สถานที่ท่องเที่ยว
หัวหิน เกาะเสม็ด เกาะช้าง บ้านพักพัทยา ปาย เขาค้อ ที่พักหัวหิน   

ลพบุรี

แนะนำที่พัก ป่าสักฮิลไซด์รีสอร์ท.....

ลพบุรี > ที่พักลพบุรี > ทัวร์ลพบุรี > แผนที่ลพบุรี > ร้านอาหารลพบุรี > ของฝากลพบุรี > การเดินทางลพบุรี


ประวัติและอาณาเขต
 
 

ลพบุรี เป็นเมืองสำคัญเก่าแก่เมืองหนึ่งตั้งแต่สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เคยอยู่ใต้อำนาจ มอญและขอมจนกระทั่งในตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ 19 คนไทยจึงเริ่มมีอำนาจขึ้นในดินแดนแถบนี้ ในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ลพบุรีมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง กล่าวคือพระเจ้าอู่ทองได้โปรดให้พระราเมศวร ราชโอรสองค์ใหญ่เสด็จมาครองเมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 1893 พระราเมศวรโปรดให้สร้างป้อม ขุดคู และสร้างกำแพงเมืองอย่างมั่นคง เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคตใน พ.ศ. 1912 พระราเมศวรต้องถวายราชบัลลังก์ให้แก่พระปิตุลาของพระองค์ ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์พระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 1 ส่วนพระราเมศวรครองเมืองลพบุรีสืบต่อไป จนถึง พ.ศ. 1931 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 สวรรคต พระราเมศวรจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สองbutterfly2.jpg (6335 bytes)

หลังจากนั้นมาเมืองลพบุรีได้ลดความสำคัญลงไป จนกระทั่งมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงครั้งใหญ่ สืบเนื่องมาจากการคุกคามของชนชาติฮอลันดา ที่ติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่า กรุงศรีอยุธยานั้นไม่สู้ปลอดภัยจากการปิดล้อมระดมยิงของข้าศึกหากเกิดสงคราม จึงได้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีที่สองขึ้น เพราะลพบุรีมีลักษณะทางยุทธศาสตร์เหมาะสม ในการสร้างลพบุรีขึ้นใหม่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงได้รับความช่วยเหลือ จากช่างชาวฝรั่งเศสและอิตาเลียน และได้สร้างพระราชวังและป้อมปราการเป็นแนวป้องกัน อย่างแข็งแรง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ประทับอยู่ที่ลพบุรีเป็นส่วนใหญ่
สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ฯ แล้ว ลพบุรีก็หมดความสำคัญลง สมเด็จพระเพทราชาได้ทรงย้ายหน่วยราชการทั้งหมดกลับกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลต่อๆ มา ก็ไม่ได้เสด็จมาประทับที่เมืองนี้อีก จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2406 โปรดฯ ให้บูรณะเมืองลพบุรี ซ่อมกำแพง ป้อม และ ประตูพระราชวังที่ชำรุดทรุดโทรม และสร้างพระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นใน พระราชวังเป็นที่ประทับ และพระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์" ลพบุรีจึงแปรสภาพเป็นเมืองสำคัญ อีกวาระหนึ่ง
chaba.jpg (5690 bytes)

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งได้สร้างเมืองลพบุรีใหม่อันเป็นเมืองทหารอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางรถไฟมีอาณาเขตกว้างขวาง ส่วนเมืองเก่านั้นอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟ เมืองลพบุรีจึงเป็นศูนย์กลางสำคัญ ทางยุทธศาสตร์เมืองหนึ่งในปัจจุบันนี้ลพบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 153 กม. มีเนื้อที่ทั้งหมด 6,199.753 ตรกม. 

-----------------------------------------------------------------

action.gif (910 bytes) การปกครอง

จังหวัดลพบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ คือ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอโคกสำโรง อำเภอบ้านหมี่ อำเภอชัยบาดาล อำเภอท่าวุ้ง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ อำเภอลำสนธิ และอำเภอหนองม่วง

-----------------------------------------------------------------

action.gif (910 bytes) อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และนครสวรรค์
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสระบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา และชัยภูมิ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง และนครสวรรค์

 

-----------------------------------------------------------------

action.gif (910 bytes) หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ (รหัสทางไกล 036)
ที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี 411004
เทศบาลเมืองลพบุรี 411047
โรงพยาบาล ถนนพหลโยธิน 411250,411267
โรงพยาบาลอานันทมหิดล ถนนลพบุรี-บ้านแพรก 486011 - 5
โรงพยาบาลเบญจรมย์ ถนนลพบุรี - บ้านแพรก 412160
สถานีรถไฟ ตำบลทะเลชุบศร 411022
สำนักงานจังหวัดลพบุรี ถนนนารายณ์มหาราช 411500,420310
สถานีขนส่งลพบุรี 411888
สถานีตำรวจอำเภอเมืองลพบุรี 411013,191

แผนผัง  ลพบุรี
::: ประวัติลพบุรี
::: ทัวร์ลพบุรี
::: ที่พักลพบุรี
 
::: เที่ยวลพบุรี:
::: อำเภอเมืองลพบุรี
:::
อำเภอบ้านหมี่
:::
อำเภอชัยบาดาล

:::
อำเภอโคกสำโรง
:::
อำเภอลำสนธิ
:::
อำเภอพัฒนานิคม
:::
อำเภอท่าวุ้ง
::: การเดินทางลพบุรี
  ::: แผนที่ ลพบุรี
::: เทศกาล ลพบุรี
::: ร้านอาหาร ลพบุรี
::: ของฝาก ลพบุรี

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 
 

หัวหิน  เกาะเสม็ด   เกาะช้าง  เกาะเต่า  พัทยา  ภูเรือ  เขาใหญ่  เขาค้อ  ดอยอินทนนท์  สวนผึ้ง  

หัวหิน

บริษัท ไทยทัวร์ อินโฟ จำกัด
Email: info@thai-tour.com All rights reserved by Thai-Tour.Com with TAT License 11/04452
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์ | โฆษณา

 
ท่องเที่ยว