ไทรน้อย จะเห็นป้ายบอกทางไปวัด หรือ จากท่าน้ำนนทบุรีนั่งเรือข้ามฟากมา โดยสารรถสองแถวสายบางใหญ่-ท่าน้ำ คิวรถอยู่ใกล้กับวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

เรือ ต้องเดินจากท่าเรือผ่านสวน ของชาวบ้านเข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตร

 
ความเห็นที่ 102 โพสเมื่อ : 22 ม.ค. 52 : 08:08 น.  โดย : jeab742  


๑๐๑.วัดปลายคลองขุนศรี ตั้งอยู่เลขที่ ๒๕ ม.๓ ต.ไทรใหญ่ อ.ไทรน้อย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๗ ต.ค.๒๔๗๓ เจ้าอาวาส พระครูไพจิตรพัฒนาทร(ถาวโร สมพงษ์ ธรรมธิรา) อุปสมบทเมื่อ ๓๐ พ.ค. ๒๕๑๒ เป็นวัดที่จัดงานประเพณีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี

 
ความเห็นที่ 103 โพสเมื่อ : 22 ม.ค. 52 : 08:09 น.  โดย : jeab742  


๑๐๒.วัดปากคลองพระอุดม ตั้งอยู่เลขที่ ๔๑ บ้านแหลม ถ.ราชพฤกษ์ ม.๕ ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๘ พระอุโบสถและพระประธานปางสมาธิ อายุกว่า ๑๐๐ ปี(๒๔๑๘) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๑ ต.ค.๒๔๒๒ เจ้าอาวาส พระครูวินัยธรวิชัย อติภทฺโท(ชื่นแสงจันทร์)

 
ความเห็นที่ 104 โพสเมื่อ : 22 ม.ค. 52 : 08:12 น.  โดย : jeab742  


๑๐๓.วัดปากน้ำ (พิบูลสงคราม) ตั้งอยู่ที่บ้านตลาดแก้วเลขที่ ๑๐๙ ถ.พิบูลสงคราม ม.๙ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง นนทบุรี สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๕ อุโบสถหลังเก่า ลักษณะทรงไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาก่ออิฐตัน หน้าบันเป็นปูนปั้นลวดลายธรรมจักร ซุ้มหน้าต่างเป็นปูนปั้นลายกระหนกเครือเถา บางประตูหน้าต่างทาสีแดงเรียบภายในฉาบปูนเรียบทาสีขาว คานทาสีแดงเขียนลายดาวกระจายสีทอง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการที่ระเบิดลงสะพานพระราม 6 ทำให้อุโบสถร้าว ในปปี พ.ศ.2496 จอมพล ป. พิบูลสงครามและพุทธศาสนิกชนจึงได้ร่วมกันบูรณะขึ้นใหม่ เจดีย์บรรจุอัฐิของ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม บ้านเดิมของจอมพล ป.พิบูลสงคราทม อยู่ริมคลองบางเขนเก่า ฝั่งตรงข้ามวัดปากน้ำในวัยเด็กสุขภาพไม่ดี บิดา มารดาได้ยกให้เป็นลูกศิษย์เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ครั้นได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ได้กลับมาบูรณะวัดปากน้ำให้เจริญรุ่งเรือง เมื่อถึงแก่อนิจกรรม ได้นำอิฐิส่วนหนึ่งมาบรรจุไว้ที่เจดีย์รวมกับญาติพี่น้องซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถหลังเก่า ริมคลองบางเขนเก่า ( ฐิตารีย์ องอาจอิทธิชัย นักวิชาการประชาสัมพันธ์ 6 ว ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีโทร. 02 – 589 0481 – 5 ต่อ 158)เจ้าอาวาส พระครูนนทกิจพิบูลย์(ถาวรโร เก๋ โพธิ์จั่น) อุปสมบทเมื่อ ๑ มิ.ย.๒๔๗๕

 
ความเห็นที่ 105 โพสเมื่อ : 22 ม.ค. 52 : 08:13 น.  โดย : jeab742  


๑๐๔.วัดป่ามณีกาญจน์ ๖๗/๓ หมู่ ๓ ถ.บางม่วง - บางคูลัด (สาย๑) ต.ศาลากลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ๑๑๑๓๐ ศิษย์ท่านพระอาจารย์สาคร ท่านหนึ่งทราบความประสงค์อันกอปรด้วยกุศลเจตนาของท่านพระอาจารย์สาคร จึงนำความไปปรึกษากับกลุ่มญาติ ซึ่งมีที่ดินอยู่ ณ ต.ศาลากลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี จำนวน ๙ ไร่เศษ กลุ่มญาติทั้งหมดอันประกอบด้วย ม.ร.ว.วรรณี มณีกาญจน์ นายสันติ มณีกาญจน์ (อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และจังหวัดหนองคาย) นางสาวชูพักตร์ มณีกาญจน์ นางบุญล้อม มณีกาญจน์ และลูกๆของนายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ มีความเห็นพ้องกันว่าสมควรถวายที่ดินผืนดังกล่าวเพื่อสร้างวัดในสังกัดธรรมยุติ เพื่อประกอบศาสนกิจในบวรพระพุทธศาสนาต่อไป โดยท่านพระอาจารย์สาคร ให้ชื่อวัดนี้เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กุศลธรรมของญาติโยมที่มีจิตศรัทธาถวายที่ดินว่า “วัดป่ามณีกาญจน์” การดำเนินการก่อสร้างจึงได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๖ เป็นต้นมา
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๘ คุณประมิตร วังพัฒนมงคล และคณะศิษย์เป็นผู้มีจิตศรัทธา ซื้อที่ดินถวายเพิ่มอีกจำนวน ๑๐ ไร่ ๒ งาน ๒๕ ตารางวา ทำให้วัดป่ามณีกาญจน์มีพื้นที่รวม ๒๐ ไร่ ๖๖ ตารางวา
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม ภายในบริเวณวัดปลูกต้นไม้ทั้งไม้ดอกและไม้ยืนต้น ตลอดจนผลไม้ เพื่อความร่มรื่นภายในวัด และเพื่อให้เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนา ทางด้านหน้ามีสระน้ำใหญ่และบ่อน้ำ ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังศาลา สิ่งก่อสร้างที่สำคัญประกอบด้วย ศาลาอเนกประสงค์ ๓ ชั้น ขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๑๖ เมตร โรงครัวและเรือนพักของผู้ปฏิบัติธรรม ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๑ เมตร ศาลาปฏิบัติธรรมริมสระน้ำ ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๔ เมตร มีกุฏิพระ ๘ หลัง และกุฏิรับรองพระเถระ ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๘ เมตร จำนวน ๑ หลัง สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด ล้วนมุ่งเน้นให้มีรูปแบบที่เรียบง่ายและประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ สำหรับเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ ท่านพระอาจารย์อำนวย จิตตฺสํวโร(เสตะพันธ์) เป็นเจ้าอาวาส อายุ ๔๕ พรรษา ๑๙ อุปสมบทเมื่อ ๑ ก.ค.๒๕๓๒

 
ความเห็นที่ 106 โพสเมื่อ : 22 ม.ค. 52 : 08:13 น.  โดย : jeab742  


๑๐๕.วัดป่าเรไร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๔ ถ.นนทบุรี-บางบัวทอง ม.๑ ต.บางศรีเมือง อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๐ เดิมชื่อ “วัดป่า” หลังเสียกรุง กลายเป็นวัดร้าง ยกฐานะจากวัดร้างขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ เมื่อ ๓๑ มี.ค.๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๕ พ.ย.๒๕๒๓ เจ้าอาวาส พระครูธรรมธรแสวง วิมโล(เอี่ยมแล้) อปุสมบทเมื่อ ๒๙ มิ.ย.๒๕๐๖

 
ความเห็นที่ 107 โพสเมื่อ : 24 ม.ค. 52 : 13:13 น.  โดย : jeab742  


๑๐๖.วัดป่าเลไลยก์ ตั้งอยู่เลขที่ ๑/๑ บ้านแหลมเหนือ ม.๕ ต.บางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อไรไม่ทราบพบแต่พระปรางค์ กลางสวนป่า จน พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๒๗ หลวงพ่อสร้อย ธมฺมรโส ได้นำคณะลูกศิษย์ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ และขอตั้งวัดใหม่เมื่อ ๒๙ พ.ย.๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๔ มิ.ย.๒๕๓๙ เจ้าอาวาส พระครูสุนทรนนทกิจ(สุมโน สมพงษ์ ตาขุนเหล็ก) อุปสมบทเมื่อ ๓ พ.ค.๒๕๒๗

 
ความเห็นที่ 108 โพสเมื่อ : 24 ม.ค. 52 : 13:14 น.  โดย : jeab742  


๑๐๗.วัดโปรดเกษ ตั้งอยู่เลขที่ ๗๔ คลองพระอุดม ม.๒ ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๗ เจ้าอาวาส พระสมุห์ผิน ชินวโร(กล่ำโทก) อุปสมบทเมื่อ ๕ เม.ย.๒๕๐๐

 
ความเห็นที่ 109 โพสเมื่อ : 24 ม.ค. 52 : 13:15 น.  โดย : jeab742  


๑๐๘.วัดผาสุกมณีจักร ตั้งอยู่เลขที่ ๗/๒ บ้านบางพูด ม.๙ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๒๖ ต.ค.๒๕๒๐ โดยนายผาสุก และนางเง็ก มณีจักร ได้บริจาคที่ดิน และเงินก่อสร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๗ พ.ย.๒๕๒๒ เจ้าอาวาส พระครูสิทธิกิจจาภรณ์(พระสุธีร์ สุธีโร) อุปสมบทเมื่อ ๑๔ พ.ค.๒๕๑๖

 
ความเห็นที่ 110 โพสเมื่อ : 24 ม.ค. 52 : 13:16 น.  โดย : jeab742  


๑๐๙.วัดไผ่ล้อม (เกาะเกร็ด) ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านโอ่งอ่าง ม.๖ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี เป็นวัดที่สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีปูชนียสถานที่สำคัญ คือ อุโบสถ เป็นโบสถ์สมัยอยุธยาที่งามมากแห่งหนึ่ง แต่มีการซ่อมครั้งใหญ่สมัยรัชกาลที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๓ ลายจำหลักไม้ที่หน้าบันเป็นลายดอกไม้งามมาก เช่นเดียวกับสาหร่ายและรวงผึ้งแกะสลักไม้ได้งดงาม เจ้าอาวาส พระอางุย สุนฺทโร(วงษ์สกุล) อุปสมบทเมื่อ ๑๕ พ.ค.๒๕๓๓ ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๓

 
ความเห็นที่ 111 โพสเมื่อ : 24 ม.ค. 52 : 13:17 น.  โดย : jeab742  


๑๑๐.วัดไผ่เหลือง(บางม่วง) ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒/๒ ม.๕ ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อไรไม่ทราบ พบว่าร้างมานานชาวบ้านเรียกว่า “วัดไผ่ร้าง” จน พ.ศ.๒๕๓๐ พระปลัดอดุลย์(สิงห์) ได้เข้าบูรณปฏิสังขรณ์ ขอตั้งวัดใหม่เมื่อ ๑๖ ก.ค.๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๒ ก.พ.๒๕๔๕ เจ้าอาวาส พระครูภาวนาวรานุศาสก์(ฐิตสจฺโจ สิงห์ วิระยะวงศ์) อุปสมบทเมื่อ ๒๑ มี.ค.๒๕๓๐

 
ความเห็นที่ 112 โพสเมื่อ : 6 ก.พ. 52 : 15:42 น.  โดย : jeab742  


๑๑๑.วัดไผ่เหลือง(บางรักพัฒนา) ตั้งอยู่เลขที่ ๔๑/๑ ถ.รัตนาธิเบรศ์ ม.๔ ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๓๐ ก.ค.๒๕๒๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑ ก.พ.๒๕๓๓ เจ้าอาวาส พระมหาอนุชาติ อนุภทฺโท(พันธุ์วิทยากูล) อุปสมบทเมื่อ ๙ พ.ค.๒๕๓๘

 
ความเห็นที่ 113 โพสเมื่อ : 6 ก.พ. 52 : 15:43 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๑๑๒.วัดฝาง ตั้งอยู่เลขที่ ๒๘ ม.๓ ต.บางเขน อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๑๕ มี.ค.๒๒๐๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๒๐๕ เจ้าอาวาส พระครูนนทการโกวิท (เขมธมฺโม อาจ ถนอมพล) อุปสมบทเมื่อ ๑ ก.ค.๒๔๘๓

 
ความเห็นที่ 114 โพสเมื่อ : 6 ก.พ. 52 : 15:44 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๑๑๓.วัดพระเงิน ตั้งอยู่เลขที่ ๒๓ ม.๘ ต.บางม่าง อ.บางใหญ่ นนทบุรี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๔ ผู้ริเริ่มสร้าง คือ พระอาจารย์เสือ มีหอไตร อายุประมาณ ๑๐๐ ปี เป็นอาคารไม้ ตัวหอขนาด ๒ ห้อง ตั้งบนคานและเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งปักอยู่ในสระน้ำ ตัวหอไตรมีเฉลียงรอบ หลังคาเป็นชั้นซ้อน ๒ ชั้น ประดับเครื่องลำยองไม้จำหลักปิดทองประดับกระจก หน้าบันเป็นไม้กระดานเรียบ สภาพปัจจุบันไม้ผุพังไปมากพอสมควร เจ้าอาวาส พระอธิการสมทรง คนฺธสาโร(ทรัพย์สมบูรณ์) อุปสมบทเมื่อ ๖ ส.ค.๒๕๒๖

 
ความเห็นที่ 115 โพสเมื่อ : 6 ก.พ. 52 : 15:45 น.  โดย : jeab742  


๑๑๔.วัดพระนอน ตั้งอยู่เลขที่ ๙ หมู่ที่ ๓ ตำบลบางแม่นาง อ.บางใหญ่ นนทบุรี สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๘ ชาวบ้านถือเอาเหตุผลที่วัดนี้มีพระนอนที่ศักดิ์สิทธิ์มาแต่เดิมจึงได้ขนานนามว่า “วัดพระนอน” มาจนทุกวันนี้ ในปีที่อำเภอบางใหญ่ประสบอุทกภัยบริเวณอนุสรณ์และสถานที่โดยรอบบริเวณวัดจะได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม แต่เป็นที่น่าสังเกตและมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่บริเวณอุโบสถของวัดพระนอนแห่งนี้ น้ำไม่ไหลท่วมสู่บริเวณอุโบสถแม้แต่ปีที่น้ำท่วมสูงสุดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ เจ้าอาวาส พระครูรัตนาสุตาภิรักษ์ (รตนสีโล สมชาย แสงรัตน์) อุปสมบทเมื่อ ๒๐ มิ.ย.๒๕๒๕

 
ความเห็นที่ 116 โพสเมื่อ : 6 ก.พ. 52 : 15:47 น.  โดย : jeab742  


๑๑๕.วัดพลับพลา ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ถ.พิบูลสงคราม ม.๙ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อไรไม่ทราบแต่จากใบเสมาพบว่าน่าจะสมัยพระเจ้าปราสาททอง ตามโฉนดที่ดินสมัย รัชกาลที่ ๕ เรียก “วัดพลับพลาชัย” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่เมื่อ ๓๐ ธ.ค.๒๕๑๘ เจ้าอาวาส พระครูสมุห์ชะลอ คุตฺตธมฺโม(แสงสุข) อุปสมบทเมื่อ ๑๑ พ.ค.๒๕๐๕

 
ความเห็นที่ 117 โพสเมื่อ : 16 ก.พ. 52 : 16:59 น.  โดย : jeab742  


๑๑๖.วัดพิกุลเงิน สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๔ ต่อมาได้มีคนจีนชื่อ ฮะ ซึ่งเป็นตระกูล "โฑณวนิก" ได้ล่องเรือผ่านมาเห็นสภาพวัด เกิดศรัทธาจึงบริจาคทรัพย์สินส่วนตัวสร้างอุโบสถขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๒๑ ประชาชนทั่วไม่มักเรียกว่า " วัดพิกุล " วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพุทธโสธรจำลององค์แรกของประเทศไทย เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้าน มีงานนมัสการเป็นประจำทุกปี

 
ความเห็นที่ 118 โพสเมื่อ : 16 ก.พ. 52 : 17:00 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๑๑๗.วัดพิกุลทอง ตั้งอยู่เลขที่ ๒๕ บ้านคลองบางกอกน้อย ถ.เทิศพระเกียรติ ม.๖ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ พระอุโบสถอายุเกือบ ๑๐๐ ปี(๒๔๗๙) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ เจ้าอาวาส พระครูปลัด สุดใจ เขมจาโร (นาประจักษ์) อุปสมบทเมื่อ ๓๐ มิ.ย.๒๔๙๘

 
ความเห็นที่ 119 โพสเมื่อ : 16 ก.พ. 52 : 17:01 น.  โดย : jeab742  


๑๑๘.วัดพุฒิปรางค์ปราโมทย์ ตั้งอยู่เลขที่ ๘๗ ม.๑ ต.บางศรีเมือง อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๐ เดิมชื่อ “วัดบางชาวเหนือ” กาลเวลาทำให้ชำรุดทรุดโทรมลง จน พ.ศ.๒๔๙๔ ได้บรูรณะใหม่ โดยพระอุโบสถ มีคุณหญิงปรางค์ ปราโมทย์ กับพระยาเจริญราชไมตรี สร้างถวาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๑ ก.พ.๒๕๑๗ เจ้าอาวาส พระมหาประทีป ปทีโป(ครุฑสังข์) อุปสมบทเมื่อ ๑๑ ก.ค.๒๕๓๖

 
ความเห็นที่ 120 โพสเมื่อ : 16 ก.พ. 52 : 17:02 น.  โดย : jeab742  


๑๑๙.วัดพุทธปัญญา ตั้งอยู่เลขที่ ๓๙/๕ ถ.ดวงมณี ม.๗ ต.บางเขน อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๓ มิ.ย.๒๕๔๒ น.ส.ไสว ทองแจ้ง ถวายที่ดิน ๖ ไร่ ๒ งาน ๗๐ ตารางวา เป็นพุทธบูชาต่อหลวงพ่อปัญญานันทะเป็นพระราชกุศลกาญจนภิเษก และ ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา รับอุปถัมภ์ในความดูแลของ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ ๑๑ ต.ค.๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. เจ้าอาวาส พระครูมงคลภาวนานุศาสตร์(ศรีธวัช ไชยธวัช) อุปสมบทเมื่อ ๔ เม.ย.๒๕๓๔

 
ความเห็นที่ 121 โพสเมื่อ : 16 ก.พ. 52 : 17:03 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๑๒๐.วัดเพรางาย ตั้งอยู่เลขที่ ๒๘ บ้านคลองตาชม ม.๖ ต.หนองเพรางาย อ.ไทรน้อย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๑๕ มี.ค.๒๔๖๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๓๐ ต.ค.๒๔๗๙ เจ้าอาวาส พระครูบวรนนทการ(ปวโร นาค กรุดไทย) อุปสมบทเมื่อ ๘ ก.ค.๒๕๐๑

 
ความเห็นที่ 122 โพสเมื่อ : 19 ก.พ. 52 : 12:18 น.  โดย : jeab742  


๑๒๑.วัดเพลง ตั้งอยู่ตำบลไทรม้า อ.เมือง นนทบุรี สันนิษฐานว่าสร้างหลัง พ.ศ.๒๓๑๐ เดิมเป็นวัดร้าง ประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว พระอาจารย์ศรีนวลได้ธุดงค์มาจากจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ จึงได้บูรณะซ่อมแซมและสร้างอุโบสถ ปัจจุบันเป็นวัดที่ประชาชนนิยมมาปฏิบัติธรรมและนั่งวิปัสสนา เจ้าอาวาส พระครูสังฆวิจารณ์ ธมฺมาวุโธ (ศรีนวล ศรีดาวเรือง) อุปสมบทเมื่อ ๑๗ พ.ย.๒๕๒๒

 
ความเห็นที่ 123 โพสเมื่อ : 19 ก.พ. 52 : 12:41 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๑๒๒.วัดแพรก ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านปลายบาง ถ.บรมราชชนนี ม.๔ ต.ปลายบาง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๑๗ มิ.ย.๒๔๕๐ โดยนายทอง และนางแจก มงคลแท้ ได้บริจากที่ดินสร้างวัด เรียก “วัดนางแจก หรือ วัดยายแจก” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๕ ต.ค.๒๕๑๖ เจ้าอาวาส พระอธิการสุวิทย์ ชาตเมโธ(งามสังเกต) อุปสมบทเมื่อ ๑๖ เม.ย.๒๕๔๑

 
ความเห็นที่ 124 โพสเมื่อ : 19 ก.พ. 52 : 12:42 น.  โดย : jeab742  


๑๒๓.วัดโพธิ์ทองบน ตั้งอยู่เลขที่ ๔๗ บ้านใหม่ ถ.ติวานนท์ ม.๒ ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็โ นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๐ ไม่ทราบประวัติ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ เจ้าอาวาส พระปลัดฉ่ำ โอภาโส(บุญจง) อุปสมบทเมื่อ ๒๗ มี.ค.๒๕๓๖

 
ความเห็นที่ 125 โพสเมื่อ : 19 ก.พ. 52 : 12:43 น.  โดย : jeab742  


๑๒๔.วัดโพธิ์ทองล่าง ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านคลองบางเขน ถ.กรุงเทพ-นนท์ ม.๗ ต.บางเขน อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๙ กล่าวกันว่าระหว่างสงครามเสียกรุง ๒๓๑๐ มีคหบดีนำสมบัติมาฝังไว้ระหว่าง ต้นโพธิ์ และต้นทองหลาง จนชาวบ้านมาขุดพบ จึงนำสมบัติออกขายนำเงินมาสร้างวัด เรียกว่า “วัดโพธิ์ทองหลาง” แตเรียกเพี้ยนจนเป็น “วัดโพธิ์ทองล่าง” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๘ เจ้าอาวาส พระใบฎีกาบุญส่ง ปญฺญาสีโห(แหวนมณี) อุปสมบทเมื่อ ๘ เม.ย.๒๔๙๐

 
ความเห็นที่ 126 โพสเมื่อ : 19 ก.พ. 52 : 12:44 น.  โดย : jeab742  


๑๒๕.วัดโพธิ์บางโอ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๒ คลองบางกอกน้อย ถนนบางกรวยจงถนอม ม.๙ ต.วัดชะลอ อ.บางกรวย นนทบุรี เป็นวัดเก่าอายุเกือบ ๒๐๐ ปี สร้างในสมัยอยุธยา ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยกรมหลวงเสนีบริรักษ์ (ต้นสกุล เสนีวงศ์) พระโอรสในกรมพระราชวังหลัง พระอุโบสถ ทำชายหลังคาของพาไลรอบพระอุโบสถแบบวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หน้าบันสลักไม้รูปนารายณ์ ทรงครุฑลายกนกขมวดเกี่ยวพันกัน เบื้องหลังมีเทพพนมและยักษ์พนม ซุ้มประตูทางเข้าวัดทำเป็นหัวเม็ด เป็นเสาสี่เหลี่ยมย่อมุม ๑๒ สูงขึ้นและเอนเข้าหากัน เพื่อเป็นการรับน้ำหนักของตัวอาคาร เสาใกล้จะถึงส่วนหลังกำแพงแก้วมีบัวหงายรองรับอีกต่อหนึ่งแปลกตากว่าที่อื่น เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย สังเกตได้จากซุ้มเสมาทรงกลมตลอด ฐานของซุ้มก็ทรงกลมตัวซุ้มแหวะ เป็นช่องหน้าต่างสามช่อง ทรงยอดโค้งคล้ายซุ้มจระนำ (ซุ้มคูหาเล็กๆที่มีหลังคาครอบ ทำยื่นออกมาจากอาคารติดผนังองค์เจดีย์หรือท้ายโบสถ์วิหาร เพื่อตั้งพระพุทธรูป) หันหลังชนกันสามทิศ ข้างบนมียอดเล็กๆ ปั้นปูนลวดลายงดงาม รับกับบัวยอดซุ้มและแข้งสิงห์เบื้องล่าง ศิลปะรูปปั้นงามนี้เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายลักษณะลวดลายบ่งชัดว่าเป็นฝีมือช่างสมัยพระบรมโกศ ใบเสมาเป็นหินทรายทำรูปหัวนาคออกสองข้างเอวเสมาเหมือนกันแต่ทรงด้านบนอวบอ้วน ใบเสมาแบบนี้อายุเก่ากว่าใบเสมาสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ใบเสมาช่วงหลังจะทรงเพรียวกว่า มีเจดีย์ทิศล้อมรอบตัวพระอุโบสถทั้งสี่ด้าน ซุ้มบันแถลง ประดับกรอบประตูหน้าต่างทำจากปูนน้ำอ้อย บานประตู พระอุโบสถทั้งหน้าและหลังมีด้านละสองบาน ปั้นปูนซุ้มประตูเป็นรูปฤาษีพนมและบางซุ้มก็ทำรูปเทวดารำอยู่กลางซุ้ม เข้าใจว่าเป็นฝีมือปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ บานประตูเขียนลายทองรูปกนกใบเทศลายละเอียดมาก บนหน้าต่างก็เขียนลายทอง คือเป็นลายรดน้ำเช่นเดียวกับประตู ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมแป้งสาคูเปียกฝีมือช่างสกุลนนทบุรี ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมไป แต่กรมศิลปากรกำลังบูรณะอยู่ ภาพระหว่างช่องหน้าต่างเขียนรูปปริศนาธรรม ผนังด้านซ้ายพระประธาน เขียนรูปพระปลงกัมมัฏฐานในลักษณะหลายแบบหลายวิธี ผนังด้านหน้าเขียนรูปพุทธประวัติแสดงถึงพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระพุทธองค์ พระพุทธรูปในพระอุโบสถ ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่หน้าพระอุโบสถยังมีรูปสลักหินทำจากเมืองจีน คล้ายเป็นรูปยักษ์รักษาวัด ตนหนึ่งหน้าดุอีกตนหนึ่งหน้ายิ้ม มือถือกระบองด้วยกันทั้งคู่เป็นศิลปะอันงดงามเป็นของประจำวัด ซึ่งตามวัดในอาณาบริเวณแถบนี้ไม่มีภาพสลักชนิดนี้ หอระฆังวัดโพธิ์บางโอ หอระฆังที่วัดนี้เป็นสกุลช่างเมืองนนทบุรีทั้งหมด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชชนนีเป็นสกุลฝ่ายเมืองนนทบุรี จึงทรงอุปการะการสร้างวัดในเขตนนทบุรี แบบมณฑปยอดเจดีย์ผสมกันระหว่างหอสูงรูปสี่เหลี่ยมและเจดีย์ย่อมุม ติดต่อวัดโพธิ์บางโอโทร. ๐๒-๔๔๗-๕๘๓๑วัดโพบางโอ สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ในพระอุโบสถของวัดนี้มีงานจิตรกรรมฝาผนังที่น่าสนใจมาก เพราะเรื่องราวที่เขียนขึ้นนั้นแปลกไปกว่าที่อื่น กล่าวคือแทนที่จะเป็นเรื่องธรรมดาจากชาดก กลับเป็นเรื่องปริศนาธรรมที่ศิลปินได้รับความบันดาลใจจากผู้รู้ จึงเขียนภาพแสดงให้เห็นถึงบุคคลาธิฎฐาน ภาพเหล่านี้สอนให้เรารู้จักเลือกเอาในระหว่างสิ่งดีกับสิ่งเลว และรู้จักปฏิบัติตนในทางที่ถูก ยกตัวอย่างเช่น เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่เห็นจากภาพบนผนังช่องหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงชายผู้หนึ่งกำลังวิ่งหนีออกจากบ้านซึ่งกำลังตกอยู่ในเปลวเพลิง อันหมายถึงเปลวเพลิงแห่งความหลงในชีวิตทางโลก ความคิดเช่นเดียวกันนี้ปรากฏอยู่ในภาพอีกช่องหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงโจรสามคนอันเป็นสัญญลักษณ์ของอกุศลมูล คือความโกรธ ความโลภและความหลง กำลังชักชวนชายผู้หนึ่งให้เข้าร่วมคณะด้วยแต่ชายผู้นั้นวิ่งหนีไปพึ่งธรรมของพระพุทธองค์และอุปสมบทเป็นพระภิกษุในที่สุด ดังนั้นภาพเขียนประเภทนี้จึงมีความมุ่งหมายไปในทางส่งเสริมการศึกษาศีลธรรม ภาพเขียนเหล่านี้ไม่เก่ามากนัก หรือไม่อย่างน้อยก็ถูกซ่อมเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้วนี้เอง จึงทำให้สูญเสียความงามซึ่งเป็นของเดิมไป แต่ความเป็นต้นฉบับของเรื่องราวที่เขียนขึ้นนั้น ย่อมเป็นที่สนใจแก่พุทธศาสนิกชนผู้ปฏิบัติธรรมอยู่มาก เจ้าอาวาส พระอธิการไพฑูรย์ วิปุโล(การมงคล) อุปสมบทเมื่อ ๒๑ พ.ค.๒๕๒๙
. . . . ในพระอุโบสถเดียวกันนี้ มีภาพเขียนเล็ก ๆ ลางภาพเขียนบนแผ่นกระจก ไม่มีเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนาเลย เป็นภาพลอกแบบจากภาพพิมพ์ของภาพเขียนชาวตะวันตกแห่งพุทธศตวรรษที่ยี่สิบสี่ เหตุใดจึงมาประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดนี้นั้นยังไม่ทราบได้ เรื่องราวที่เขียนนั้นเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของชาวตะวันตกในพุทธศตวรรษที่ยี่สิบสี่นั่นเอง ภาพเขียนลอกแบบนี้เขียนโดยศิลปินที่มีฝีมือสูงมาก แต่ไม่เกี่ยวข้องกับวัดนี้เลย อาจเป็นไปได้ว่า ภาพเขียนเหล่านี้เป็นสมบัติของผู้สร้างพระอุโบสถและมีผู้นำเอามาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้สร้างอันเป็นผลบุญส่วนบุคคลอยู่ตลอดไป


การเดินทาง รถยนต์ จากสะพานพระนั่งเกล้าถึงสี่แยกบางบัวทอง เลี้ยวซ้ายเข้าบางกรวย ๑๗ กิโลเมตร ผ่านวัดชลอ แยกขวาเข้าที่ว่าการอำเภอ ตรงไป ๕๐๐ เมตรจะพบวัดโพธิ์บางโอทางขวามือ หรือจากสะพานพระรามเจ็ด ผ่านการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เข้าเส้นบางกรวยไปจนถึงสี่แยกก่อนเข้าที่ว่าการอำเภอ จะเห็นป้ายวัดชลอเลี้ยวขวา ไปประมาณ ๑ กิโลเมตร

 
ความเห็นที่ 127 โพสเมื่อ : 22 ก.พ. 52 : 04:08 น.  โดย : คนบ้านใกล้2วัดนี้  

ไม่ครบทุกวัดนี่ครับหายไปหลายวัดเลยล่ะครับ เช่น วัดโพธิ์บ้านอ้อย,วัดหงษ์ทอง ทั้ง2วัดนี้อยู่ใกล้กันมาก ห่างกันไม่ถึง 500เมตร เลยล่ะครับ และอยู่ในซอยวัดกู้ อ.ปากเกร็ดครับ
ถ้าผมเข้าใจผิดมองไม่เห็นก็ขออภัยครับhttp://www.thai-tour.com/wb/emo/8.gif

 
ความเห็นที่ 128 โพสเมื่อ : 23 ก.พ. 52 : 08:22 น.  โดย : jeab742  


๑๒๖.วัดโพธิ์บ้านอ้อย ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗ ถ.สุขประชาสรรค์ ๒ ม.๔ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๑๓๗ เดิมชื่อ “วัดลาว” เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ได้ประทานนามใหม่ว่า “วัดโพธิ์บ้านอ้อย” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๔ ม.ค.๒๔๘๔ เจ้าอาวาส พระอธิการประสิทธิ์ ปญฺญาธโร(รวยบุญส่ง) อุปสมบทเมื่อ ๒๕ ก.พ.๒๕๒๑

 
ความเห็นที่ 129 โพสเมื่อ : 23 ก.พ. 52 : 08:23 น.  โดย : jeab742  


๑๒๗.วัดโพธิ์เผือก ตั้งอยู่เลขที่ ๖๐ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๖ ต.บางกรวย อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๒ พระอุโบสถหลังเก่า(วิหาร) อายุกว่า ๒๐๐ ปี เจ้าอาวาส พระครูปลัดมหาเถรานุวัตร(มานิต อินฺทโชโต) อุปสมบทเมื่อ ๒๒ เม.ย.๒๕๑๔

 
ความเห็นที่ 130 โพสเมื่อ : 23 ก.พ. 52 : 08:24 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๑๒๘.วัดโพธิ์เอน ตั้งอยู่เลขที่ ๔ บ้านคลองบางราวนก ถ.พระราม ๕ ม.๖ ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๒๙๒ ไม่ทราบประวัติ เจ้าอาวาส พระครูนนทวราภรณ์ (ฐิตสาโร พร ช้อนทอง) อุปสมบทเมื่อ ๑๒ ก.ค.๒๕๐๐

 
ความเห็นที่ 131 โพสเมื่อ : 23 ก.พ. 52 : 08:25 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๑๒๙.วัดมะเดื่อ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑ ถ.รัตนาธิเบศร์ ม.๙ ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ ไม่ทราบประวัติ เจ้าอาวาส พระครูอุทุมพรกิตติคุณ (ภมโร เลื่อน แตงเนียม) อุปสมบทเมื่อ ๑ ก.ค.๒๕๒๐

 
ความเห็นที่ 132 โพสเมื่อ : 23 ก.พ. 52 : 08:25 น.  โดย : jeab742  


๑๓๐.วัดมะสง ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ม.๖ ต.ทวีวัฒนา อ.ไทรน้อย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๑ มี.ค.๒๔๗๔ เจ้าอาวาส พระครูวิสุทธินนทคุณ(สุทฺธวํโส ทวี ธรรมธีรา) อุปสมบทเมื่อ ๑๗ พ.ค.๒๕๐๒

 
ความเห็นที่ 133 โพสเมื่อ : 2 มี.ค. 52 : 07:57 น.  โดย : jeab742  


๑๓๑.วัดโมลี ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านคลองอ้อมนนท์ ม.๑๔ ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕ เดิมชื่อ “วัดใหม่สุวรรณโมลี” ได้จากเงินขายปิ่นทองคำ วัดได้ใช้รูปมวยผมวางบนพานมีปิ่นปักผมเป็นตราสัญญาลักษณ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้พระราชทานนามให้ว่า “วัดโมลี” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. เจ้าอาวาส พระครูมงคลกัลยาณคุณ(กลฺยาโน เขียน อยู่ภู) อุปสมบทเมื่อ ๑๑ เม.ย.๒๔๘๖

 
ความเห็นที่ 134 โพสเมื่อ : 2 มี.ค. 52 : 07:58 น.  โดย : jeab742  


๑๓๒.วัดยอดพระพิมล ตั้งอยู่เลขที่ ๓๕ ม.๖ ต.ขุนศรี อ.ไทรน้อย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙ เดิมชื่อ “วัดสุคนธาราม” ชาวบ้านเรียกว่า “วัดคลองตัน” บริเวณรอบวัดเป็นป่า ชาวบ้านจังหวัดสมุทรสาครได้จับจองที่ดินทำมาหากิน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๖ ม.ค.๒๕๑๘ เจ้าอาวาส พระครูนนทสีลวิมล(เขมทตฺโต ถมยา ม่วงขาว) อุปสมบทเมื่อ ๑๙ มี.ค.๒๕๐๒

 
ความเห็นที่ 135 โพสเมื่อ : 2 มี.ค. 52 : 07:59 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๑๓๓.วัดยุคันธราวาส ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒ หมู่ที่ ๗ บ้านสวนเจ้า ตำบลบางเลน อ.บางใหญ่ นนทบุรี สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ โดยสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุศฺสเทว) และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔ ) ได้โปรดสร้างวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามขึ้นที่กรุงเทพมหานครและเนื่องจากมีวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ที่เหลือจำนวนหนึ่งจึงได้นำมาสร้างวัดยุคันธราวาส เดิมชื่อ “วัดยุคนธร” ภายในวัดมี “พระแท่นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ประดิษฐานอยู่ เจ้าอาวาส พระครูสมุห์หว่าน(ธมฺมสาโร หว่าน สืบมาก) อุปสมบทเมื่อ ๑๘ ก.ค.๒๕๒๑

 
ความเห็นที่ 136 โพสเมื่อ : 2 มี.ค. 52 : 08:00 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๑๓๔.วัดรวก ตั้งอยู่เลขที่ ๓๖ ม.๔ ต.บางสีทอง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๗ เดิมเป็นวัดร้าง มีป่าไผ่รวก จำนวนมาก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๗ เจ้าอาวาส พระครูวินัยธรณรงค์ ปวีโร(ยอดนิล) อุปสมบทเมื่อ ๓๐ เม.ย.๒๕๓๒

 
ความเห็นที่ 137 โพสเมื่อ : 2 มี.ค. 52 : 08:01 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๑๓๕.วัดราษฎร์นิยม ตั้งอยู่เลขที่ ๔๘ ถ.ฦชพันธ์ ม.๖ ต.ราษฎร์นิยม อ. นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๔ เม.ย.๒๔๕๙ โดยพระศิษฐ์ กับนายบัว อุปสงค์ ต่อมาพระครูประชาธรรมนาถได้รวบรวมเงินบริจาคจากชาวบ้านซื้อที่ดินเพิ่มอีก ๔๕ ไร่ และนางปรีก วิลาวรรณได้ถวายที่ดินเพิ่มอีก ๕ ไร่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๔ เม.ย.๒๔๖๘ เจ้าอาวาส พระครูวินัยสารโสภณ(เมตฺติโก เสถียร สุทธิโพธิ์)

 
ความเห็นที่ 138 โพสเมื่อ : 16 มี.ค. 52 : 12:08 น.  โดย : jeab742  


๑๓๖.วัดราษฎร์ประคองธรรม ตั้งอยู่เลขที่ ๖๓ หมู่ที่ ๑ ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ เป็นวัดสังกัดมหานิกาย สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๒๕๖ เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดค้างคาว บริเวณด้านหน้าวัดติดคลองอ้อมนนท์ มีสวนล้อมรอบ ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อพระนอน) และหลวงพ่อโต (ซำปอกง) ซึ่งมีพุทธศาสนิกชนชาวไทยและต่างชาติให้ความสนใจและเดินทางมาเคารพสักการะอยู่เสมอ เจ้าอาวาส พระครูกิตติวิริยาภรณ์(มหาวีโร วิทยา เพ็ชรปาน) อุปสมบทเมื่อ ๑๐ พ.ค.๒๕๓๕
การเดินทาง ใช้ถนนรัตนาธิเบศร์ เมื่อข้ามสะพานพระนั่งเกล้า และผ่านสี่แยกท่าอิฐ จะถึงสี่แยกบางพลูให้เลี้ยวซ้ายเข้าวัด นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางเข้าถึงได้จากเส้นทางตลิ่งชัน-สุพรรณบุรีบริเวณเทศบาลบางม่วงได้อีกทางหนึ่ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐๒-๕๙๕-๑๔๕๖

 
ความเห็นที่ 139 โพสเมื่อ : 16 มี.ค. 52 : 12:11 น.  โดย : jeab742  


๑๓๗.วัดเรืองเวชมงคล ตั้งอยู่เลขที่ ๖ บ้านหนองปรือ ถ.ติวานนท์ ม.๓ ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๒๑ เม.ย.๒๔๒๐ โดยนายสนั่น ทิมเรืองเวช บริจาคที่ดินสร้างวัด ประกาศตามราชการเมื่อ ๒๔ มี.ค.๒๕๒๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๘ ก.ย.๒๕๓๑ เจ้าอาวาส พระครูประโชติจันทรวิมล(จนฺทโชโต นาม หวังชื่นชม) อุปสมบทเมื่อ ๒๐ พ.ค.๒๕๑๕

 
ความเห็นที่ 140 โพสเมื่อ : 16 มี.ค. 52 : 12:13 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๑๓๘.วัดละมุดใน ตั้งอยู่เลขที่ ๓๑ บ้านบางราวนก ถ.นครอินทร์ ม.๑ ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๙ ไม่ทราบประวัติวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๐ มี.ค.๒๕๔๕ เจ้าอาวาส พระอธิการชาญ จลฺลนาโก(ชาญ ต่ายคำ) อุปสมบทเมื่อ ๑๙ พ.ค.๒๕๓๕

 
ความเห็นที่ 141 โพสเมื่อ : 16 มี.ค. 52 : 12:14 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๑๓๙.วัดละหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗ บ้านบางบัวทอง ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๒ ต.โสนลอย อ.บางบัวทอง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๑ ปลายสมัยพระเจ้าตากสิน ได้ยกทัพไปตีเวียงจันทร์ และกวาดต้อนผู้คนจากหัวเมือง เช่น ไทยพรวน มาอยู่คลองเขมร บางบัวทอง ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ชาวบ้านเรียก “วัดลาว” ในสมัยรัชกาลที่ ๒ เรียก “วัดราชบัญหาร”(จากตัวหนังสือที่หน้าปัดนาฬิกา) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๑ เจ้าอาวาส พระราชนันทมุนี(อาภากโร สำรวย เกตุนาค) อุปสมบทเมื่อ ๒๔ เม.ย.๒๕๐๑

 
ความเห็นที่ 142 โพสเมื่อ : 16 มี.ค. 52 : 12:16 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๑๔๐.วัดลากค้อน ตั้งอยู่เลขที่ ๔๘ ม.๔ ต.ราษฎร์นิยม อ.ไทรน้อย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๑๔ ก.ย.๒๔๘๐ โดยนายป๋อ นางด่วน หลั่งช้าง ,นายทองใบ นายบุญชู สุขเทียบ,นางแป้น น้อยนิตย์ ได้บริจาคที่ดินสร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๕ พ.ย.๒๕๑๙ เจ้าอาวาส พระครูโอภาสนนทคุณ(โอภาโส มาลัย ทองอินทร์) อุปสมบทเมื่อ ๒๑ เม.ย.๒๕๐๓

 
ความเห็นที่ 143 โพสเมื่อ : 20 มี.ค. 52 : 17:44 น.  โดย : jeab742  


๑๔๑.วัดลาดปลาดุก ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒ คลองบางไผ่ ม.๑๗ ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๕ มิ.ย.๒๔๖๕ ไม่ทราบประวัติวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๗ ต.ค.๒๔๗๓ เจ้าอาวาส พระครูวิบูลย์นนทกิจ(ปกงฺกโร แสวง จันทร์อ้น) อุปสมบทเมื่อ ๑๐ เม.ย.๒๔๙๗

 
ความเห็นที่ 144 โพสเมื่อ : 20 มี.ค. 52 : 17:46 น.  โดย : jeab742  


๑๔๒.วัดลานนาบุญ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๑/๙ ถ.ประชาราษฎร์ ม.๙ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา จน พ.ศ.๒๔๕๙ นายนรินทร์ ภาษิต และนายนริทร์ คลึง ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดใหม่ เรียก “วัดลานวัว” เพราะเป็นที่เลี้ยงวัวของแขก ต่อมาขออนุญาตเปลี่ยนชื่อวัด ตามหนังสือศึกษาธิการอำเภอเมืองนนทบุรี ที่ ๑๒๖๖/๒๔๕๔ ลงวันที่ ๓๑ พ.ค.๒๔๙๔ ตามคำแนะนำของ สมเด็จพระธีรญาณมุนี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙ เจ้าอาวาส พระครูภัทรนนทคุณ(อคฺคจิตฺโต ธีระ ทิมแดง) อุปสมบทเมื่อ ๑๕ พ.ค.๒๔๙๗

 
ความเห็นที่ 145 โพสเมื่อ : 20 มี.ค. 52 : 17:47 น.  โดย : jeab742  


๑๔๓.วัดลำโพ ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ม.๓ ต.ลำโพ อ.บางบัวทอง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๑๐ มิ.ย.๒๔๔๒ โดยมีนายบุญชู นางเฉย บุญชูเจริญ,นายชื่น นาคแดด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๑ มี.ค.๒๔๗๔ เจ้าอาวาส พระครูประโชติจันทสิริ(โชติธมฺโม สนอง การะนุต) อุปสมบทเมื่อ ๑๕ ธ.ค.๒๕๒๗

 
ความเห็นที่ 146 โพสเมื่อ : 20 มี.ค. 52 : 17:48 น.  โดย : jeab742  


๑๔๔.วัดลุ่มคงคาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕ บ้านลุ่ม ซอยสุขาภิบาล ๔ ม.๓ ต.บางกรวย อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๔ เม.ย.๒๑๒๔ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๔ เม.ย.๒๑๓๐ เจ้าอาวาส พระครูสังฆรักษ์เชียงใหม่ อรุโณ(สังวิบุตร)

 
ความเห็นที่ 147 โพสเมื่อ : 20 มี.ค. 52 : 17:49 น.  โดย : jeab742  


๑๔๕.วัดศรีเขตนันทาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านคลองข่อย ถ.เกษตรอุดม ม.๑๐ ต.คลองข่อย อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๒๑ พ.ย.๒๔๔๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๔ ม.ค.๒๕๐๖ เจ้าอาวาส พระครูพินิจธรรมปรีชา(เขมาภิรโต ละเอียด กรุธไทย) อุปสมบทเมื่อ ๒๕ พ.ค.๒๕๐๕

 
ความเห็นที่ 148 โพสเมื่อ : 1 เม.ย. 52 : 12:42 น.  โดย : jeab742  


๑๔๖.วัดศรีประวัติ ตั้งอยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์หรือคลองขุด เลขที่ ๑ ถ.กาญจนาภิเษก ต.ปลายบาง อ.บางกรวย จังหวัดนนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๓ เดิมประชาชนถิ่นนี้ เรียกว่า "วัดช่องลม" บ้างเรียกว่า “วัดกลางทุ่ง” ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดศรีประวัติยาราม" ทั้งนี้ สมเด็จพระสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอนุโลมตามชื่อเดิมของผู้บูรณะ คือ คุณเท้าทรงกันดาส(ศรี) ยายของพระองค์ ภายในวัดมีเจดีย์ทรงระฆังสูงเด่นและมีรูปปั้นหลวงพ่อโอภาสี ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ผู้มีเมตตาสูง กราบนมัสการพระประธานพุทธศรีประวัติมงคลภายในพระอุโบสถอันสวยงาม ชมศาลเจ้าแม่กวนอิมให้เคารพสักการะอีกด้วย พร้อมทั้งมีโบราณสถานให้เยี่ยมชมอีกมากมาย และเที่ยวชมตลาดน้ำซึ่งมีของซื้อของขายมากมายไว้บริการ เจ้าอาวาส พระมหาพนม อาภากโร(คำรอด) อุปสมบทเมื่อ ๗ ก.ค.๒๕๑๖

 
ความเห็นที่ 149 โพสเมื่อ : 1 เม.ย. 52 : 12:44 น.  โดย : jeab742  


๑๔๗.วัดศรีรัตนาราม (วัดบางพัง) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เลขที่ ๓๙ บ้านคลองบางพัง ซอยสวัสดี หมู่ที่ ๒ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๒๗ มี.ค.๒๓๐๕ ไม่ทราบประวัติวัด พ.ศ.๒๔๑๗ เป็น ๑ ใน ๔ วัด ที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชทานพระกฐิน วัดติดริมฝั่งแม่น้ำมีปลาน้ำจืดจำนวนมาก จนได้ชื่อว่าเป็น "วังมัจฉา" สามารถนำอาหารให้ปลา สร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ที่ได้แวะเวียนไปสักการะพระพุทธรูป นอกจากนี้ยังมีพระประจำวันประดิษฐานไว้สักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๕ ม.ค.๒๓๐๗ เจ้าอาวาส พระสมุห์สุทิน ทีฆายุโก(กรุดประเสริฐ) อุปสมบทเมื่อ ๓๐ ก.ค.๒๕๒๘

 
ความเห็นที่ 150 โพสเมื่อ : 1 เม.ย. 52 : 12:45 น.  โดย : jeab742  


๑๔๘.วัดศรีราษฎร์ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖ ม.๘ ต.บางกรวย อ.บางใหญ่ นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ ไม่ทราบประวัติวัด เดิมเรียก “วัดทลาด” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๑ พ.ค.๒๓๖๐ เจ้าอาวาส พระครูสมุห์ผิน อชิโต(เข็มกลัด) อุปสมบทเมื่อ ๒๔ มิ.ย.๒๕๑๖

 
ความเห็นที่ 151 โพสเมื่อ : 1 เม.ย. 52 : 12:46 น.  โดย : jeab742  


๑๔๙.วัดศรีเรืองบุญ ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ถ.กรุงนนท์-จงถนอม ม.๑ ต.ปลายบาง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๒ มี.ค.๒๕๐๘ เจ้าอาวาส พระครูปลัด สุธี โสตฺถิโก(สะอาดศรี) อุปสมบทเมื่อ ๑๔ มี.ค.๒๕๑๖

 
ความเห็นที่ 152 โพสเมื่อ : 1 เม.ย. 52 : 12:48 น.  โดย : jeab742  


๑๕๐.วัดศาลากุล ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑ บ้านศาลากุล ม.๓ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๔ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๔ เจ้าอาวาส พระอธิการบุญส่ง นาถธมฺโม(แซ่ลิ้ม)

 
ความเห็นที่ 153 โพสเมื่อ : 17 เม.ย. 52 : 11:53 น.  โดย : jeab742  


๑๕๑.วัดศาลารี ตั้งอยู่เลขที่ ๕๗ ถ.บางไผ่พัฒนา ม.๔ ต.บางไผ่ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๐ เดิมชื่อ “วัดศาลาลี” แต่ไม่ทราบว่า ลี เปลี่ยนมาเป็น รี ได้อย่างไร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๙ เจ้าอาวาส พระครูวิจิตรพัฒนาโกวิท(ฐิตสํวโร บุญถม ดาวกระจ่าง) อุปสมบทเมื่อ ๑๘ มิ.ย.๒๕๒๑

 
ความเห็นที่ 154 โพสเมื่อ : 17 เม.ย. 52 : 11:54 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๑๕๒.วัดสนามนอก ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙ ถ.เทิดพระเกียรติ ม.๔ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๗ ไม่ทราบประวัติวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๕ ม.ค.๒๕๑๓ เจ้าอาวาส พระครูวินัยธรน้อมชัย สุธมฺโม(เต้นปักษี) อุปสมบทเมื่อ ๑๖ พ.ค.๒๕๑๕

 
ความเห็นที่ 155 โพสเมื่อ : 17 เม.ย. 52 : 11:57 น.  โดย : jeab742  


๑๕๓.วัดสนามใน ตั้งอยู่เลขที่ ๒๗ ม.๔ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย นนทบุรี วัดนี้ไม่ปรากฏที่มาว่าใครเป็นผู้สร้าง และสร้างเมื่อใด เป็นวัดรกร้าง ไม่มีพระสงฆ์ หรือเณรจำพรรษามาเป็นเวลานาน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2519 นายวิโรจน์ ศิริอัฐิ และมหาสุขสันต์ ได้เข้ามาแนะนำวัดนี้แก่หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ ซึ่งในขณะนั้นได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชลประทานรังสฤษฎ์และกำลังหาสถานที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติกรรมฐานแก่ญาติโยม โดยไม่เน้นการก่อสร้างวัตถุดังเช่นวัดอื่นๆ เมื่อหลวงพ่อเทียนมาดูที่วัดนี้ พบว่ามีเพียงร่องรอยของโบสถ์เก่า เจดีย์เก่า ซากอิฐกระจัดกระจายอยู่พอให้เห็นว่าเคยเป็นวัดมาก่อน มีที่ดินเหลืออยู่เฉพาะบริเวณโบสถ์และเจดีย์ นอกนั้นได้ถูกชาวบ้านยึดไปทำกิน หลวงพ่อเทียนพอใจในสถานที่นี้ จึงตัดสินใจที่จะบูรณะให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๗ ม.ค.๒๕๓๔ เจ้าอาวาส พระอธิการทอง อาภาตโร(คุหาฤคำ) อุปสมบทเมื่อ ๒๗ พ.ค.๒๕๐๔

 
ความเห็นที่ 156 โพสเมื่อ : 17 เม.ย. 52 : 12:01 น.  โดย : jeab742  


๑๕๔.วัดสนามเหนือ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๔ บ้านคลองลัดเกร็ด ถ.สุขาสงเคราะห์ ม.๓ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี สันนิษฐาน ว่าสร้างหลังขุดคลองลัดเกร็ด พ.ศ.๒๒๖๕ พร้อมวัดปากอ่าว(วัดปรมัยฯ) เดิมชื่อ “วัด สนาม” พ.ศ.๒๓๐๗ พม่าบุกยึดนนทบุรีวัดก็กลายเป็นวัดร้าง ตั้งวัดใหม่เมื่อ ๒๔ มี.ค.๒๓๗๒ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๒ เม.ย.๒๔๑๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาพระราชทานผ้ากฐินหลวง วัดรามัญในนนทบุรี ๔ วัด วัดสนามก็อยู่ใน ๔ วัดนี้ด้วย เจ้าอาวาส พระครูสุนทรพิพัฒนกิจ(อาจารขนฺติโก บุญขาน หินนท์) อุปสมบทเมื่อ ๒๙ พ.ค.๒๕๑๔

 
ความเห็นที่ 157 โพสเมื่อ : 17 เม.ย. 52 : 12:03 น.  โดย : jeab742  


๑๕๕.วัดส้มเกลี้ยง(บางกรวย) ตั้งอยู่เลขที่ ๓๕/๒ ถ.ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ๒ ส.ค. ๒๔๘๙ พระอุโบสถ เก่าแก่ สร้างตั้งแต่ ๒๔๘๙ เจ้าอาวาส พระครูธีรวัฒนาภรณ์(เวมํสโร สมจิตร์ อร่ามจันทร์) อุปสมบท ๒๑ พ.ค.๒๕๐๑

 
ความเห็นที่ 158 โพสเมื่อ : 1 มิ.ย. 52 : 10:27 น.  โดย : Ooh  

มีวัดที่ทำอุโบสถ 2 ชั้นเยอะไหมคะ

และวัดวิมุตรฯ นี่อยู่ นนทบุรีหรือเปล่า

 
ความเห็นที่ 159 โพสเมื่อ : 19 มิ.ย. 52 : 17:40 น.  โดย : jeab742  


๑๕๖.วัดส้มเกลี้ยง(บางใหญ่)ตั้งอยู่เลขที่ ๓๕ หมู่ที่ ๒ ตำบลบางแม่นาง อ.บางใหญ่ นนทบุรี สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๓ สมัยอยุธยา ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ อาทิ อุโบสถ ลักษณะทั่วไปเป็นบ้านทรงไทยมีมุขทั้ง ๒ ด้าน มีช่อฟ้า ใบระกา ประตู หน้าต่าง ปิดทอง ลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ อุโบสถอยู่ด้านทิศตะวันออกสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ และใกล้อุโบสถมีวิหารหลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยปูนปั้นปิดทอง ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อสามองค์ เป็นเจดีย์สีทองที่ถูกสร้างขึ้นติดกัน ๓ เจดีย์ ได้แก่ เจดีย์ของพระอธิการดี พระอุปัชฌาย์สงฆ์ และอธิการโป๊ะ เป็นเจ้าอาวาสและได้บรรจุอัฐิไว้ ศาลาการเปรียญเป็นศาลาชั้นเดียวยกขึ้นสูงทำด้วยไม้ทั้งหลังสร้างขึ้นพ.ศ.๒๔๙๑ หอสวดมนต์เป็นหอเก่าแก่สร้างขึ้น พ.ศ.๒๔๗๗ เป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น ทรงปั้นหยา เจ้าอาวาส พระปลัดชัยวัฒน์ สุชาโต(ศรีพงศ์วิไล) อุปสมบทเมื่อ ๒๒ มิ.ย.๒๕๒๘

 
ความเห็นที่ 160 โพสเมื่อ : 19 มิ.ย. 52 : 17:41 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๑๕๗.วัดสมรโกฏิ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖ ถ.วงแหวน ม.๘ ต.บางกระสอ อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อใดไม่ทราบรู้แต่ว่า พระเจ้าอู่ทอง พาข้าราชบริพารและประชาชน หนีโรคระบาด เลยสร้างวัดขึ้นหลายวัด วัดสมรโกฏิ ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองบางซื่อ อยู่ห่างจากหอนาฬิกาท่าน้ำนนท์ ไปทางทิศเหนือประมาณ ๒ กิโลเมตร ในอุโบสถ มีพระพุทธรูป ที่ทำจากทองคำแท้ และภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามมากในวิหาร มีพระพุทธรูป ทำจากหินอ่อนแท้ ปางแสดงปฐมเทศนา และรูปจำลองหลวงปู่เสือ เจ้าอาวาส พระครูปลัดกิตติวรวัฒน์(ทองพูล อินฺทโชโต) อุปสมบทเมื่อ ๑๙ ก.ค.๒๕๑๒

 
ความเห็นที่ 161 โพสเมื่อ : 19 มิ.ย. 52 : 17:44 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๑๕๘.วัดสโมสร เป็นวัดที่จัดงานประเพณีสงกรานต์ ตามประเพณีชาวไทยเชื้อสายมอญเป็นประจำทุกปี ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ ๙ บ้านคลองหม่อมแช่ม ตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๒๐ พ.ย.๒๔๖๐ โดยชาวมอญพระประแดง และชาวมอญบ้านแพ้ว ร่วมกันสร้าง ตั้งชื่อว่า “วัดสโมสรศรัทธาราม” ต่อมาเจ้าคณะอำเภอเห็นว่ายาวไปจึงตัดสั้นลง การสวดมนต์ และการทำสังฆกรรมใช้ภาษามอญทั้งหมด เจ้าอาวาส พระอธิการวิเชียร กตปุญฺโญ(สมบุญจันทร์) อุปสมบทเมื่อ ๒๒ มิ.ย.๒๕๑๔
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จมาประกอบ
พิธียกช่อฟ้าศาลาการเปรียญเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ นั้น ทรงยินดีที่ได้ทอดพระเนตรเห็นผู้คน
จำนวนมากมายมาเฝ้ารับเสด็จ จึงทรงประทานนามวัดว่าวัดสโมสร

 
ความเห็นที่ 162 โพสเมื่อ : 19 มิ.ย. 52 : 17:45 น.  โดย : จิราภรณ์ น้ำทรง  


๑๕๙.วัดสลักใต้ ตั้งอยู่เลขที่ ๖๖ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ม.๓ ต.บางศรีเมือง อ.เมือง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓ ไม่ทราบประวัติวัด เจ้าอาวาส พระมหาบุญส่ง จนฺทสโร(คงเจริญ) อุปสมบทเมื่อ ๘ ก.ค.๒๕๑๐

 
ความเห็นที่ 163 โพสเมื่อ : 19 มิ.ย. 52 : 17:46 น.  โดย : สุขนิดา ดาวเรือง  


๑๖๐.วัดสลักเหนือ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑ ม.๓ ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๒ ในปี พ.ศ.๒๔๑๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๓๑ ก.ค.๒๔๙๔ เจ้าอาวาส พระครูโสภณประชากิจ(สีลภูสิโต เสนาะ คุ้มรุ่ง) อุปสมบทเมื่อ ๘ เม.ย.๒๕๐๓

 
ความเห็นที่ 164 โพสเมื่อ : 19 มิ.ย. 52 : 17:48 น.  โดย : สุภานันท์ ดาวเรือง  


๑๖๑.วัดสวนแก้ว หมู่ ๑ ตำบลบางเลน บางใหญ่ นนทบุรี เดิมชื่อ “วัดแก้ว”เป็นวัดร้างมาราว ๙๐ ปี เป็นสถานที่เผยแพร่ธรรมโดยพระพิศาลธรรมพาที(พระพยอม กัลยาโณ) เป็นพระนักพัฒนา ท่านได้ริเริ่มโครงการต่างๆของมูลนิธิสวนแก้วเพื่อพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในสังคมจนประสบความสำเร็จ เช่น โครงการร่มโพธิ์แก้ว โครงการที่พักคนชรา โครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตผู้ยากไร้ โครงการสวนแก้วเนอร์สเซอรี่และอีกหลายโครงการ เจ้าอาวาส พระราชธรรมนิเทศ(กลฺยาโณ พะยอม จั่นเพ็ชร์) อุปสมบทเมื่อ ๑๖ มิ.ย.๒๕๑๓
โทร. ๐๒ ๕๙๕ ๑๙๔๕-๗, ๐๒ ๕๙๕ ๑๔๔๔ โทรสาร ๐๒ ๕๙๕ ๑๒๒๒ เว็บไซต์ www.suankaewfoundation.org
การเดินทาง จากสะพานพระนั่งเกล้า ตรงไปสี่แยกไฟแดงที่ ๒ เลี้ยวซ้ายเข้าบางกรวย ประมาณ ๒กิโลเมตรจะถึงวัด หรือจากท่าน้ำนนทบุรี ข้ามไปฝั่งท่าน้ำบางศรีเมือง แล้วต่อรถสองแถวไปถึงวัดสวนแก้ว ค่าโดยสารคนละ ๘ บาท

 
ความเห็นที่ 165 โพสเมื่อ : 19 มิ.ย. 52 : 17:49 น.  โดย : เสริมสุข ดาวเรือง  


๑๖๒.วัดสวนใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ ๖๓ ม.๒ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕ เดิมเรียก “วัดใหม่” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๐ ม.ค.๒๓๘๐ เจ้าอาวาส พระครูวิสุทธิจริยาภรณ์(จนฺทรํสี ทองยอด คุ้มสิน) อุปสมบทเมื่อ ๑๖ เม.ย.๒๔๙๗
สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2305 เดิมชื่อ "วัดกลางคลอง" ตามลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งวัดมาแต่เดิม ไม่ปรากฏนามและผู้ระวัติผู้สร้าง พระประธานปางสมาธิ สมัยอยุธยา เนื้อหินทราย นามว่า "หลวงพ่อพุทธมหามงคล" โบสถ์ก่อสร้างด้วยหินอ่อน บานประตู หน้าต่าง เป็นไม้สักแกะสลักตัวนูน ชาวบ้านนิยมศรัทธา"พระผงรูปเหมือนพระครูสินิทนนทคุณ" ด้านหลังเป็นยันต์นะคงคา ใช้ในการรักษาโรค

 
ความเห็นที่ 166 โพสเมื่อ : 8 ก.ค. 52 : 10:48 น.  โดย : งง  

แจ๋วอ่ะ

 
ความเห็นที่ 167 โพสเมื่อ : 10 ก.ค. 52 : 18:00 น.  โดย : 12  

good

 
ความเห็นที่ 168 โพสเมื่อ : 11 ส.ค. 52 : 08:03 น.  โดย : สุขนิรันดร์ ดาวเรือง  


๑๖๓.วัดสะแก ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ซอยวัดสะแก ถ.บางกรวย-บางใหญ่ ม.๙ ต.บางเลน อ.บางใหญ่ นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๕ เดิมเรียก “วัดกลางคลอง” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐พระประธานปางสมาธิสมัยอยุธยา เนื้อหินทราย นามว่า " หลวงพ่อพุทธมหามงคล" โบสถ์ก่อสร้างด้วยหินอ่อน บานประตู หน้าต่าง เป็นไม้สักแกะสลักตัวนูน ชาวบ้านนิยมศรัทธา "พระผงรูปเหมือนพระครูสินิทนนทคุณ" ด้านหลังเป็นยันต์นะคงคา ใช้ในการรักษาโรค เจ้าอาวาส พระครูปลัด จำนง ทนฺตจิตฺโต(ต้อนโสกรี) อุปสมบทเมื่อ ๑๐ ก.ค.๒๕๓๑

 
ความเห็นที่ 169 โพสเมื่อ : 11 ส.ค. 52 : 08:04 น.  โดย : คม คัทเตอร์  


๑๖๔.วัดสะพานสูง ตั้งอยู่เลขที่ ๔๙ บ้านคลองพระอุดม ม.๓ ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕ เดิมชื่อ “วัดสว่างอารมณ์” ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จไปตรวจวัดและทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงหน้าวัดเป็นมงคลนาม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๐ เจ้าอาวาส พระครูอมรศุภการ(อมโร สมทรง สวนทรัพย์) อุปสมบทเมื่อ ๑๕ มิ.ย.๒๕๑๘

 
ความเห็นที่ 170 โพสเมื่อ : 11 ส.ค. 52 : 08:06 น.  โดย : jeab742  


๑๖๕.วัดสักใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่๑๐๔ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.วัดชลอ อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๗ เจ้าอาวาส พระครูสังฆรักษ์ประยูร ถิรจิตฺโต(เผือกคำ) อุปสมบทเมื่อ ๒๒ ก.พ.๒๕๑๓

 
ความเห็นที่ 171 โพสเมื่อ : 11 ส.ค. 52 : 08:07 น.  โดย : สุขนิดา ดาวเรือง  


๑๖๖.วัดสังวรพิมลไพบูลย์ ตั้งอยู่เลขที่ ๒ บ้านคลองบางม่วง ม.๑๒ ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อใดไม่ทราบ แต่สันนิษฐานว่าอายุประมาณกว่า ๓๐๐ ปี เดิมเรียกว่า “วัดขนุน”หรือ “วัดใน” สมเด็จพระวันรัตน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นผู้เปลี่ยนให้ใหม่(บ้านเกิดของท่าน) เจ้าอาวาส พระครูพิมลสีลสังวร(จนฺทวํโส สายัณห์ แซ่เตียว) อุปสมบทเมื่อ ๑๓ พ.ค.๒๕๑๖

 
ความเห็นที่ 172 โพสเมื่อ : 11 ส.ค. 52 : 08:09 น.  โดย : สุภานันท์ ดาวเรือง  


๑๖๗.วัดสามง่าม ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕/๑ บ้านสามแยก ถ.บางบัวทอง-สุพรรณบุรี ม.๘ ต.ลำโพ อ.บางบัวทอง นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐ เป็นวัดร้าง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๔ ม.ค.๒๕๔๔ เจ้าอาวาส พระครูวิสาลสรคุณ(กตปุญฺโณ ไวพจน์ อาบใจ) อุปสมบทเมื่อ ๒๖ มิ.ย.๒๕๓๓

 
ความเห็นที่ 173 โพสเมื่อ : 11 ส.ค. 52 : 08:10 น.  โดย : jeab742  


๑๖๘.วัดสังฆทาน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๐/๑ บ้านบางไผ่น้อย ม.๓ ต.บางไผ่ อ.เมือง นนทบุรี สันนิษฐานว่าเดิมชื่อวัดศาริโข สร้างขึ้นในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยช่างที่มีความชำนาญตามแบบลังกาวงศ์ในสมัยกรุงสุโขทัย วิเคราะห์จากหลักฐานพุทธลักษณะจากองค์หลวงพ่อโตและกระเบื้องเชิงชายหรือกระเบื้องหน้าอุดของหลังคาอุโบสถหลังเก่าและอิฐที่สร้างองค์พระกับฐานพระอุโบสถ องค์พระประธานคือหลวงพ่อโตซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิปูนปั้น มีพุทธลักษณะและพุทธศิลป์เป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้างแต่ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงและที่อื่นๆ ยังคงมาสักการะบูชาองค์หลวงพ่อโตมิได้เสื่อมคลาย ชาวบ้านจึงต้องนิมนต์พระจากละแวกใกล้เคียงมาเพื่อถวายสังฆทานจนถูกเรียกขานกันติดปากว่า “วัดสังฆทาน” เจ้าอาวาส พระอธิการสนอง กตปุญฺโญ(โพธิ์สุวรรณ) อุปสมบทเมื่อ ๒๙ เม.ย.๒๕๐๗
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ "อุโบสถแก้ว" ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ใช้เวลาสร้าง ๑ ปีครึ่งมีสองชั้น ชั้นบนเป็นที่สำหรับบวชพระภิกษุ ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ นั่งสมาธิ ชั้นล่างเป็นห้องรับบริจาคและห้องสมุด
วัดนี้มีลักษณะแบบสำนักป่ามีธรรมชาติรอบข้างร่มรื่นเหมาะแก่ผู้ประสงค์จะเจริญภาวนา มีกุฏิแปลกกว่าที่อื่น คือ เป็นรูปเรือ มีโครงการบวชเนกขัมมะ (สตรีผู้ถือศีล ๘) ทุกวัน
สอบถามที่วัดสังฆทาน
โทร.๐๒ ๔๔๗ ๐๗๙๙
การเดินทาง รถยนต์ จากฝั่งกรุงเทพฯ วิ่งไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ข้ามสะพานพระราม ๕ ชิดซ้ายจะเห็นป้ายวัดสังฆทาน เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตร
นั่งเรือ ข้ามฟากจากท่าน้ำนนทบุรีไปท่าน้ำบางศรีเมืองและต่อรถสองแถวเข้าไปยังวัดสังฆทาน

 
ความเห็นที่ 174 โพสเมื่อ : 11 ส.ค. 52 : 08:11 น.  โดย : jeab742  


๑๖๙.วัดสาลีโขภิตาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๕๔ ม.๓ ต.บางพลับ อ.ปากเกร็ด นนทบุรี สร้างวัดเมื่อ ๒๕ ก.ค.๒๓๙๙ โดยนายบุญมี และนางบุญมา สองพี่น้อง มีพระพุทธรูปหลวงพ่อศิลาแรง ซึ่งเป็นที่นับถือของประชาชนตำบลบางพลับ และตำบลใกล้เคียง ประชาชนจะมากราบไว้บูชาเป็นประจำ เจ้าอาวาส พระครูนนทสีลาภรณ์(เปมสีโล อุ่น เป้าศร) อุปสมบทเมื่อ ๓ พ.ย.๒๔๘๕

 
ความเห็นที่ 175 โพสเมื่อ : 11 ส.ค. 52 : 08:12 น.  โดย : jeab742  


๑๗๐.วัดสำโรง ตั้งอยู่เลขที่ ๒๐ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ม.๘ ต.บางกรวย อ.บางกรวย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ ๒๕ มี.ค.๒๓๙๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๐ เม.ย.๒๔๐๑ เจ้าอาวาส พระครูปัญยาวชิรานุยุต(ปญฺญาวชิโร สมาน รักษาธรรม) อุปสมบทเมื่อ ๑๔ พ.ค.๒๕๑๐

 
ความเห็นที่ 176 โพสเมื่อ : 19 ส.ค. 52 : 15:51 น.  โดย : โย  

ไม่เห็นมีวัดหงษ์ทองเลยครับ

 
ความเห็นที่ 177 โพสเมื่อ : 15 ก.ย. 52 : 10:11 น.  โดย : โอ๋ เด็กบางกรวย  

วัดบางขนุน วัดแก้วฟ้า วัดสักใหญ่ วัดโตนดมหาสวัสดิ์ ไม่เห็นมีเลย แปลว่าไปไม่ทั่วใช่ไหมล่ะค่ะ อ้อ วัดตะเคียน วัดบางไกรใน-นอกล่ะไม่เห็นมีเลยค่ะขอประวัติแท้ๆหน่อยขอร้อง

 
ความเห็นที่ 178 โพสเมื่อ : 26 มิ.ย. 53 : 16:18 น.  โดย : สอ  

very good

 
ความเห็นที่ 179 โพสเมื่อ : 8 ก.ค. 53 : 20:57 น.  โดย : คนบางรัก  

วัดไทรม้าเหนือ(หลวงปู่ปลั่ง,หลวงปู่กอน,หลวงพ่อเอม,อ.วัลลภ)
วัดไทรม้าใต้(หวงปู่อิน)
วัดบางรักน้อย(หลวงปู่อ่วม,หลวงปู่ปลั่ง,อ.เปี๊ยก)
วัดสิงห์ทอง(อ.จอม,อ.ใจ)
วัดบางบัวทอง(หลวงปู่สิน,มหาใจกล้า)
วัดท่าอิฐ(หลวงปู่สั้น,หวงปู่เกิด,หลวงพี่ลุย)
วัดใหญ่สว่างอารมณ์(หลวงปู่กุหลาบ,อ.อ่าง)
วัดบางนา
วัดแดงธรรมชาติ
วัดเชิงเลน
วัดบางรักใหญ่(ยกให้หลวงปู่สายองค์เดียวเลยครับ หลังจากหลวงปู่มรณภาพ ก้อไม่มีใครน่ากราบไหว้อีกแล้ว ยกเว้นหลวงพ่อหินพระประธานในวิหาร กับหลวงปู่ล้วนพระพื้นเพบางรัก:)

 
ความเห็นที่ 180 โพสเมื่อ : 18 ก.ย. 53 : 10:08 น.  โดย : BBค่ะ  

ชอบวัดสลักเหนือ

 
ความเห็นที่ 181 โพสเมื่อ : 18 ก.ย. 53 : 10:12 น.  โดย : BBค่ะ  

สวยงามจริงๆเลยจังหวัดนนทบุรี

 
ความเห็นที่ 182 โพสเมื่อ : 4 ต.ค. 53 : 14:56 น.  โดย : ฟ้า  

เราอยู่จ.นนค่ะ

 
ความเห็นที่ 183 โพสเมื่อ : 4 ก.ค. 54 : 12:55 น.  โดย : wedawe  

มีแต่วัดสวยๆๆเลยนะครับ

 
ความเห็นที่ 184 โพสเมื่อ : 21 ส.ค. 54 : 15:28 น.  โดย : แอมมี่คร้าบ  

วัดงามมากค่ะ

 
ความเห็นที่ 185 โพสเมื่อ : 24 พ.ย. 54 : 13:05 น.  โดย : คนนนท์  

มาเยี่ยมชมขอบคุณมากครับ...ชาวเมืองนนท์น่าจะช่วยกันเพิ่มเติมข้อมูลประวัติ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 
ความเห็นที่ 186 โพสเมื่อ : 3 ธ.ค. 54 : 11:12 น.  โดย : poon  

อยากได้เบอร์โทรวัดไทรม้าใต้ และเหนือ

 
ความเห็นที่ 187 โพสเมื่อ : 16 ก.พ. 55 : 07:11 น.  โดย : เรียวกิจัง  

วัดเยอะแยะเลยอะ อยากไปจัง

 
ความเห็นที่ 188 โพสเมื่อ : 11 มี.ค. 55 : 10:28 น.  โดย : YOJI  

 
ความเห็นที่ 189 โพสเมื่อ : 11 มี.ค. 55 : 10:31 น.  โดย : YOJI  

ทำการบ้านได้แล้วคร้าบ!!!!

 
ความเห็นที่ 190 โพสเมื่อ : 19 มี.ค. 55 : 18:02 น.  โดย : paan  

ไม่เห็นมีวัดโบสถ์บนเลยคะ
บ้านอยู่หน้าวัดเลยเนี๊ย

 
ความเห็นที่ 191 โพสเมื่อ : 6 พ.ย. 55 : 10:25 น.  โดย : lastYam'z  


มีเกือบทุกวัดน่าไปเท่ยวทั้งนั้นเร้อะ

 
ความเห็นที่ 192 โพสเมื่อ : 19 ก.พ. 56 : 09:04 น.  โดย : พระบาส  

ยังไงก็แวะมาเยี่ยมชมวัดลำโพกันเยอะๆนะครับ

 
ความเห็นที่ 193 โพสเมื่อ : 11 ส.ค. 56 : 21:23 น.  โดย : songg  

วัดในจ.นนทบุรีก็ดีน้ะแต่เสียดายที่สวนสาธารณะสกปรกไปหน่อย :)

 
ความเห็นที่ 194 โพสเมื่อ : 11 ส.ค. 56 : 21:37 น.  โดย : คณาธิป  

วัดละหารก็ดีน้ะร่มเย็นดีบรรยากาศดีมากแต่เสียดายที่สวนสาธารณะสกปรกไปหน่อย :) ณ วัดละหาร

 
ความเห็นที่ 195 โพสเมื่อ : 13 ธ.ค. 56 : 09:04 น.  โดย : เด็กนนท์แต่กำเนิด  

เด็กนนท์แท้ๆ แต่รู้จักไม่กี่วัดเอง
ขอเพิ่มเติมค่ะ

วัดท้ายเมือง
วัดกลางบางซื่อ หลวงปู่โต
วัดแจ้งศิริสัมพันธ์

อยู่เส้น นนทบุรี 1 ทั้งหมดเลยค่ะ

วัดสมรโกฏิ นั้นจะมีเจดีย์เก่าแก่อยู่ เมื่อก่อนนานมากๆๆๆ เคยเห็น มี 3 แต่ตอนนี้พาไปเห็นเหลือแค่ 1 ที่ดูสมบูรณ์ นอกนั้นน่าจะพังลงมาหมดแล้ว มีต้นโพธิ์ยักษ์ด้วย

วัดสังฆทาน ครั้งตอนเด็กเมื่อประมาณ 25 ปีเป็นวัดป่ามากๆ จะเดินทางไปลำบากเหลือเกิน เมื่อครั้งตามแม่ไปวัด ต้องลงเรือจากท่าน้ำนนท์ ไปลงท่าน้ำอะไรจำไม่ได้หละ เดินผ่านสวนชาวบ้าน บรรยากาศดีมากๆ จะมีชาวบ้านตั้งขายผลไม้ถูกมาก เมื่อก่อนบ้านอยู่แถวท่าน้ำนนท์ ทางรถยนต์ไม่ได้สบายเหมือนตอนนี้ เดี๋ยวนี้สบายขับรถเข้าในวัดสบายเลย วัดก็พัฒนาไปมาก จนจำแทบไม่ได้

 
ความเห็นที่ 196 โพสเมื่อ : 11 มี.ค. 57 : 10:45 น.  โดย : จันทร์ศิริ  

มี วัดหลังบาง บางแม่นาง มีไม๊ค๊ะ

 
ความเห็นที่ 197 โพสเมื่อ : 9 เม.ย. 57 : 16:06 น.  โดย : แก้้้ว บางกรวย  

โธ่ ถังวัดกระโจมทำไมไม่เขัาไปวัดเก่าแก่มีประวัติศาสมากและเรื่องราวของความสักสิทรเคยรุ้ไหมว่า วัดชลอ วัดบางออ้ยชา้ง วัดโพธิบางโอ วัดสักนอ้ย วัดกระโจมทอง เคยเป็นที่ตั้งของกองทัพของพระเจ้าตากมหาราช อย่างเช่นวัดบางออ้ยชาง้เคยเป็ตที่ไว้สำหรับเลี้องชา้งศึกและตาพุ่นช้างและวัดโพธิไม่ใช่มีส้มใอนะแต่แท้จริงเล่าคือเป็นแหล่งที่ปั้นเครื่องดินเผาเพราะจากหลักฐาน.(คิดเอาเองแต่อิงเรื่องจริง)ไม่ว่าที่ดินตรงไหนจากวัดโพธิถึงวัดกระโจมและวัดทึ่กล่าวมาจรดคลองมึแต่เศษของเครื่องปุ้นดินเผาเต็มไปหมดโอยเรืองเล่าอีกมากมายที่คนบางคนไม่นึกถึงมาก่อนถ้าอยากรุ้โทรหาผม 0906477091เพราะมีบางเหตุการเป็นเหตุให้ตอ้งเสียโบรานวัตรถุและสถานที่ปุ่ยา่ตายายปกปอ้งและรักษาและไม่คิดที่จะโยกยา้ยองพระในโบสถออกและทุบวิหารอันเก่าแก่และไม่จำเป็นตอ้งขุดทองเปลวที่องพระที่ปุ่ย่าตายายเปะกันมาร่วม6-7อายุคนโบราน ดรา่มามากไป

 
ความเห็นที่ 198 โพสเมื่อ : 30 มิ.ย. 57 : 22:41 น.  โดย : TookTA  

สาธุ ค่ะ

 
ความเห็นที่ 199 โพสเมื่อ : 2 ก.ค. 57 : 12:11 น.  โดย : buck  

วัดยอดพระพิมล ไม่ได้มีการจับจองที่ทำมาหากินของชาวสมุทรสาครอย่างที่บอกนะคับ แหล่งความรู้มั่วมากๆ ชาวบ้านที่ทำมาหากินเป็นชาวนนทบุรีโดยแท้และเป็ยชาวไทยเชื้อสายมอญ

 
ความเห็นที่ 200 โพสเมื่อ : 4 ส.ค. 57 : 14:44 น.  โดย : Yong  


วัดไทร (เฉยๆ) ที่ ต.บางสีทอง อยู่ใกล้วัดสำโรงเพียงคลองกั้น
เป็นวัดเ็กๆ แต่ก็มีมานานแล้วเช่นกัน
ตอนนี้พยายามรวบรวมข้อมูลอยู่ ติดตามได้ที่
https://www.facebook.com/WatSai.BangSiThong?ref=hl

 

back  1  [2]  3  next  

แสดงความคิดเห็น
Detail :

Picture :
Name :


 
ท่องเที่ยว