Thai Tour
สถานที่ท่องเที่ยว
เกาะเสม็ด เกาะช้าง บ้านพักพัทยา ปาย เขาค้อ ที่พักหัวหิน   
: หารายละเอียด : หากระทู้
back  1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  [31]  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  190  191  192  193  194  195  196  197  198  199  200  201  202  203  204  205  206  207  208  209  210  211  212  213  214  215  216  217  218  219  220  221  222  223  224  225  226  227  228  229  230  231  232  233  234  235  236  237  238  239  240  241  242  243  244  245  246  247  248  249  250  251  252  253  254  255  256  257  258  259  260  261  262  263  264  265  266  267  268  269  270  271  272  273  274  275  276  277  278  279  280  281  282  283  284  285  286  287  288  289  290  291  292  293  294  295  296  297  298  299  300  301  302  303  304  305  306  307  308  309  310  311  312  313  314  315  316  317  318  319  320  321  322  323  324  325  326  327  328  329  330  331  332  333  334  335  336  337  338  339  340  341  342  343  344  345  346  347  348  349  350  351  352  353  354  355  356  357  358  359  360  361  362  363  364  365  366  367  368  369  370  371  372  373  374  375  376  377  378  379  380  381  382  383  384  385  386  387  388  389  390  391  392  393  394  395  396  397  398  399  400  401  402  403  404  405  406  407  408  409  410  411  412  413  414  415  416  417  418  419  420  421  422  423  424  425  426  427  428  429  430  431  432  433  434  435  436  437  438  439  440  441  442  443  444  445  446  447  448  449  450  451  452  453  454  455  456  457  458  459  460  461  462  463  464  465  466  467  468  469  470  471  472  473  474  475  476  477  478  479  480  481  482  483  484  485  486  487  488  489  490  491  492  493  494  495  496  497  498  499  500  501  502  503  504  505  506  507  508  509  510  511  512  513  514  515  516  517  518  519  520  521  522  523  524  525  526  527  528  529  530  531  532  533  534  535  536  537  538  539  540  541  542  543  544  545  546  547  548  549  550  551  552  553  554  555  556  557  558  559  560  561  562  563  564  565  566  567  568  569  570  571  572  573  574  575  576  577  578  579  580  581  582  583  584  585  586  587  588  589  590  591  592  593  594  595  596  597  598  599  600  601  602  603  604  605  606  607  608  609  610  611  612  613  614  615  616  617  618  619  620  621  622  623  624  625  626  627  628  629  630  631  632  633  634  635  636  637  638  639  640  641  642  643  644  645  646  647  648  649  650  651  652  653  654  655  656  657  658  659  660  661  662  663  664  665  666  667  668  669  670  671  672  673  674  675  676  677  678  679  680  681  682  683  684  685  686  687  688  689  690  691  692  693  694  695  696  697  698  699  700  701  702  703  704  705  706  707  708  709  710  711  712  713  714  715  716  717  718  719  720  721  722  723  724  725  726  727  728  729  730  731  732  733  734  735  736  737  738  739  740  741  742  743  744  745  746  747  748  749  750  751  752  753  754  755  756  757  758  759  760  761  762  763  764  765  766  767  768  769  770  771  772  773  774  775  776  777  778  779  780  781  782  783  784  785  786  787  788  789  790  791  792  793  794  795  796  797  798  799  800  801  802  803  804  805  806  807  808  809  810  811  812  813  814  815  816  817  818  819  820  821  822  823  824  825  826  827  828  829  830  831  832  833  834  835  836  837  838  839  840  841  842  843  844  845  846  847  848  849  850  851  852  853  854  855  856  857  858  859  860  861  862  863  864  865  866  867  868  869  870  871  872  873  874  875  876  877  878  879  880  881  882  883  884  885  886  887  888  889  890  891  892  893  894  895  896  897  898  899  900  901  902  903  904  905  906  907  908  909  910  911  912  913  914  915  916  917  918  919  920  921  922  923  924  925  926  927  928  929  930  931  932  933  934  935  936  937  938  939  940  941  942  943  944  945  946  947  948  949  950  951  952  953  954  955  956  957  958  959  960  961  962  963  964  965  966  967  968  969  970  971  972  973  974  975  976  977  978  979  980  981  982  983  984  985  986  987  988  989  990  991  992  993  994  995  996  997  998  999  1000  1001  1002  1003  1004  1005  1006  1007  1008  1009  1010  1011  1012  1013  1014  1015  1016  1017  1018  1019  1020  1021  1022  1023  1024  1025  1026  1027  1028  1029  1030  1031  1032  1033  1034  1035  1036  1037  1038  1039  1040  1041  1042  1043  1044  next  
เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
โพสเมื่อ : 1 มิ.ย. 52 : 10:54 น.  โดย : พัน.พัฒนา ๑  

 
ความเห็นที่ 3001 โพสเมื่อ : 4 ก.ย. 55 : 14:48 น.  โดย : ใบบัว  

โครงการหลวง


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งกับผู้เข้าเฝ้าฯราวร้อยคน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานว่า โครงการหลวงเกิดขึ้นเพราะท่านไปเที่ยว คำว่า “ไปเที่ยว” นี้ เราท่านน่าจะว่า “ประพาสต้น” มากกว่า เพราะนอกจาก จะเป็นราชาศัพท์ที่ถูกต้อง แต่ออกจะไม่ใช้กันแล้ว ยังทำให้เราเห็นภาพ พระพุทธเจ้าหลวงเวลาเสด็จประพาสต้น ไปเที่ยวบ้านชาวบ้านโดยที่เขาไม่ทราบว่าท่านเป็นใครจึงไม่ประหม่ามาก คุยคล่องถึงการกินอยู่ ทำให้ท่านสามารถพระราชทานความช่วยเหลือได้ตามพระราชอัชฌาสัย

ส่วนพระราชนัดดา คือ รัชกาลที่ 9 ของเรานี้ เมื่อทรงแปรพระราชฐานไปเชียงใหม่เพื่อทรงตากอากาศ จะเสด็จไปหน้าหนาวจึงเรียกว่าพักร้อนอย่างที่ใครๆ เขามักจะเรียกกันไม่ได้ นอกจากนี้ ท่านไม่ได้ทรงพักแต่มักจะเสด็จดั้นด้นไปทอดพระเนตรชีวิตของคนบนดอย ซึ่งสำหรับคนอื่นๆ ยังกับว่าอยู่คนละโลกกับเรา เช่นราว 30 ปีมาแล้วจะไปพระธาตุดอยสุเทพ มีถนนลูกรังที่รถยนต์ขึ้นได้แต่ลำบาก จากนั้น ถ้าจะไปบ้านแม้วดอยปุยก็ต้องเดินเอา นอกจากจะจ้างเสลี่ยงนั่งให้เขาหาบโยกเยกไป ในเมื่อระยะใกล้ๆ ต้องใช้เวลานาน เดินทางเช่นนี้ ดอยจึงพ้นหูพ้นตาของคนไทยส่วนมาก โดยเฉพาะพวกเกษตร เว้นแต่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประวัติ ความเป็นมา

ชาวเขาในอดีตปลูกฝิ่นเป็นรายได้ก็เพราะไม่ทราบว่าจะปลูกพืชอื่นใดนอกจากฝิ่น ฝิ่นเป็นพืชทำเงินเพียงอย่างเดียวที่รู้จัก พืชอื่นๆ เช่น ข้าว ข้าวโพดฯลฯ นั้น ก็ปลูกเพื่อใช้รับประทานและเลี้ยงสัตว์

โครงการหลวงได้นำพืชพรรณเข้ามาทำการทดลองบนที่สูงเป็นจำนวนมากมายหลายชนิด หลายพันธุ์ ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆ ซึ่งเข้าใจและเห็นใจในปัญหาที่เราประสบอยู่ เพราะปัญหาเรื่องฝิ่นนั้นมิใช่เป็นปัญหาของประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของโลก

ผลการทดลองค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในระยะแรก และมีอัตราความสำเร็จสูงขึ้นในเวลาต่อมา เมื่อนักวิชาการมีความเข้าใจสภาพภูมิอากาศดีขึ้น ผลการทดลองนี้ได้ถ่ายทอดไปสู่ชาวเขา เป็นการร่วมกันทดลองก่อนในระยะแรกแล้วจึงกลายมาเป็นอาชีพอย่างจริงจังในระยะหลัง ชาวเขาเริ่มมีความเชื่อมั่นที่จะปลูกผัก ปลูกดอกไม้ ปลูกผลไม้ เพื่อทำรายได้แทนฝิ่น และเมื่อเห็นว่าได้เงินมาจริงๆ ก็ค่อยๆ ลดการปลูกฝิ่นลงจนในที่สุดในหลายท้องที่ของโครงการหลวงฝิ่นดูจะกลายเป็นพืชที่หาดูได้ยากไปเสียแล้ว

ในปัจจุบัน ผลไม้ ผัก ดอกไม้ และพืชเมืองหนาวต่างๆ มีจำหน่ายตลอดปี และเป็นที่รู้จักกัน อย่างแพร่หลาย ทั้งๆ ที่เมื่อไม่นานมานี้เอง เรายังต้องสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ พื้นที่สูงกลับกลายเป็นพื้นที่พิเศษ เป็นพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน

โครงการหลวง (Royal project)

เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวเขา เพื่อเป็นการหารายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะประธานมูลนิธิโครงการหลวง

ในระยะแรก เป็นโครงการอาสาสมัคร โดยมีอาสาสมัคร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกองทัพอากาศ ปัจจุบันโครงการหลวง ดำเนินงานใน 4 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และแม่ฮ่องสอน มีสถานีวิจัยหลัก 6 สถานี และสถานีส่งเสริมปลูกพืชทดแทนฝิ่น เรียกว่า ศูนย์พัฒนาโครงการ จำนวน 21 ศูนย์ และหมู่บ้านพัฒนาอีก 6 หมู่บ้าน รวมหมู่บ้านในเขตปฏิบัติการทั้งสิ้น 267 หมู่บ้าน

ผลผลิตจากโครงการหลวงในปัจจุบัน ประกอบด้วย ผักปลอดภัยสารพิษ สมุนไพร ถั่วและธัญพืช ผลไม้ เห็ด ดอกไม้เมืองหนาว ผลิตผลปศุสัตว์ ผลิตผลประมง ผลิตผลป่าไม้ ดอกไม้แห้ง ผลิตภัณฑ์จากแฝก ไม้กระถาง และผลิตภัณฑ์แปรรูปในชื่อการค้า ดอยคำ

ที่มา : Panyathai.or.th

 
ความเห็นที่ 3002 โพสเมื่อ : 4 ก.ย. 55 : 14:52 น.  โดย : ใบบัว  

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการเกษตร

แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ คือการที่ทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชต่างๆ ใหม่ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ เช่น หม่อนไหม ยางพาราฯลฯ ทั้งพืชเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินและพืชสมุนไพร ตลอดจนการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช ทั้งนี้รวมทั้งพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมเช่น โค กระบือ แพะ แกะ พันธุ์ปลา และสัตว์ปีกทั้งหลายด้วย เพื่อแนะนำให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ราคาถูกและใช้เทคโนโลยีที่ง่ายและไม่สลับซับซ้อน ซึ่งเกษตรกรจะสามารถรับไปดำเนินการเองได้ และที่สำคัญคือ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หรือเทคนิควิธีการดูแลต่างๆ นั้นต้องเหมาะสมกับสภาพสังคมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย

อย่างไรก็ตามมีพระราชประสงค์เป็นประการแรก คือ การทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ โดยเฉพาะในด้านอาหารก่อนเป็นอันดับแรก เช่น ข้าว พืชผัก ผลไม้ ฯลฯ แนวทางที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การที่ทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรพึ่งพาอยู่กับพืชเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว เพราะจะเกิดความเสียหายง่าย เนื่องจากความแปรปรวนของตลาดและความไม่แน่นอนของธรรมชาติ ทางออกก็คือเกษตรกรควรจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากภาคเกษตร เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งดำเนินงานสนับสนุนงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปัจจุบันสภาพของทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ำ ให้อยู่ในสภาพที่จะมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากที่สุด

จากแนวทางและเป้าหมายดังกล่าวมีแนวพระราชดำริที่ถือเป็นหลักเกณฑ์หรือเทคนิควิธีการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายนั้นหลายประการ

ประการแรก ทรงเห็นว่าการพัฒนาการเกษตรที่จะได้ผลจริงนั้นจะต้องลงมือทดลองค้นคว้า ต้องปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังพระราชดำรัสว่า '''.. เกษตรกรรมนี้ หรือ ความเป็นอยู่ของเกษตรนั้น ขอให้ปฏิบัติ ไม่ ใช่ ถือตำราเป็นสำคัญอย่างเดียว..สำหรับการค้นคว้าทดลองนั้น ได้ทรงเน้นให้มีทั้งก่อนการผลิตและหลังจากผลิตแล้ว คือพิจารณาดูตั้งแต่เรื่องความเหมาะสมของพืชความเหมาะสมของดิน พืชอย่างใดจะเหมาะกับดินประเภทใดรวมทั้งการค้นคว้าเกี่ยวกับความต้องการของตลาด คือการปลูกพืชที่ตลาดต้องการผลิตออกมาแล้วมีที่ขาย ส่วนการค้นคว้าวิจัยหลังการผลิต คือการดูเรื่องความสอดคล้องของตลาด เรื่องคุณภาพของผลผลิตหรือทำอย่างไรจึงจะ ให้เกษตรกรได้มีความรู้เบื้องต้นในด้านการบัญชีและธุรกิจการเกษตรในลักษณะที่พอจะทำธุรกิจแบบพึ่งตนเองได้สำหรับในเรื่องนี้ทรงเห็นว่าการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนั้น ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในระยะยาว พระราชประสงค์ของพระองค์ที่จะให้เกษตรกรได้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีสภาพชีวิตที่มีความสุข ไม่เคร่งเครียดกับการเร่งรัดให้เกิดความเจริญโดยรวดเร็ว นอกเหนือจากเรื่องที่ทรงเน้นในเรื่องการผลิตอาหารให้เพียงพอแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนจากพระราชดำรัสที่ว่า ...ไม่จำเป็นต้องส่งเสริมผลผลิตให้ได้ปริมาณสูงสุดแต่เพียงอย่างเดียวเพราะเป็นการสิ้นเปลืองค่าโสหุ้ยและทำลายคุณภาพดิน แต่ควรศึกษาสภาวะตลาดการเกษตร ตลอดจนการควบคุมราคาผลิตผลไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน...

เทคนิควิธีการในการพัฒนาการเกษตรของพระองค์อีกประการหนึ่งคือการที่ทรงใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น การใช้ที่ดินที่ทิ้งไว้เปล่าๆ ให้เป็นประโยชน์หรือการมองหาประโยชน์จากธรรมชาติในสิ่งที่ผู้อื่นนึกไม่ถึง เช่น ครั้งหนึ่งทรงสนับสนุนให้มีการทำครั่งจากต้นจามจุรีที่ขึ้นอยู่ริมทางหลวงที่จะเสด็จฯ ไปพระราชวังไกลกังวล มีพระราชดำริว่า '''..เกิดจากความคิดที่จะเอาต้นก้ามปูมาทำให้ประชาชนมีงานทำแล้วร่วม เป็นกลุ่ม...''' การมุ่งใช้ประโยชน์จากธรรมชาติยังมีลักษณะสอดคล้องกับวิธีการที่สำคัญของพระองค์อีกประการหนึ่งคือ '''การประหยัด''' ทรงเน้นความจำเป็นที่จะลดค่าใช้จ่ายในการทำมาหากินของเกษตรกรลงให้เหลือน้อยที่สุดโดยอาศัยพึ่งพิงธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญ

วิธีการของพระองค์มีตั้งแต่การสนับสนุนให้เกษตรกรใช้โคกระบือในการทำนามากกว่าให้ใช้เครื่องจักร ให้มีการปลูกพืชหมุนเวียน โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วเพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยหรือกรณีที่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ย ก็ทรงสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยธรรมชาติแทนปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพงและมีผลกระทบต่อสภาพและคุณภาพของดินในระยะยาวนั่นคือทรงสนับสนุนให้ทำ '''การเกษตรยั่งยืน''' นอกจากนั้นยังทรงแนะนำในเรื่องการผลิตก๊าซชีวภาพอันจะมีผลดีทั้งในด้านเชื้อเพลิงและปุ๋ย รวมทั้งได้ทรงเน้นอยู่เสมอที่จะให้เกษตรกรมีรายได้เสริมหรือรายได้นอกเหนือจากการทำการเกษตรจากการหาวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น เช่น ไผ่ ย่านลิเพา ปาหนัน มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจักสานเพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ของตนเอง

โครงการพัฒนาด้านการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้นประกอบด้วยงานหลายประเภทซึ่งโดยทั่วๆ แล้วจะเป็นงานเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า ทดลอง วิจัยหาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่นั้นการดำเนินการส่วนใหญ่ดำเนินการอยู่ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และนำผลสำเร็จจากการศึกษาทดลองไปถ่ายทอดสู่ประชาชนด้วยการฝึกอบรมให้เกษตรกรมีความรู้ในวิชาการเกษตรแผนใหม่ นอกจากนั้นยังประกอบด้วยโครงการเพื่อการส่งเสริมการเกษตร เช่น โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวและทำนาขั้นบันได อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส หรือโครงการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ จังหวัดพระนครศรี อยุธยา เป็นต้น

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในด้านการพัฒนาการเกษตรที่กระจายอยู่ทั่วประเทศนั้น ได้ส่งผลโดยตรงต่อความกินดีอยู่ดีของเกษตรกรเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นโครงการที่มุ่งแก้ปัญหาหลักด้านการพัฒนาการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้เกษตรกรได้มีโอกาสมากขึ้นในการเข้าถึงแหล่งความรู้ในด้านเทคนิคและวิชาการเกษตรสมัยใหม่ซึ่งแต่เดิมเกษตรกรไม่เคยมีโอกาสเช่นนี้มาก่อน รวมทั้งยังได้มีโอกาสเรียนรู้ และเห็นตัวอย่างของความสำเร็จของการผลิตในพื้นที่ต่างๆ และสามารถนำไปปรับใช้ในการเพาะปลูกของตนเองอย่างได้ผล ความเจริญของเกษตรกรและภาคเกษตรกรรมนี้ มิใช่มีจุดหมายในตัวเองเท่านั้นหากแต่ยังมีความหมายต่อความเจริญของภาคเศรษฐกิจแขนงอื่นและของประเทศชาติโดยส่วนรวมด้วย

 
ความเห็นที่ 3003 โพสเมื่อ : 4 ก.ย. 55 : 14:54 น.  โดย : ใบบัว  

การเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

ประเทศไทย เป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้นฝนตกค่อนข้างชุกมีค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ ประมาณ 1,500 มิลลิเมตร และมีฤดูฝนนานประมาณ 5 - 6 เดือน ในอดีตเมื่อป่าไม้ยังอุดมสมบูรณ์อยู่น้ำฝนส่วนหนึ่งจะถูกดูดซับไว้ในป่าส่วนหนึ่งจะไหลลงสู่ใต้ดินอีกส่วนหนึ่งจะถูกเก็บกักไว้ตามที่ลุ่ม เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง ตามธรรมชาติส่วนที่เหลือจะระเหยสู่บรรยากาศและไหลลงสู่ลำห้วย ลำธาร แม่น้ำ และออกสู่ทะเล น้ำที่ถูกเก็บกักไว้ในป่าและในแหล่งน้ำธรรมชาติเหล่านี้จะค่อยๆ ไหลซึมซับออกมาทีละน้อยตลอดปี ส่วนที่ขังอยู่ในหนอง คลอง บึง และแอ่งน้ำต่างๆ ก็จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในช่วงฤดูแล้ง

ต่อมาระบบนิเวศน์เปลี่ยนไปป่าไม้ถูกทำลายถูกถากถางเพื่อการเกษตรและกิจกรรมต่างๆ ห้วย หนอง คลอง บึงสาธารณะจะตื้นเขิน และถูกบุกรุกเข้าถือครองกรรมสิทธิ์ บริเวณทางระบายน้ำออกสู่ทะเลตามธรรมชาติถูกใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอาคาร ถนน ทางรถไฟ บ่อเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา และอื่น ๆ เมื่อฝนตกลงมาน้ำไหลสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีที่เก็บกัก แต่เมื่อกระทบสิ่งกีดขวางก็ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันอย่างรุนแรง เมื่อน้ำท่าไหลลงทะเลหมดและไม่มีน้ำจากป่ามาเติม แหล่งน้ำตามธรรมชาติก็เหือดแห้ง จึงทำให้เกิดแห้งแล้งและขาดน้ำอุปโภคบริโภคอยู่เสมอ

เกษตรกรที่อยู่ในสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะชาวนาที่อยู่ในเขตใช้น้ำฝนจึงได้รับความเดือดร้อน ผลิตผลเสียหายเป็นประจำและไม่พอเลี้ยงชีพ ต้องอพยพทิ้งถิ่นฐานไปหารายได้ในเมืองใหญ่ ๆ และเกิดปัญหาด้านสังคมตามมา

นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติเมื่อปีพุทธศักราช 2489 เป็นต้นมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จแปรพระราชฐานและเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมพสกนิกรทั่วราชอาณาจักรเรื่อยมา พระองค์ได้ประสบกับสภาพดิน ฟ้า อากาศและภูมิประเทศในภูมิภาคต่างๆ และทอดพระเนตรความทุกข์ยากแร้นแค้น ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการดำรงชีวิตของประชาชนทั่วประเทศด้วยพระองค์เอง ทรงตระหนักถึงปัญหาและอุปสรรคเหล่านี้อย่างถ่องแท้ และได้ทรงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อแก้ไขเพื่อบรรเทาปัญหาเหล่านี้โดยเฉพาะ โครงการอนุรักษ์ ป่าไม้ต้นน้ำลำธารและโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดต่างๆ จำนวนมาก

สำหรับในด้านการพัฒนาอาชีพของประชาชนในชนบท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานแนวทางครั้งสำคัญเมื่อปี พ.ศ.2532 ซึ่งต่อมาประชาราษฎร์ได้รู้จักกันอย่างดีในนามเกษตร "ทฤษฎีใหม่"

แนวทางการพัฒนาชีวิตและอาชีพตามแนวทฤษฎีใหม่นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทาน พระราชดำริไว้ 3 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 การผลิต ขั้นที่ 2 การรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ และขั้นที่ 3 การร่วมมือกับแหล่งเงิน (ธนาคาร) และกับแหล่งพลังงาน

 
ความเห็นที่ 3004 โพสเมื่อ : 4 ก.ย. 55 : 14:55 น.  โดย : ใบบัว  

ทฤษฎีใหม่ : การบริหารจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรตามพระราชดำริ

ในทุกคราที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศนั้น ได้ทรงถามเกษตรกรและทอดพระเนตรพบสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อการปลูกข้าวและเกิดแรงดลพระราชหฤทัย อันเป็นแนวคิดขึ้นว่า

1. ข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มปริมาณเม็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น
2. หากเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ได้แล้ว นำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน
3. การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและข้อจำกัด ของปริมาณที่ดิน เป็นอุปสรรคสำคัญ
4. หากแต่ละครัวเรือนมีสระน้ำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้ว เมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับปริมาณในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ แต่สิ้นค่าใช่จ่ายน้อยและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยตรงมากกว่า

ในเวลาต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริให้ทำการทดลอง "ทฤษฎีใหม่" เกี่ยวกับการจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขึ้น ณ วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี แนวทฤษฎีใหม่กำหนดขึ้นดังนี้ ให้แบ่งพื้นที่ถือครองทางการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทย มีเนื้อที่ดินประมาณ 10-15 ไร่ต่อครอบครัว แบ่งออกเป็นสัดส่วน 30-30-30-10 คือ ส่วนแรก : ร้อยละ 30 เนื้อที่เฉลี่ย 3 ไร่ ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก โดยมีความลึกประมาณ 4 เมตร ซึ่งจะสามารถรับน้ำได้จุถึง 19,000 ลูกบาศก์เมตร โดยการรองรับจากน้ำฝน ราษฎรจะสามารถนำน้ำนี้ไปใช้ในการเกษตรได้ตลอดปีและยังสามารถเลี้ยงปลาและปลูกพืชน้ำ พืชริมสระ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย ส่วนที่สอง : ร้อยละ 60 เนื้อที่เฉลี่ย ประมาณ 10 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชผลต่าง ๆ โดยแบ่งพื้นที่นี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ร้อยละ 30 ในส่วนที่หนึ่ง : ทำนาข้าว ประมาณ 5 ไร่ ร้อยละ 30 ในส่วนที่สอง : ปลูกพืชไร่หรือพืชสวนตามแต่สภาพของพื้นที่และภาวะตลาด ประมาณ 5 ไร่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวนโดยใช้หลักเกณฑ์ว่าในพื้นที่ทำการเกษตรนี้ต้องมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ถ้าหากแบ่งแต่ละแปลงเกษตรให้มีเนื้อที่ 5 ไร่ ทั้ง 2 แห่งแล้ว ความต้องการน้ำจะต้อง ใช้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร ที่จะต้องเป็นน้ำสำรองไว้ใช้ในยามฤดูแล้ง ส่วนที่สาม : ร้อยละ 10 เป็นพื้นที่ที่เหลือ มีเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 2 ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง คันคูดินหรือคูคลองตลอดจนปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริอันเป็นหลักปฏิบัติสำคัญยิ่งในการดำเนินการ คือ

1. วิธีการนี้สามารถใช้ปฏิบัติได้กับเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ที่มีพื้นที่ดินจำนวนน้อย แปลงเล็ก ๆ ประมาณ 15 ไร่ (ซึ่งเป็นอัตราถือครองเนื้อที่การเกษตรโดยเฉลี่ยของเกษตรกรไทย)
2. มุ่งให้เกษตรกรมีความพอเพียงในการเลี้ยงตัวเองได้ (Self Sufficiency) ในระดับชีวิตที่ประหยัดก่อน โดยมุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของความสามัคคีกันในท้องถิ่น
3. กำหนดจุดมุ่งหมายให้สามารถผลิตข้าวบริโภคได้เพียงพอทั้งปี โดยยึดหลักว่าการทำนา 5 ไร่ของครอบครัวหนึ่งนั้น จะมีข้าวพอกินตลอดปีซึ่งเป็นหลักสำคัญของทฤษฎีใหม่นี้ นอกจากนี้ยังทรงคำนึงถึงการระเหยของน้ำในสระหรืออ่างเก็บน้ำลึก 4 เมตร ของเกษตรกรด้วยว่า ในแต่ละวันที่ไม่มีฝนตกคาดว่าน้ำระเหยวันละ 1 ซม. ดังนั้น เมื่อเฉลี่ยว่าฝนไม่ตกปีละ 300 วันนั้น ระดับน้ำในสระจะลดลง 3 เมตร จึงควรมี การเติมน้ำให้เพียงพอ เนื่องจากน้ำเหลือก้นสระเพียง 1 เมตร เท่านั้น ดังนั้น การมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อคอยเติมน้ำในสระเล็ก จึงเปรียบเสมือนมีแท้งค์น้ำใหญ่ ๆ ที่มีน้ำสำรองที่จะเติมน้ำอ่างเล็กให้เต็มอยู่เสมอ จะทำให้แนวทางปฏิบัติสมบูรณ์ขึ้น กรณีของการทดลองที่วัดมงคลชัยพัฒนา ทรงเสนอวิธีการดังนี้ จากภาพตุ่มน้ำเล็กคือสระน้ำที่ราษฎรขุดขึ้นตามทฤษฎีใหม่นี้ เมื่อเกิดช่วงขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ราษฎรก็สามารถ สูบน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ และหากน้ำในสระไม่เพียงพอก็ขอรับน้ำจากอ่างห้วยหินขาว ซึ่งได้ทำระบบส่งน้ำเชื่อมต่อลงมายังสระน้ำที่ได้ขุดไว้ในแต่ละแปลงซึ่งจะช่วยให้สามารถมีน้ำใช้ตลอดปี ในกรณีราษฎรใช้น้ำกันมากอ่างห้วยหินขาวก็อาจมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ หากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักสมบูรณ์แล้ว ก็ใช้วิธีการสูบน้ำจากป่าสักมาพักในหนองน้ำใดหนองน้ำหนึ่ง แล้วสูบต่อลงมาในอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว ก็จะช่วยให้มี ปริมาณน้ำใช้มากพอตลอดปี


ทฤษฎีใหม่จึงเป็นแนวพระราชดำริใหม่ ที่ได้รับการพิสูจน์และยอมรับกันอย่างกว้างขวางในหมู่เกษตรกรไทยแล้วว่า พระราชดำริของพระองค์เกิดขึ้นด้วยพระอัจฉริภาพสูงส่งที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริงความสมบูรณ์พูนสุขแห่งราชอาณาจักรไทยอุบัติขึ้นในครั้งนี้ ด้วยพระปรีชาสามารถอันเฉียบแหลมของพระมหากษัตริย์ไทยผู้มิเคยทรงหยุดนิ่งที่จะระดมสรรพกำลังทั้งปวงเพื่อความผาสุขของชาวไทย

 
ความเห็นที่ 3005 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 09:03 น.  โดย : ร้อย.บก.ส.พัน.๓๕  

พระบารมีอันแผ่ไพศาล ย่อมบริบาลผู้ที่มีความจงรักภักดีตลอดไปข้าพระพุทธเจ้าขอสดุดี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนาง เจ้าพระบรมราชินีนาถ
ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าข้าราชการ ร้อย.บก.ส.พัน.๓๕

 
ความเห็นที่ 3006 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:05 น.  โดย : ร้อย.บก.ส.พัน.๓๕  

ธ ทรงเป็นพ่อหลวง ของปวงไทย พระบารมี เกริกไกร แผ่ไพศาล
ทุกหย่อมหญ้า ทุกแดนดิน ถิ่นกันดาร ซึ้งในพระ ปรีชาชาญ ทุกวานวัน
๖๔ ปี เวียนบรรจบ สบสมัย ผองชาวไทย ปรีดิ์เปรม เกษมสันต์
น้อมถวาย พระพรชัย องค์ราชันย์ พระมิ่งขวัญ ขอจง “ ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าข้าราชการ ร้อย.บก.ส.พัน.๓๕

 
ความเห็นที่ 3007 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:06 น.  โดย : ร้อย.บก.ส.พัน.๓๕  

ขอให้พระองค์ทรงมีพระวรกายและพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง และอายุยืนยาว

 
ความเห็นที่ 3008 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:07 น.  โดย : ร้อย.บก.ส.พัน.๓๕  

ขอให้แผ่นดินไทยไร้ซึ่งพวกหมิ่นสถาบัน ขยะของสังคมไทย
ชนเผ่าทุกคนในไทย หากเเม้นคิดคตเเล้วไซร้ พึงควรเกิดใหม่
ทำร้ายประเทศไทยยังพอทนไหว.......แต่พวกหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์......อย่าทนกับมันเลย
ขอร่วมต่อต้านขบวนการหมิ่นสถาบันให้หมดไปจากประเทศไทย
ร้อยรัดร้อยล้านดวงใจเพื่อเทิดไท้องค์ราชัน ที่พระองค์ทรงฝ่าฟันให้ไทยนั้นได้ร่มเย็น

 
ความเห็นที่ 3009 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:15 น.  โดย : ร้อย.บก.ส.พัน.๓๕  

ข้าพเจ้าจะเชิดชูและรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

 
ความเห็นที่ 3010 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:24 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขอให้พระองค์ฯ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของเราชาวไทยตลอดกาลเทอญ

 
ความเห็นที่ 3011 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:25 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขอให้พ่อของชาวไทยมีรอยยิ้มทุกวันมีความสุขทุกเวลามีพลานามัยที่แข็งแรงตลอดกาล

 
ความเห็นที่ 3012 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:32 น.  โดย : กวค.กพ.ทบ.  

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทาง ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

 
ความเห็นที่ 3013 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:33 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขอให้พ่อของปวงชนชาวไทยหายเหนื่อย ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

 
ความเห็นที่ 3014 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:34 น.  โดย : กวค.กพ.ทบ.  

เราจงน้อมนำราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

 
ความเห็นที่ 3015 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:34 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขอให้พ่อหลวงทรงมีสุขภาพแข็งแรง มีความสุข อยู่กับคนไทยตลอดไป

 
ความเห็นที่ 3016 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:35 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขอให้พ่อหลวงมีพลานามัยที่แข็งแรง

 
ความเห็นที่ 3017 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:35 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากลโลก ดลบันดาลพระองค์ทรงหายจากพระประชวรโดยเร็ว ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ ทรงมีพลามัยที่แข็งแรง ทรงอยู่เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไป

 
ความเห็นที่ 3018 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:35 น.  โดย : กวค.กพ.ทบ.  

. ในหลวงพระองค์ทรงหลั่งหยาดเหงื่อเพื่อคนไทย ให้มีความผาสุก

 
ความเห็นที่ 3019 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:36 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากลโลกปกปักคุ้มครองให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน

 
ความเห็นที่ 3020 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:37 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขอให้อำนาจศักดิ์สิทธิ์จงดลบันดาลให้ในหลวงมีสุขภาพอนามัยให้แข็งแรงตลอดไป

 
ความเห็นที่ 3021 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:38 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขอให้พระองค์ท่านอยู่คู่ฟ้าแผ่นดินสยามยิ่งยืนนาน

 
ความเห็นที่ 3022 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:39 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขอองค์พระสยามเทวาธิราชปกปักษ์รักษาพระองค์ท่านให้แคล้วคลาดจาก ภัยอันตรายใด ๆ ทั้งปวง เป็นมิ่งขวัญล้นเกล้าล้นกระหม่อมตราบนานเท่านาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

 
ความเห็นที่ 3023 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:39 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขออยู่ใต้ร่มพระบารมีพ่อหลวงตลอดไป

 
ความเห็นที่ 3024 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:40 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขออัญเชิญเทพเทวามาสถิต ร่วมส่งจิตอวยพรชัยให้ไพศาล แผ่ปกป้องพระทรงไทยตลอดกาล พระชนม์ยิ่งยืนนานอยู่คู่ไทย

 
ความเห็นที่ 3025 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:41 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขออานุภาพและพระบรมเดชานุภาพแห่งพระสยามเทวาธิราชและสมเด็จพระบุรพมหา กษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ โปรดอภิบาลบันดาลดลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญ พระเกียรติคุณแผ่ไพศาลทรงสถิตสถาพรในมไหศูรย์สิริราชสมบัติพร้อมด้วยสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นฉัตรแก้วร่มเกล้าปวงข้าพระพุทธเจ้าตลอดไป

 
ความเห็นที่ 3026 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:41 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยและพระสยามเทวาธิราช โปรดปกป้องอภิบาลในหลวง ให้ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์ ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน อยู่เป็นมิ่งขวัญชาวไทยไปยิ่งยืนนาน ขอให้ประเทศชาติสงบสุข เพื่อในหลวงของเรา

 
ความเห็นที่ 3027 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:42 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยและพระสยามเทวาธิราช โปรดปกป้องอภิบาลในหลวง ให้มีพลานามัยสมบูรณ์ ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน

 
ความเห็นที่ 3028 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:42 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ข้าพเจ้า จักปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

 
ความเห็นที่ 3029 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:44 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ข้าพเจ้าขอเทิดไท้องค์ราชัน และจะปกป้องสถาบันไว้ด้วยชีวิต

 
ความเห็นที่ 3030 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:45 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ข้าพเจ้าจักรักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์จนกว่าชีวิติจะหาไม่

 
ความเห็นที่ 3031 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:46 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ข้าพเจ้าภูมิใจยิ่งที่มีสายเลือดไทย อันมีพ่อหลวงผู้ทรงธรรมปกครอง

 
ความเห็นที่ 3032 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:46 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ข้าพระพุทธเจ้า ทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก โปรดคุ้มครองพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง เป็นมิ่งขวัญแก่ ปวงชนชาวไทยไปสืบนานเท่านาน

 
ความเห็นที่ 3033 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:47 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

ข้าพระพุทธเจ้าน้อมรำลึกในมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นตลอดกาลที่พระองค์ได้มอบให้แก่ปวงชนชาวไทย

 
ความเห็นที่ 3034 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:48 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

คนไทยใจหนึ่งเดียวถวายในหลวงของปวงไทยจงทำความดีเพื่อถวายเป็นราช สักการะแด่ในหลวงของเรา โดยการกระทำความดีเสมอ พึงละเว้นการทำชั่วเพราะการทำชั่วนั้นเพียงหนึ่งครั้งเท่านั้นที่ พันพัว ความดีทั่วถ้วนร้อยพลอยมลาย

 
ความเห็นที่ 3035 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 10:49 น.  โดย : กธก.กพ.ทบ.  

คนไทยทุกคนควรทำหน้าที่พลเมืองที่ดี รักในหลวง เชิดชูสถาบัน ร่วมกันปกป้องให้ถึงที่สุด

 
ความเห็นที่ 3036 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 11:43 น.  โดย : ใบบัว  

โครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริจังหวัดแม่ฮ่องสอน



เป็นการขยายผลจากแนวพระราชดำริเป็นรูปธรรม จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็น จังหวัดชายแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุด ของประเทศ ซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า และภูเขา ไกลออกไปจากตัวจังหวัดประมาณ 60 กิโลเมตร บนที่ราบสูงกว้างใหญ่ ปก คลุมไปด้วยป่าธรรมชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ มีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งกรมป่าไม้ได้สนองพระราชดำริ โดยจัดตั้งเป็น โครงการ พัฒนาตามแนวพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการดังกล่าวประกอบด้วยกิจกรรม 5 อย่าง ได้แก่

- กิจกรรมปลูกสร้างสวนป่าตามโครงการพระราชดำริปางตอง 1 (ห้วยมะเขือส้ม) - กิจกรรมสวนป่าตามโครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง) - กิจกรรมเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าปางตอง - กิจกรรมพัฒนาพื้นที่บริเวณพระตำหนักปางตอง - ท่าโป่งแดง - กิจกรรมควบคุมไฟป่าปางตอง - ท่าโป่งแดง

 
ความเห็นที่ 3037 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 11:51 น.  โดย : ใบบัว  

การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วย "กังหันน้ำชัยพัฒนา"



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบ ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศ โดยทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อศึกษาวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ร่วม กับกรมชลประทาน ซึ่งต่อมาเครื่องมือบำบัดน้ำเสียนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเรียกกันว่า"กังหันน้ำชัยพัฒนา"
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้า ฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก" นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2536 และทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกวาระหนึ่ง

 
ความเห็นที่ 3038 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 11:52 น.  โดย : ใบบัว  

“ไบโอดีเซล” จากปาล์มประกอบอาหารสู่เชื้อเพลิงเครื่องยนต์


ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนผ่านโครงการส่วนพระองค์มาตั้งแต่ปี 2522 โดยมีโครงการผลิตแก๊สชีวภาพ เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลจากปาล์ม ซึ่งในส่วนของพระราชดำริด้านการพัฒนาน้ำมันปาล์มเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น การพัฒนาไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มในชื่อ “การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล” ได้จดสิทธิบัตรที่กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2544
อีกทั้งในปี 2546 ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจาก “โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม” ในงาน “บรัสเซลส์ ยูเรกา” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ทั้งนี้ปาล์มเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำมันต่อพื้นที่ปลูกสูง อีกทั้งเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ภายในประเทศ ซึ่งจะใช้ทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้

 
ความเห็นที่ 3039 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 11:52 น.  โดย : ใบบัว  

ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ " ฝนหลวง "

ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยม พสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงพบเห็นว่าหลายแห่งประสบปัญหา พื้นดินแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักประสบความเดือดร้อนจากภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล และทรงความอัจฉริยะของพระองค์ด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ ทรงสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น และได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2498 แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหา วิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ กับทรัพยากร ที่มีอยู่ให้เกิดมีศักยภาพของการเป็นฝนให้ได้ "ฝนหลวง" หรือ "ฝนเทียม" จึงกำเนิดขึ้นโดยประยุกต์ผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านฝนเทียมของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่าง ใกล้ชิดพร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานปฎิบัติการฝนหลวง" ขึ้น เพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานฝนหลวงในระยะต่อ มาจนถึงปัจจุบันการทำฝนหลวงว่ามี 3 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน เป็นการกระตุ้นให้เมฆรวมตัวเป็นกลุ่มแกน เพื่อใช้เป็น แกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมา สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ แคลเซียมคลอ
ไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมอ๊อกไซด์ หรือสารผสมระหว่าง เกลือแกงกับสารยูเรีย หรือสารผสม ระหว่างสารยูเรียกับแอมโมเนียมไนเตรท ซึ่งสารผสมดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศ
2. ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน ขั้นตอนนี้ใช้สารเคมี คือ เกลือแกง สารประกอบสูตร ท.1 สารยูเรีย สารแอมโมเนียไนเตรท น้ำแข็งแห้ง และอาจใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ร่วมด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) ให้กลุ่มเมฆฝน มีความหนาแน่นมากขึ้น
3. ขั้นตอนที่ 3 โจมตี สารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนนี้เป็นสารเย็นจัด คือซิลเวอร์ไอโอได น้ำแข็งแห้ง เพื่อทำให้เกิดภาวะความไม่สมดุลมากที่สุด ซึ่งจะเกิดเป็นเม็ดน้ำ ที่มีขนาดใหญ่มากและตกกลายเป็นฝนในที่สุด อย่างไรก็ดี ทุกขั้นตอนจะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจที่จะเลือกใช้สารเคมีในปริมาณที่พอเหมาะ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงสภาพอากาศสภาพภูมิประเทศทิศทางและความเร็วของลม ตลอดจนกำหนดบริเวณหรือแนวพิกัด ที่จะโปรยสารเคมี ประโยชน์ของการทำฝนหลวง
1. เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตรในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงยาวนานเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ ให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนลดน้อยลง
2. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำโดยเฉพาะในบริเวณแม่น้ำที่ตื้นเขินให้สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้
3. เพื่อป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม "ฝนหลวง" ได้บรรเทาภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการระบาย น้ำเสีย และขยะมูลฝอยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง
4. เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าฝนหลวงในอนาคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวความคิดให้ทำการศึกษาวิจัยพัฒนาฝนหลวงหลายประการ คือ สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบิน การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่น จนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา

 
ความเห็นที่ 3040 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 11:53 น.  โดย : KK.  

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเนื้อนาบุญของทวยราษฎร์

 
ความเห็นที่ 3041 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 11:53 น.  โดย : ใบบัว  

ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก



ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก พืชจากพระราชดำริ : กำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดิน ที่อุดมสมบูรณ์ จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ“หญ้าแฝก”ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทยที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกัน การชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆ เกษตรกรสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก ทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วยจึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝก
การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
1. การปลูกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน เพื่อชะลอความเร็วของน้ำ และดักตะกอนดิน ส่วนน้ำจะไหลซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น เป็นการเพิ่ม ความชุ่มชื้นในดิน ส่วนรากหญ้าแฝกจะหยั่งลึกลงไปในดินอาจถึง 3 เมตร ซึ่งสามารถยึดดินป้องกันการพังทลายได้
2. การปลูกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินเป็นร่องน้ำลึก
3. การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ ให้ปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก โดยควรปลูกเป็นแถวตามแนวขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน
4. การปลูกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผล ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล และปลูกแบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝน
5. การปลูกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบเขา
6. การปลูกเพื่อป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำในไร่นาตลอดจนปลูกรอบสระ หรือปลูกเป็นแถวขนานไปกับแม่น้ำ ลำคลองเพื่อกรองตะกอนดิน
7. การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม
8. การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของไหล่ถนนที่ลาดชันสูง โดยปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทางและปลูกขวางแนวลาดเทเพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน
9. การปลูกในพื้นที่ดินดาน รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดาน ทำให้ดินแตกร่วนขึ้น และหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น
10. การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพงกักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่างและรากยังมีประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น
ประโยชน์เอนกประสงค์อื่น ๆ ของหญ้าแฝก
- ปลูกหญ้าแฝกบนคันนา เพื่อให้คันนาคงสภาพอยู่ได้นาน
- ปลูกหญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์มุงหลังคา ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิตจำหน่ายได้ ส่วนรากที่มีความหอมนั้นคนไทยรุ่นเก่าเคยนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้า ทำให้มีกลิ่นหอมและช่วยไล่แมลงที่จะทำลายเสื้อผ้าได้
- หญ้าแฝกมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ และแก้ไข้ได้ ส่วนรากสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันที่มีประโยชน์และคุณค่าทางการค้าได้ อาทิเช่น ฝรั่งเศสผลิตน้ำหอมจากรากหญ้าแฝก ชื่อ “Vetiver”

 
ความเห็นที่ 3042 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 11:55 น.  โดย : ใบบัว  

ทฤษฎี "แกล้งดิน" อันเนื่องมาจากพระราชดำริ



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่า หลังจากมีการชักน้ำออกจากพื้นที่พรุเพื่อจะได้มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรและเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ปรากฎว่าดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุดและให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วยการแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชเน่าเปื่อย อยู่ข้างบนและมีระดับความลึก 1-2 เมตรเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้นเมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ "แกล้งดิน" เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น "แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด" จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้

 
ความเห็นที่ 3043 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 11:56 น.  โดย : ใบบัว  

ทฤษฎี "แกล้งดิน" อันเนื่องมาจากพระราชดำริ



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่า หลังจากมีการชักน้ำออกจากพื้นที่พรุเพื่อจะได้มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรและเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ปรากฎว่าดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุดและให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วยการแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชเน่าเปื่อย อยู่ข้างบนและมีระดับความลึก 1-2 เมตรเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้นเมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ "แกล้งดิน" เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น "แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด" จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้

 
ความเห็นที่ 3044 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 11:59 น.  โดย : ใบบัว  

ทฤษฎีใหม่ : การบริหารจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรตามพระราชดำริ

ในทุกคราที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศนั้นได้ทรงถามเกษตรกรและทอดพระเนตรพบสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการปลูกข้าวและเกิดแรงดล พระราช หฤทัย อันเป็นแนวคิดขึ้นว่า 1. ข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มปริมาณเม็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น2. หากเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ได้แล้ว นำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน 3. การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและข้อจำกัด ของปริมาณที่ดิน เป็นอุปสรรคสำคัญ 4.หากแต่ละครัวเรือนมีสระน้ำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้วเมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับปริมาณในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แต่สิ้นค่าใช้จ่ายน้อย และเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงมากกว่าในเวลาต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริให้ทำการทดลอง"ทฤษฎีใหม่"เกี่ยวกับการจัดการที่ดิน และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขึ้นณวัดมงคลชัยพัฒนาตำบลห้วยบงอำเภอเมืองจังหวัดสระบุรีแนวทฤษฎีใหม่กำหนดขึ้นดังนี้ให้แบ่งพื้นที่ถือครอง ทางการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทย มีเนื้อที่ดินประมาณ 10-15 ไร่ต่อครอบครัว แบ่งออกเป็นสัดส่วน 30-30-30-10 คือ ส่วนแรก : ร้อยละ 30 เนื้อที่เฉลี่ย 3 ไร่ ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก โดย มีความลึกประมาณ 4 เมตร ซึ่งจะสามารถรับน้ำได้จุถึง 19,000 ลูกบาศก์เมตรโดยการรองรับจากน้ำฝน ราษฎรจะสามารถนำน้ำนี้ไปใช้ในการเกษตร ได้ตลอดปีและยังสามารถเลี้ยงปลาและปลูกพืชน้ำ พืชริมสระเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย ส่วนที่สอง : ร้อยละ 60 เนื้อที่เฉลี่ย ประมาณ 10 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชผลต่าง ๆ โดยแบ่งพื้นที่นี้ออกเป็น2ส่วนคือร้อยละ30ในส่วนที่หนึ่ง:ทำนาข้าวประมาณ5ไร่ร้อยละ30ในส่วนที่สองปลูกพืชไร่หรือพืชสวนตามแต่สภาพ ของ พื้นที่และภาวะตลาด ประมาณ 5 ไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวนโดยใช้หลักเกณฑ์ว่า ในพื้นที่ทำการเกษตร นี้ต้องมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ถ้าหากแบ่ง แต่ละแปลงเกษตรให้มีเนื้อที่ 5 ไร่ ทั้ง 2 แห่งแล้ว ความต้องการน้ำจะต้อง ใช้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร ที่จะต้องเป็นน้ำสำรองไว้ใช้ในยามฤดูแล้งส่วนที่สาม : ร้อยละ 10 เป็นพื้นที่ที่ เหลือ มีเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 2 ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง คันคูดินหรือคูคลอง ตลอดจนปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ ทฤษฎีใหม่จึงเป็นแนวพระราชดำริใหม่ที่บัดนี้ได้รับการพิสูจน์และยอมรับกันอย่าง กว้างขวางในหมู่เกษตรกรไทยแล้วว่า พระราชดำริของพระองค์เกิดขึ้นด้วย พระอัจฉริภาพ สูงส่งที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ความสมบูรณ์พูนสุขแห่งราชอาณาจักรไทย อุบัติขึ้นในครั้งนี้ด้วยพระปรีชาสามารถอันเฉียบแหลมของพระมหากษัตริย์ไทยผู้มิเคยทรงหยุดนิ่งที่จะระดมสรรพกำลังทั้งปวงเพื่อความผาสุข ของชาวไทย

 
ความเห็นที่ 3045 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 13:32 น.  โดย : KK.  

พระทรงเป็น นักปฏิบัติ สืบค้นหา

 
ความเห็นที่ 3046 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 13:48 น.  โดย : KK.  

ความเสียหายของชาติจะบานปลาย ถ้าคนไทยขาดความจงรักภักดี ต่อสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์

 
ความเห็นที่ 3047 โพสเมื่อ : 5 ก.ย. 55 : 15:02 น.  โดย : ส.อ.ธนพร  

ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยและพระสยามเทวาธิราช โปรดปกป้องอภิบาลในหลวง ให้ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์ ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน อยู่เป็นมิ่งขวัญชาวไทยไปยิ่งยืนนาน ขอให้ประเทศชาติสงบสุข เพื่อในหลวงของเรา

 
ความเห็นที่ 3048 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 10:09 น.  โดย : ร.๓๑ พัน.๓ รอ.  


บังคมบรมราชเจ้า จอมนรินทร์
เอกอัครบดินทร์ ดิลกหล้า
สมเด็จนวมินทร์ มหาราช
อวยสุขทุกทั่วหน้า มนัสปลื้มเปรมกมล
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ร.๓๑ พัน.๓ รอ.

 
ความเห็นที่ 3049 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 10:38 น.  โดย : พัน.รพศ.ศสพ.ร้อย๓  

สองระหัตถ์ปัดเป่าบรรเทาทุกข์ สองพระบาทดั้นบุกทุกแห่งหน สองพระเนตรแลไกลดุจสายชล หนึ่งพระทัยเปี่ยมล้นพระกรุณา ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

 
ความเห็นที่ 3050 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:11 น.  โดย : ร้อย.บก.ส.พัน.๓๕  

พ่อหลวง คือ พ่อเรา
พ่อหลวง คือผู้ให้
พ่อหลวง คือผู้พอเพียง
พ่อหลวง คือพ่อที่รัก
พ่อหลวง คือผู้ชี้ทาง
พ่อหลวง คือยิ่งใหญ่
พ่อหลวง คือพ่อพระในปวงชน
พ่อหลวง คือ พ่อที่รักของเราทุกคน

 
ความเห็นที่ 3051 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:13 น.  โดย : ร้อย.บก.ส.พัน.๓๕  

ทรงเป็นพระมิ่งขวัญแห่งทวยราษฎร์
ข้าพระบาทกลั่นอักษรกลอนถวาย
เทิดพระเกียรติสักการะด้วยดวงใจ
ขอทรงให้"สุขสำราญ"ชั่วกาลเทอญ

 
ความเห็นที่ 3052 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:14 น.  โดย : กวค.กพ.ทบ.  

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิทรงย่อท้อเข้าไปช่วยเหลือราษฎรไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลสักเพียงใดไม่ว่าเชื้อชาติใด ศาสนาใด

 
ความเห็นที่ 3053 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:16 น.  โดย : กวค.กพ.ทบ.  

เราชาวไทยควรยึดแบบอย่างเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลพระบาทนำมาปฏิบัติให้เกิดผลแก่ตนเอง สังคมและประเทศชาติ

 
ความเห็นที่ 3054 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:17 น.  โดย : ปตอ.พัน.๗  

พระราชกรณียกิจมากมาย ที่ประจักษแก่สายตาคนไทย พระองค์ทรงมุ่งมั่นเพื่อคุณประโยชน์ของประเทศชาติ

 
ความเห็นที่ 3055 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:18 น.  โดย : ปตอ.พัน.๗  

สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นถาบันหนึ่งที่ช่วยให้เราได้มีแผ่นดินอยู่จนถึงลูกหลานเราถึงทุกวันนี้

 
ความเห็นที่ 3056 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:18 น.  โดย : กวค.กพ.ทบ.  

ด้วยพระปรีชาญาณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้คนทั้งหลายได้ประจักษ์ว่า แนวทางพระราชดำริในพระองค์ เรียบง่าย ปฏิบัติได้ผลเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน

 
ความเห็นที่ 3057 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:25 น.  โดย : ปตอ.พัน.๗  

พระองค์ทรงมีแนวพระราชดำริด้านการเกษตรเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรมากมาย

 
ความเห็นที่ 3058 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:26 น.  โดย : ปตอ.พัน.๗  

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ เป็นโครงการที่มีประโยชน์อย่างยิ่งของประเทศ

 
ความเห็นที่ 3059 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:27 น.  โดย : ปตอ.พัน.๗  

ขอให้คนไทยทุกคนมีความภาคภูมิใจ ในความเป็นพลเมืองของพระองค์

 
ความเห็นที่ 3060 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:27 น.  โดย : ปตอ.พัน.๗  

เรารักในหลวงเรารักประเทศไทยจงร่วมใจกันให้เป็นดินแดนที่น่า อยู่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

 
ความเห็นที่ 3061 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:35 น.  โดย : ปตอ.พัน.๗  

ในหลวงพระ องค์ทรงเป็นองค์ประมุขแผ่นดินทองของพระบวรพุทธศาสนาและทุกศาสนาในประเทศ

 
ความเห็นที่ 3062 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:37 น.  โดย : ปตอ.พัน.๗  

ในหลวงพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสให้คนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียวสมัครสมานสามัคคีมีความ

 
ความเห็นที่ 3063 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:38 น.  โดย : ปตอ.พัน.๗  

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิทรงย่อท้อเข้าไปช่วยเหลือราษฎรไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลสักเพียงใดไม่ว่าเชื้อชาติใด ศาสนาใด

 
ความเห็นที่ 3064 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:45 น.  โดย : ร. ๓๑ พัน ๒ รอ.  

ขอพระองค์ทรงพระเจริญพลานามัยสมบูรณ์ มีพระวรกายแข็งแรง ปราศจากโรคร้าย และทรงเป็นมิ่งขวัญ ร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงประชาชนชาวไทย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

 
ความเห็นที่ 3065 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 11:50 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

มิ่งมหา มงคล ชนทั้งชาติ
ขอประกาศ เทิดไท้องค์ พระทรงศรี
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทุกแหล่งหล้า ทั่วธานี
ขอบารมี คุ้มองค์ พระทรงธรรม์

 
ความเห็นที่ 3066 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 12:19 น.  โดย : พัน.รพศ.ศสพ.ร้อย๓  

สองระหัตถ์ปัดเป่าบรรเทาทุกข์ สองพระบาทดั้นบุกทุกแห่งหน สองพระเนตรแลไกลดุจสายชล หนึ่งพระทัยเปี่ยมล้นพระกรุณา ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

 
ความเห็นที่ 3067 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:13 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

พ่อไหล อาบพักตร์ ประจักษ์แจ้ง
แผ่นดินแล้ง น้ำท่วมนอง พ่อมองเห็น
ลูกขัดแย้ง แย่งอำนาจ ชาติลำเค็ญ
พ่อยังเป็น ผู้ชี้แนว ให้แคล้วภัย
อยากให้พ่อ แย้มสรวล ทบทวนคิด
เศรษฐกิจ พอเพียง เอาเยี่ยงได้
ทั้งประหยัด ได้ประโยชน์ จดใส่ใจ
ธรรมชาติ รักษาไว้ ไทยอยู่ยืน

 
ความเห็นที่ 3068 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:14 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

วาระเฉลิมพระชนมพรรษา
ตั้งสัจจาอุทิศกายถวายกุศล
อนุรักษ์ดินน้ำ ตามภูวดล
ดำรงตน ตามเศรษฐกิจ แบบพอเพียง

 
ความเห็นที่ 3069 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:15 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

ในหลวงพระองค์ท่านทรงครองดวงใจของชาวไทยทั้งชาติ เพราะตลอดระยะเวลาในการครองราชย์พระองค์ท่านไม่เคยทอดทิ้งประชาชนของพระองค์ท่านเลย ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ

 
ความเห็นที่ 3070 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:17 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

พ่อหลวงทรงเป็นดังดวงใจของพสกนิกรชาวไทยทั้งชาติ

 
ความเห็นที่ 3071 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:18 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นสถาบันหลักในผืนธงชาติไทยที่เราเคารพ

 
ความเห็นที่ 3072 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:19 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

รักชาติ รักประชาธิปไตย รักพระมหากษัตริย์

 
ความเห็นที่ 3073 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:20 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

ทุกคนร่วมใจสร้างประเทศไทยสงบสุขเพื่อพ่อหลวง





 
ความเห็นที่ 3074 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:22 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียกิจ เพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

 
ความเห็นที่ 3075 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:22 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

เราคนไทยต้องสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของทั้ง ๒ พระองค์
ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชนทุกหมู่เหล่าได้
มีความผาสุกตลอดมา

 
ความเห็นที่ 3076 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:23 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

พระบารมี มากล้น เหลือคณา
ปกเกศเกล้า ชาวประชา สุขสันต์
ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ นิรันดร์
เป็นมิ่งขวัญ อันยิ่งใหญ่ ไทยทั้งมวล.

 
ความเห็นที่ 3077 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:23 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

พระองค์คือพ่อของแผ่นดิน เราควรเคารพเทิดทูนในสถาบันพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์
อย่างหาที่เปรียบมิได้ อีกทั้งพระองค์ยังคงสั่งสอน ให้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์
พวกเราคนไทยจงร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์สืบไป

 
ความเห็นที่ 3078 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:24 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยและพระสยามเทวาธิราช โปรดปกป้องอภิบาลในหลวงให้ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์
ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน

 
ความเห็นที่ 3079 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:24 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

พระองค์ได้ทรงพระอุตสาหะวิระยะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฏร์ทั่วทุกภูมิภาคมิได้ทรงว่างเว้น


 
ความเห็นที่ 3080 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:25 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง พระหฤทัยเบิกบานทรงสุขเกษมสำราญ เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตราบชั่วกาลนิรันดร

 
ความเห็นที่ 3081 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:25 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

ขอพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของพสกนิกรชาวไทยตลอดกาล ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

 
ความเห็นที่ 3082 โพสเมื่อ : 6 ก.ย. 55 : 13:25 น.  โดย : กตพ.กพ.ทบ.  

พระองค์ทรงทุ่มพระวรกายตรากตรำและมุ่งมั่นเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของพสกนิกรชาวไทย ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญตลอดไป

 
ความเห็นที่ 3083 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 09:13 น.  โดย : ร. ๓๑ พัน ๒ รอ.  

ขอให้พระองค์มีพระชนมพรรษายิ่งยืนยานและเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดชั่วกาลนาน
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยโปรดดลบันดาลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระเกษมสำราญปราศจากโรคภัย มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน

 
ความเห็นที่ 3084 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 09:18 น.  โดย : ฝ่ายสรรพกำลัง มทบ.42  

ภูมิพลล้นฟ้ามหาสมุทร ทรงบริสุทธิ์เกริกก้องของสยาม ภูมิพลเกรียงไกรทั่วโลกนาม ชาวสยามทั่วฟ้าเทิดทูนองค์

 
ความเห็นที่ 3085 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 10:24 น.  โดย : กวค.กพ.ทบ.  

ศรีสง่าของแผ่นดินถิ่นธรรมมะ ที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงส่องธรรมนำหน้าวันฟ้ามัว ไทยถ้วนทั่วอบอุ่นจิตมีทิศธรรม

ทรงเลิศล้นตลอดพระชนมพรรษา เหนือฟ้ายังมีฟ้า สง่าล้ำ

ลึกยิ่งกว่ามหาสมุทร สุดสรรคำ เย็นกว่าน้ำ กว้างกว่าผืนพิภพใด

เป็นกษัตริย์ยอดกษัตริย์ ปัดเป่าทุกข์ เพียงเพื่อสุขมหาชน ภาระใหญ่

ขอเทิดทูนพระบารมีตลอดไป น้อมดวงใจถวายพระองค์ ทรงพระเจริญ

 
ความเห็นที่ 3086 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 10:25 น.  โดย : กวค.กพ.ทบ.  

พ่อหลวง คือ พ่อเรา
พ่อหลวง คือผู้ให้
พ่อหลวง คือผู้พอเพียง
พ่อหลวง คือพ่อที่รัก
พ่อหลวง คือผู้ชี้ทาง
พ่อหลวง คือยิ่งใหญ่
พ่อหลวง คือพ่อพระในปวงชน
พ่อหลวง คือ พ่อที่รักของเราทุกคน

 
ความเห็นที่ 3087 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 10:27 น.  โดย : กวค.กพ.ทบ.  

ทั่วคามเขตไพร่ฟ้า............................ยินดี
เอมสุขเพราะพระบารมี...................นเรศไท้
เกษมสวัสดิ์ราชธานี.........................ภูมิถิ่น ไทย
ธ ดั่งร่มไทรไม้ร่มฟ้า.........................ประชานิกรฯ

 
ความเห็นที่ 3088 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 10:30 น.  โดย : กวค.กพ.ทบ.  

พ่อไหล อาบพักตร์ ประจักษ์แจ้ง
แผ่นดินแล้ง น้ำท่วมนอง พ่อมองเห็น
ลูกขัดแย้ง แย่งอำนาจ ชาติลำเค็ญ
พ่อยังเป็น ผู้ชี้แนว ให้แคล้วภัย
อยากให้พ่อ แย้มสรวล ทบทวนคิด
เศรษฐกิจ พอเพียง เอาเยี่ยงได้
ทั้งประหยัด ได้ประโยชน์ จดใส่ใจ
ธรรมชาติ รักษาไว้ ไทยอยู่ยืน


 
ความเห็นที่ 3089 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 10:30 น.  โดย : พัน.รพศ.ศสพ.ร้อย๓  

ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยและพระสยามเทวาธิราช โปรดปกป้องอภิบาลในหลวง ทรงหายจากพระประชวรโดยเร็ว มีพลานามัยสมบูรณ์ ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

 
ความเห็นที่ 3090 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 10:33 น.  โดย : ปตอ.พัน.2  

ขอให้พระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้แก่คนไทยยิ่งยืนนาน

 
ความเห็นที่ 3091 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 11:23 น.  โดย : ส.อ.ธนพร  

ทรงเลิศปราชญ์ ศาสตร์ศิลป์ ปิ่นสยาม
ทรงงดงาม น้ำพระทัย ใฝ่กุศล
ทรงสมาน สันติสุข ทุกผองชน
ทรงคิดค้น ทฤษฏีใหม่ ต้านภัยพาล

 
ความเห็นที่ 3092 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 11:33 น.  โดย : พัน.รพศ.ศสพ.ร้อย๓  

ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยและพระสยามเทวาธิราช โปรดปกป้องอภิบาลในหลวง ทรงหายจากพระประชวรโดยเร็ว มีพลานามัยสมบูรณ์ ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

 
ความเห็นที่ 3093 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 11:35 น.  โดย : ใบบัว  

“ ...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้... ”

จากพระราชดำรัสนี้ สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระองค์ท่านได้ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆจำนวนมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อตัวรวมกันจนเกิดเป็นฝนได้ทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาว ทั้งๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน และด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และเกษตรกรรม เนื่องจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจากความคลาดเคลื่อนและความผันแปรของฤดูกาลตามธรรมชาติ พระองค์ท่านก็ทรงคิดคำนึงว่าน่าจะมีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้เมฆรวมตัวกันจนเกิดฝนได้

 
ความเห็นที่ 3094 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 11:39 น.  โดย : ใบบัว  

แม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายสำคัญของชาวจังหวัดลพบุรีและสระบุรีไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรมและการประมง แต่ในเดือนสิงหาคม – เดือนตุลาคม ของทุกปี จะเกิดน้ำท่วมในจังหวัดลพบุรีและรวมถึงจังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับช่วงเดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคม ก็จะเกิดภาวะแห้งแล้งขาดแคลนน้ำใช้เพื่ออุปโภค บริโภค และเกษตรกรรมด้วยความห่วงใยในพสกนิกร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหาทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยให้ “ ความโหดร้าย ” ของแม่น้ำป่าสักกลับกลายเป็นความสงบเสงี่ยมที่น่านิยม เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระองค์ท่านจึงได้มีพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมของโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแห่งแม่น้ำป่าสัก เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและบรรเทาอุทกภัยในเขตกลุ่มน้ำป่าสัก

 
ความเห็นที่ 3095 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 11:40 น.  โดย : ใบบัว  

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พระองค์ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ปัญหาด้านน้ำท่วมนี้ โดยวิธีการที่ตรัสว่า “ แก้มลิง ” ซึ่งได้พระราชทานอรรถาธิบายว่า
“ ...ลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยว แล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้ม ลิงจะเอากล้วยเข้าไปไว้ในกระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง... ”
ซึ่งหมายความว่าเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองเพื่อนำน้ำให้มารวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำ ก็เปรียบเหมือนแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเล เมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง
ลักษณะของงานเป็นการระบายน้ำออกจากพี้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเลเมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลองก็นำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้

หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) และสูบน้ำออกเพื่อให้น้ำในคลองพักมีระดับต่ำที่สุดซึ่งจะทำให้น้ำจากคลองตอนบนไหลลงสู่คลองพักน้ำได้ตลอดเวลา แต่เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในคลองก็จะปิดประตูระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับ

 
ความเห็นที่ 3096 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 11:41 น.  โดย : ใบบัว  

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงการพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ศึกษา “ หญ้าแฝก ” และนำมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ในปัจจุบันได้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 30 หน่วยงาน ร่วมดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหญ้าแฝก

จากการศึกษาวิจัยหญ้าแฝกมีความก้าวหน้าเป็นอย่างดี ทำให้ประเทศไทยได้รับเกียรติจัดสัมมนาหญ้าแฝกระดับนานาชาติ (International Conference on Vetiver) เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2539 เพื่อให้นักวิชาการมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝก และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี ต่อมาอีก 4 ปี ประเทศไทยได้รับเกียรติจัดสัมมนา

นานาชาติ ในหัวข้อ “ หญ้าแฝกกับสิ่งแวดล้อม ” (Vetiver and The Environment) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18-19 มกราคม 2543 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ 72 พรรษา สำหรับการประชุมครั้งที่ 3 จะมีขึ้นที่เมืองกวางเจา มลรัฐกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 18-22 ตุลาคม พ.ศ. 2547

 
ความเห็นที่ 3097 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 11:42 น.  โดย : ใบบัว  

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ตามระดับขึ้นลงของผิวน้ำในแหล่งน้ำเสีย

อุปกรณ์ในเครื่องกังหันน้ำชัยพัฒนา
• โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม
• ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง ที่ซองมีรูพรุนให้น้ำกระจายเป็นฝอยได้
้เริ่มต้นด้วยซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ทำให้ซองน้ำวิดตักน้ำ ด้วยความเร็วสามารถยกน้ำสาดขึ้นไปกระจ่ายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำ ทำให้เกิดการอัด

อากาศภายในซองน้ำใต้ผิวน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้ดีมากขึ้น

 
ความเห็นที่ 3098 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 11:45 น.  โดย : ใบบัว  

โครงการ '' แก้มลิง '

ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น (Flood Management)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานแนวพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ไว้ 5 แนวทาง คือ ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำ โดยปรับปรุงแนวถนนเดิมประการที่สอง จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริ เพื่อกันการขยายตัวของเมือง และเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำเมื่อมีน้ำหลาก ประการที่สาม ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ ประการที่สี่ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ ประการที่ห้า ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง

วิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภูมิภาคต่าง ๆ คือ

1. การก่อสร้างคันกันน้ำ โดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำขนานไปตามลำน้ำเพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ด้านใน
2. การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมล้นเข้ามาให้ออกไป
3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวก หรือช่วยให้กระแสน้ำไหลเร็วยิ่งขึ้น

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ "แก้มลิง"

ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล
2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลอง ดังกล่าว โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว

(One Way Flow) หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริคือ
1. การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพัก และวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
2. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
3. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง

โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำ โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ซึ่งใช้หลักการในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ

1. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"
2. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
3. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"

โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภัยที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."

 
ความเห็นที่ 3099 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 11:47 น.  โดย : ใบบัว  

โครงการปลูกหญ้าแฝก

"...ทุกคนควรจะได้สนใจสังเกต ศึกษาเรื่องราว บุคคลและสิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อมและเกี่ยวข้องกับตัวเองให้มากอย่าละเลยหรือมองข้ามแม้แต่สิ่งเล็กน้อยเช่น ต้นหญ้า ซึ่งถ้าศึกษาพิจารณาให้ดีก็จะก่อให้เกิดปัญญาได้ หญ้านั้นมีทั้งหญ้าที่เป็นวัชพืชซึ่งเป็นโทษ และหญ้าที่มีคุณอย่าง "หญ้าแฝก"ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ เพราะมีรากที่หยั่งลึกแผ่กระจายลงไปตรง ๆ ทำให้อุ้มน้ำและยึดเหนี่ยวดินได้มั่นคงและมีลำต้นชิดติดกันแน่นหนา ทำให้ดักตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี..."

พระบรมราโชวาท ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐

ความเป็นมา

การชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนี่งของประเทศ มีผลต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหา จึงพระราชทานพระราชดำริให้มีการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ

เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขี้น เนื่องจากหญ้าแฝกเป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย มีรากที่ยาว แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผง และง่ายต่อการรักษา เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเป็นครั้งแรกให้หน่วยงานต่าง ๆ ทำการศึกษา ทดลอง และดำเนินการปลูกหญ้าแฝกเพื่อเป็นการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและเพื่อประโยชน์อื่น ๆ หน่วยงานทั้งหลายจึงได้รับสนองพระราชดำริตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาโดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เป็นผู้ประสานงาน

พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝกมีใจความสรุปได้ว่า

๑. หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมา
ศึกษาทด ลองปลูก ให้ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง

๒. การดำเนินการทดลองการปลูกหญ้าแฝก ให้พิจารณาลักษณะของภูมิประเทศ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของพื้นที่ดังนี้
ก. การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
และช่วยเก็บความชื้นในดินไว้ด้วย
ข. การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ราบ ให้ดำเนินการในลักษณะดังนี้
- ปลูกโดยรอบแปลง
- ปลูกลงในแปลง แปลงละ ๑ หรือ ๒ แนว
- สำหรับแปลงพืชไร่ ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่
ค. การปลูกหญ้าแฝกรอบสระน้ำ เพื่อป้องกันอ่างเก็บน้ำมิให้ตื้นเขินอันเนื่องมาจากตะกอนจากการพังทลายของดิน ตลอดจนช่วยรักษาดินเหนือ
อ่างและช่วยให้ป่าไม้ในบริเวณพื้นที่รับน้ำทวีความสมบูรณ์ขี้นอย่างรวดเร็ว
ง. การปลูกหญ้าแฝกเหนือบริเวณแหล่งน้ำ ปลูกแฝกเป็นแนวป้องกันตะกอนดินและกรองของเสียต่าง ๆ ที่ไหลลงในแหล่งน้ำทั้งนี้ให้บันทึกภาพ
ก่อนดำเนินการและหลังการดำเนินการไว้เป็นหลักฐาน

๓. ผลของการศึกษาทดลอง ควรเก็บข้อมูลทั้งทางด้านการเจริญเติบโตของลำต้นและราก ความสามารถในการอนุรักษ์ความสมบูรณ์ของดินและการเก็บความชื้นในดินและเรื่องพันธุ์หญ้าแฝกต่าง ๆ

ด้วยกรมทางหลวงเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ รวมไปถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการชะล้างพังทลายของดินเชิงลาดถนน ได้ร่วมในโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยได้กำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานด้านบำรุงทางและก่อสร้างทาง โดยเฉพาะทางหลวงที่ตัดใหม่ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินลาดคันทางและลาดเหนือคันทางในสายทางต่าง ๆ พร้อมทั้งส่งเสริมแผยแพร่ข้อมูลเทคนิควิชาการเกี่ยวกับหญ้าแฝกแก่หน่วยงานในส่วนภูมิภาค และจัดทำวิดีทัศน์โครงการปลูกหญ้าแฝกเกี่ยวกับการประยุกต์ เทคนิควิธีการปลูกหญ้าแฝกในงานทาง

พื้นที่เป้าหมายใการดำเนินการปลูกหญ้าแฝกของกรมทางหลวงคือ เชิงลาดดินตัดเหนือคันทาง (Back Slope) เชิงลาดดินถมคันทาง (Side Slope) ที่สูงและมีแนวโน้มที่จะเกิดการชะล้างพังทลายของดิน สำหรับสายทางในพื้นที่ ภูเขา ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยดินทรายที่สลายตัวมาจากหินแกรนิตและหินทราย เป็นพื้นที่เป้าหมายเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและการอนุรักษ์ดิน

การปลูกหญ้าแฝกบริเวณเชิงลาดทางมีอยู่ ๒ ลักษณะ ขึ้นอยู่กับสภาพความรุนแรงหรือแนวโน้มของการจะเกิดการชะล้างพังทลายของเชิงลาดทางคือ

๑. การปลูกในพื้นที่เชิงลาดที่มีแนวโน้มของการเกิดการชะล้างพังทลายของดินต่ำ การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เชิงลาดนี้เป็นรูปแบบการปลูกโดยทั่วไปมีลักษณะการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขวางแนวลาดเท โดยมีระยะห่างระหว่างกอกล้าแฝกในแถวอยู่ในช่วง ๑๐ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถวที่ปลูกตามแนวลาดเท ประมาณ ๑.๐๐ เมตร

๒. การปลูกในพื้นที่เชิงลาดที่ได้เกิดการชะล้างพังทลายหรือมีแนวโน้มของการเกิดการชะล้างพังทลายของดินสูง การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลักษณะนี้เพื่อลดหรือป้องกันไม่ให้การพังทลายของดินเกิดลุกลามขยายตัวรุนแรงขึ้น หรือเป็นการปลูกในงานก่อสร้างแก้ไขการเคลื่อนตัวของดิน ลักษณะการปลูกจะลดระยะห่างระหว่างกอกล้าแฝกในแถวเป็น ๕ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถวที่ปลูกตามแนวลาดเทประมาณ ๕๐ เซนติเมตร

จากการดำเนินการโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกของกรมทางหลวง สามารถสรุปผลการดำเนินการได้ดังนี้

๑. การปลูกหญ้าแฝกบริเวณพื้นที่เชิงลาดถนนสามารถป้องกันหรือลดการชะล้างพังทลายของดินได้ และเป็นวิธีการที่ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ราคาถูก ให้
ผลทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี
๒. การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็น "Long Term Stabilized Slope" ในสภาวะที่เหมาะสมหลังการปลูกเป็นเวลา
ประมาณ ๑ ปี หรือ ๑ ฤดูฝน หญ้าแฝกจึงจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินได้ เนื่องจากรากจะเจริญเติบโตยาวประมาณ
๑ เมตร และกอหญ้าแฝกในแถวจะเจริญเติบโตชิดติดกัน
๓. ช่วงระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกหญ้าแฝกเป็นช่วงตันฤดูฝนหรือช่วงระยะเวลาในฤดูฝน
๔. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การปลูกหญ้าแฝกประสบผลสำเร็จจ ได้ผลดีมีอัตราการรอดตายสูง คือ ช่วงระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสม การปลูกหญ้า
แฝกในพื้นที่ภาคใต้ได้ผลดี เนื่องจากมีฤดูฝนยาวนานถึง ๗ เดือน
๕. การปลูกหญ้าแฝกในบริเวณลาดดินถมคันทาง (Side Slope) จะได้ผลดี หญ้าแฝกมีการเจริญเติบโตดีกว่าการปลูกบริเวณลาดดินตัดเหนือคันทาง
(Back Slope) เนื่องจากสภาพความสมบูรณ์และลักษณะความแน่นของดิน
๖.หลังการปลูกหญ้าแฝกมีความจำเป็นที่ต้องดูแลรักษา กำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ย เป็นเวลา ๑ - ๒ ปี
๗. การปลูกหญ้าแฝกในบริเวณที่มีแนวโน้มที่จะเกิดการชะล้าง พังทลายของดินได้สูงหรือรุนแรงหรือบริเวณที่ได้เกิดการเคลื่อนตัวของดินแล้วให้ลด
ระยะห่างของการปลูกลงโดยมีระยะห่างระหว่างกอแฝก ๕ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถว ๕๐ เซนติเมตร
๘. กล้าหญ้าแฝกที่ปลูกควรเป็นกล้าแฝกที่ปลูกชำในถุงพลาสติกที่อภิบาลไว้ก่อนนำไปปลูกประมาณ ๔๕ - ๖๐วัน
๙. การปลูกหญ้าแฝกในบางพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ภาคเหนือหญ้าแฝกไม่เจริญเติบโตหรือเจริญเติบโตไม่ดี เนื่องจากหญ้าในพื้นที่หรือวัชพืช
เจริญเติบโตงอกงามและแพร่พันธุ์ได้เร็วกว่า

กรมทางหลวงได้นำเทคนิควิธีการหญ้าแฝกมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินเชิงลาดถนนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน และได้มีการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้เทคนิคการปลูกหญ้าแฝกในงานทางแก่เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงในส่วนภูมิภาค เพื่อเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงได้มีความรู้เข้าใจถึงประโยชน์ของหญ้าแฝกในการป้องงกันการชะล้างพังทลายของดิน เป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นและประหยัดงบปประมาณด้านบำรุงรักษา โดยได้มีการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ปลูกในสายทางต่าง ๆ ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ในสายทางพื้นที่ภูเขาภาคเหนือ-ภาคใต้ ในลักษณะที่เป็นงานส่วนหนึ่งซี่งสามารถกระทำได้เป็นปกติ ที่ดำเนินการได้เอง เมื่อเกิดปัญหาในงานบำรุงปกติ งานก่อสร้างแก้ไขการเคลื่อนตัวของเชิงลาด (Slide) ตลอดจนแขวงการทางบางแห่งได้มีการปลูกขยายพันธุ์กล้าหญ้าแฝกสำรองไว้ใช้เอง

กรมทางหลวงได้ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่สายทางงานก่อสร้างทางและงานบำรุงทาง ในแต่ละปีประมาณ ๔ ล้าน กล้า เพื่อเป็นการ "ปลูกหญ้าแฝก ปลูกแผ่นดิน" ตามแนวพระราชดำริ




การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบวิธีหญ้าแฝก (VETIVER SYSTEM)
ในงานทาง เพื่อความยั่งยืน และลดการบำรุงรักษา


กรมทางหลวงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการนำเทคนิควิธีการปลูกหญ้าแฝกมาใช้

ในงานทาง เพื่อลดหรือป้องกันผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันแก้ไขความเสียหายเชิงลาดทางจากการชะล้างพังทลายของดินในสายทางพื้นที่ภูเขา ตั้งแต่ปี 2536 เนื่องจากหญ้าแฝกมีระบบรากยาว(2.5 – 3 ม.)แผ่กระจายหยั่งลึกสานกันหนาแน่นยึดเม็ดดินไว้ สามารถป้องกันการชะล้างพังทลายและการวิบัติเคลื่อนตัวระดับตื้นของดินเชิงลาดได้ ในแต่ละปีกรมทางหลวงดำเนินการปลูกหญ้าแฝกประมาณ 2.5 – 4 ล้านกล้า และมีโครงการ/กิจกรรม งานด้านหญ้าแฝกที่ดำเนินงานในรูปคณะกรรมการและคณะทำงานร่วมกับส่วนราชการอื่นๆอยู่ 3 คณะคือ

1) คณะกรรมการโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เป็นแกนกลางในการประสานงานดำเนินการมี 35 หน่วยงานร่วมเป็นคณะกรรมการฯ ท่านอธิบดีกรมทางหลวงร่วมเป็นคณะกรรมการฯ ดำเนินการตั้งแต่ปี 2536 – ปัจจุบัน ตามแผนแม่บทการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกฉบับที่ 1 – 3 (ฉบับที่3 ปี พ.ศ.2546 – 2549) ภายในแผนปฏิบัติการโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริของกรมทางหลวง ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2546 คือแผนงานการส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ สายทางพื้นที่ภูเขาที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกประมาณปีละ 2.5 – 3.5 ล้านกล้าประกอบด้วย
- โครงการปลูกหญ้าแฝกงานด้านบำรุงทาง กิจกรรมการปลูกหญ้าแฝกสำนักทางหลวง ประกอบด้วยสำนักทางหลวงที่ 1,2,4,6,9,13,14 และ 15
- โครงการปลูกหญ้าแฝกงานก่อสร้างสายทาง กิจกรรมการปลูกหญ้าแฝก โครงการก่อสร้างศูนย์สร้างทาง ประกอบด้วยศูนย์สร้างทางสงขลา, ขอนแก่น , ลำปางและตาก

2) คณะทำงานปลูกหญ้าแฝกมูลนิธิโครงการหลวง ดำเนินการตั้งแต่ ก.ย. 2546 – ปัจจุบัน ท่านอธิบดีกรมทางหลวงร่วมเป็น คณะทำงาน ได้รับเงินสนับสนุนการปลูกหญ้าแฝกและศึกษา ในทางหลวงหมายเลข 3272 บ.ไร่ – ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ ปี 2547 – 2549 ประมาณ 3 ล้านบาทและทางหลวงหมายเลข 1265 ตอน อ.ปาย – วัดจันทร์ ศูนย์สร้างทางลำปาง ประมาณ 338,400 บาท ปี 2547 – 2548 ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกประมาณ 6 แสนกล้า

3) โครงการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติฯ ประจำปี 2549 – 2550 จัดตั้งเมื่อ 9 พฤษภาคม 2548 ท่านปลัดกระทรวง คมนาคมหรือผู้แทนเป็นกรรมการฯ กรมพัฒนาที่ดินเป็นแกนกลางในการประสานงานดำเนินการและให้การสนับสนุนพันธุ์กล้าหญ้าแฝก กระทรวงคมนาคม มอบหมายให้กรมทางหลวงร่วมดำเนินการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติฯ โดยมีแผนงานการปลูกหญ้าแฝกโดยสำนักทางหลวงและศูนย์สร้างทางในปีต่างๆดังนี้
- ปี 2549 ประมาณ 2,800,000 กล้า
- ปี 2550 ประมาณ 4,500,000 กล้า
โครงการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบวิธีหญ้าแฝกในงานทางเพื่อความยั่งยืนและลดการบำรุงรักษา

การปลูกหญ้าแฝกในงานทางมีความแตกต่างจากการปลูกในพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งในความลาดชันของพื้นที่ และปริมาณแร่

ธาตุอาหารที่จำเป็นแก่การเจริญเติบโตของพืช ยิ่งกว่านั้นในบางพื้นที่ หญ้าแฝกไม่เจริญเติบโตหรือตายไม่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ปลูกหลังการปลูก 1-2 ปี โดยจะถูกวัชพืชที่เป็นหญ้าท้องถิ่นซึ่งเจริญเติบโตได้ดีกว่าปกคลุม ทำให้มีความจำเป็นต้องทำการดูแลรักษากำจัดวัชพืช โครงการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบวิธีหญ้าแฝกนี้ดำเนินการในทางหลวงหมายเลข 3272 ตอนบ้านไร่ – ต่อเขตควบคุมองค์การบริหารส่วนตำบลปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี (รูปที่ 1) กำหนดพื้นที่ปลูก แปลงทดลอง 7 แห่ง รวม 21 แปลงทดลอง ระยะเวลาดำเนินการโครงการฯ ปี 2547 – 2549 โดยได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิโครงการหลวง 3 ล้านบาท ทำการศึกษาวิจัย 3 ลักษณะ คือ

- การศึกษาเปรียบเทียบ วิธีการบำรุงรักษาหลังการปลูก เพื่อหาวิธีการและค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษา
- การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปิดกั้นวัชพืชโดย พืชถั่ว Arachis Pinto เพื่อปรับปรุงรูปแบบการปลูกหญ้าแฝกให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเกิดความ
ยั่งยืนคงอยู่ในพื้นที่ โดยการนำพืชที่เป็นประโยชน์และสามารถปลูกร่วมกับหญ้าแฝกได้ดีเช่น ถั่ว Pinto ซึ่งเป็นพืชที่มีลักษณะเจริญเติบโตเลื้อยแนบ
ติดดินสามารถปิดกั้นวัชพืช มาปลูกระหว่างแถวหญ้าแฝก อันจะเป็นผลให้ลดค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาหลังการปลูก(กำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย)
- การศึกษาเปรียบเทียบหารูปแบบการปลูกถั่ว Arachis Pinto ที่เหมาะสม เพื่อหาระยะห่างระหว่างกล้าและแถวของการปลูกถั่ว Pinto ที่มีประสิทธิภาพ
สูงสุด

ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล อัตราการเจริญเติบโต %การรอดตาย ค่าใช้จ่ายในการปลูก การบำรุงรักษา อัตราการปกคลุมพื้นที่โดย วัชพืชและการปกคลุมพื้นที่ปิดกั้นวัชพืชโดยถั่ว Pinto การปลูกหญ้าแฝกในงานทางให้ได้ผลดีมีความยั่งยืน

จากการศึกษาพบว่า มีความจำเป็นต้องทำการปรับปรุงดิน โดยการรองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยมูลไก่หนาประมาณ 2 ซม.(0.6 กก.) หรือใช้ปุ๋ยคอกประมาณ 2 กก.ผสมปุ๋ยเคมีสูตร 15:15:15 หรือ 16:16:16 ประมาณ 60 กรัมต่อความยาวแถวร่องปลูก 1 เมตร กล้าแฝกที่ปลูกควรเป็นกล้าที่เพาะชำในถุงเพาะชำที่มีอายุประมาณ 45 – 60 วัน ช่วงระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสมเป็นต้นฤดูฝนประมาณ เดือนพฤษภาคมและสำหรับภาคใต้ เดือนพฤศจิกายนสำหรับพื้นที่ฝั่งทะเลตะวันออกและมีนาคมสำหรับฝั่งทะเลอันดามัน รูปแบบการปลูกหญ้าแฝกปลูกระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร ระยะห่างระหว่างกอในแถว 10 ซม. กรณีปลูกในพื้นที่วิกฤต ลดระยะห่างระหว่างแถวลงเป็น 0.5 เมตร ต้องมีการบำรุงรักษาหลังการปลูก 1 – 2 ปี หญ้าแฝกสามารถแตกกอชิดติดกันภายในเวลาประมาณ 4 เดือน พืชถั่ว Pinto มีความเหมาะสมที่ปลูกร่วมกับหญ้าแฝก และมีประสิทธิภาพสามารถ ปิดกั้นวัชพืชได้โดยปกคลุมพื้นที่ประมาณ 25 – 30 % ภายในระยะเวลาประมาณ 4 เดือน และ 80 – 90 % ภายใน 1 ปี (รูปที่ 3) ทำให้ลดค่าใช้จ่ายความจำเป็นในการกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย รูปแบบการปลูกถั่ว Pinto ที่เหมาะสม คือ 10 X 10ซม. และ 25 X 25 ซม

ผลจากการศึกษาจะนำมาปรับปรุง กำหนดอัตราราคาค่างาน รูปแบบการปลูกและปรับปรุงจัดทำแบบมาตรฐานการปลูกหญ้าแฝกสำหรับงานทางขึ้นใหม่ จัดทำคู่มือการปลูกหญ้าแฝกสำหรับงานทาง อันจะเป็นประโยชน์สำหรับกรมทางหลวง และส่วนราชการวิศวกรรมงานทางอื่นๆ

.

รูปที่ 1 การปลูกหญ้าแฝกป้องกันการชะล้างพังทลายและเพิ่มเสถียรภาพเชิงลาดทาง
ทางหลวงหมายเลข 3272 ตอน บ.ไร่ – ปิล๊อก (อ.ทองผาภูมิ) กม. 15+325 – 15+510


รูปที่2 การนำพืชตระกูลถั่ว Pinto ปลูกระหว่างแถวหญ้าแฝก
เพื่อปิดกั้นวัชพืช ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา

 
ความเห็นที่ 3100 โพสเมื่อ : 7 ก.ย. 55 : 15:54 น.  โดย : กวค.กพ.ทบ.  

พระองค์เป็นบุคคลที่ทั้งโลกควรจดจำพระองค์ได้สร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้แก่ประชาชนของพระองค์

 

back  1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  [31]  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  190  191  192  193  194  195  196  197  198  199  200  201  202  203  204  205  206  207  208  209  210  211  212  213  214  215  216  217  218  219  220  221  222  223  224  225  226  227  228  229  230  231  232  233  234  235  236  237  238  239  240  241  242  243  244  245  246  247  248  249  250  251  252  253  254  255  256  257  258  259  260  261  262  263  264  265  266  267  268  269  270  271  272  273  274  275  276  277  278  279  280  281  282  283  284  285  286  287  288  289  290  291  292  293  294  295  296  297  298  299  300  301  302  303  304  305  306  307  308  309  310  311  312  313  314  315  316  317  318  319  320  321  322  323  324  325  326  327  328  329  330  331  332  333  334  335  336  337  338  339  340  341  342  343  344  345  346  347  348  349  350  351  352  353  354  355  356  357  358  359  360  361  362  363  364  365  366  367  368  369  370  371  372  373  374  375  376  377  378  379  380  381  382  383  384  385  386  387  388  389  390  391  392  393  394  395  396  397  398  399  400  401  402  403  404  405  406  407  408  409  410  411  412  413  414  415  416  417  418  419  420  421  422  423  424  425  426  427  428  429  430  431  432  433  434  435  436  437  438  439  440  441  442  443  444  445  446  447  448  449  450  451  452  453  454  455  456  457  458  459  460  461  462  463  464  465  466  467  468  469  470  471  472  473  474  475  476  477  478  479  480  481  482  483  484  485  486  487  488  489  490  491  492  493  494  495  496  497  498  499  500  501  502  503  504  505  506  507  508  509  510  511  512  513  514  515  516  517  518  519  520  521  522  523  524  525  526  527  528  529  530  531  532  533  534  535  536  537  538  539  540  541  542  543  544  545  546  547  548  549  550  551  552  553  554  555  556  557  558  559  560  561  562  563  564  565  566  567  568  569  570  571  572  573  574  575  576  577  578  579  580  581  582  583  584  585  586  587  588  589  590  591  592  593  594  595  596  597  598  599  600  601  602  603  604  605  606  607  608  609  610  611  612  613  614  615  616  617  618  619  620  621  622  623  624  625  626  627  628  629  630  631  632  633  634  635  636  637  638  639  640  641  642  643  644  645  646  647  648  649  650  651  652  653  654  655  656  657  658  659  660  661  662  663  664  665  666  667  668  669  670  671  672  673  674  675  676  677  678  679  680  681  682  683  684  685  686  687  688  689  690  691  692  693  694  695  696  697  698  699  700  701  702  703  704  705  706  707  708  709  710  711  712  713  714  715  716  717  718  719  720  721  722  723  724  725  726  727  728  729  730  731  732  733  734  735  736  737  738  739  740  741  742  743  744  745  746  747  748  749  750  751  752  753  754  755  756  757  758  759  760  761  762  763  764  765  766  767  768  769  770  771  772  773  774  775  776  777  778  779  780  781  782  783  784  785  786  787  788  789  790  791  792  793  794  795  796  797  798  799  800  801  802  803  804  805  806  807  808  809  810  811  812  813  814  815  816  817  818  819  820  821  822  823  824  825  826  827  828  829  830  831  832  833  834  835  836  837  838  839  840  841  842  843  844  845  846  847  848  849  850  851  852  853  854  855  856  857  858  859  860  861  862  863  864  865  866  867  868  869  870  871  872  873  874  875  876  877  878  879  880  881  882  883  884  885  886  887  888  889  890  891  892  893  894  895  896  897  898  899  900  901  902  903  904  905  906  907  908  909  910  911  912  913  914  915  916  917  918  919  920  921  922  923  924  925  926  927  928  929  930  931  932  933  934  935  936  937  938  939  940  941  942  943  944  945  946  947  948  949  950  951  952  953  954  955  956  957  958  959  960  961  962  963  964  965  966  967  968  969  970  971  972  973  974  975  976  977  978  979  980  981  982  983  984  985  986  987  988  989  990  991  992  993  994  995  996  997  998  999  1000  1001  1002  1003  1004  1005  1006  1007  1008  1009  1010  1011  1012  1013  1014  1015  1016  1017  1018  1019  1020  1021  1022  1023  1024  1025  1026  1027  1028  1029  1030  1031  1032  1033  1034  1035  1036  1037  1038  1039  1040  1041  1042  1043  1044  next  

แสดงความคิดเห็น
Detail :

Picture :
Name :


 
ท่องเที่ยว