Thai Tour
สถานที่ท่องเที่ยว
เกาะเสม็ด เกาะช้าง บ้านพักพัทยา ปาย เขาค้อ ที่พักหัวหิน   
: หารายละเอียด : หากระทู้
[1]  
ร.๑๑ พัน.๓ รอ. ขอโพสต์ข้อความเทิดทูนสถาบัน
โพสเมื่อ : 9 พ.ย. 58 : 06:40 น.  โดย : ฝวข. ร.๑๑ พัน.๓ รอ.  

 
ความเห็นที่ 1 โพสเมื่อ : 26 ก.ค. 59 : 09:22 น.  โดย : nutum  

บ้านเมืองของเรา มีพระเจ้าแผ่นดิน
ชาวไทยทั้งสิ้น เคารพบูชา
เพราะบ้านเมืองไทย อยู่ได้นานมา
ก็เป็นเพราะว่า ท่านช่วยป้องกัน
ไทยจึงร่มเย็น เป็นสุขทั่วไป

 
ความเห็นที่ 2 โพสเมื่อ : 27 ก.ค. 59 : 18:48 น.  โดย : nutum  


การอุทิศพระองค์เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของพสกนิกรทั้งมวลในประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ที่หว่านไถไร่นา ดูแลรักษาแหล่งน้ำและป่าของชาติ...พระองค์ทรงยึดมั่นในคติพจน์ว่า “พัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่ออนาคตอันมั่นคง”

 
ความเห็นที่ 3 โพสเมื่อ : 8 ส.ค. 59 : 20:31 น.  โดย : nutum  

“....ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ
แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือยแต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะ สมควรที่จะปฏิบัติ
อันนี้ก็ความหมายอีกอย่างของเศรษฐกิจ หรือระบบพอเพียง...พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ
พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

 
ความเห็นที่ 4 โพสเมื่อ : 11 ส.ค. 59 : 12:15 น.  โดย : nutum  

ในหลวงกับการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
        ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดีเอื้ออาทร เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนต้ว

 
ความเห็นที่ 5 โพสเมื่อ : 11 ส.ค. 59 : 12:17 น.  โดย : nutum  

ในหลวงกับการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
        ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดีเอื้ออาทร เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนต้ว

 
ความเห็นที่ 6 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:37 น.  โดย : สิริพร  

"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวพระราชดำริที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาขั้นพื้นฐานที่ตั้งอยู่บนทางสายกลาง และความไม่ประมาทซึ่งคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนการใช้ความรู้และคุณธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ซึ่งต้องมี "สติ ปัญญา และความเพียร". เป็นที่ตั้ง ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขในชีวิติที่แท้จริง

 
ความเห็นที่ 7 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:39 น.  โดย : สิริพร  

"...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับ ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป..."

 
ความเห็นที่ 8 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:39 น.  โดย : สิริพร  

"...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยิ่งยวดได้..."

 
ความเห็นที่ 9 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:40 น.  โดย : สิริพร  

"....เมื่อปี 2517 วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...."

 
ความเห็นที่ 10 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:47 น.  โดย : สิริพร  

“...เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาของเศรษฐกิจ การที่ต้องใช้รถไถต้องไปซื้อ เราต้องใช้ต้องหาเงินมาสำหรับซื้อน้ำมันสำหรับรถไถ เวลารถไถเก่าเราต้องยิ่งซ่อมแซม แต่เวลาใช้นั้นเราก็ต้องป้อนน้ำมันให้เป็นอาหาร เสร็จแล้วมันคายควัน ควันเราสูดเข้าไปแล้วก็ปวดหัว ส่วนควายเวลาเราใช้เราก็ต้องป้อนอาหาร ต้องให้หญ้าให้อาหารมันกิน แต่ว่ามันคายออกมา ที่มันคายออกมาก็เป็นปุ๋ย แล้วก็ใช้ได้สำหรับให้ที่ดินของเราไม่เสีย...”

 
ความเห็นที่ 11 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:48 น.  โดย : สิริพร  

“...เราไม่เป็นประเทศร่ำรวย เรามีพอสมควร พออยู่ได้ แต่ไม่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก เราไม่อยากจะเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก เพราะถ้าเราเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมากก็จะมีแต่ถอยกลับ ประเทศเหล่านั้นที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า จะมีแต่ถอยหลังและถอยหลังอย่างน่ากลัว แต่ถ้าเรามีการบริหารแบบเรียกว่าแบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างมีสามัคคีนี่แหละคือเมตตากัน จะอยู่ได้ตลอดไป...”

 
ความเห็นที่ 12 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:49 น.  โดย : สิริพร  

“...ตามปกติคนเราชอบดูสถานการณ์ในทางดี ที่เขาเรียกว่าเล็งผลเลิศ ก็เห็นว่าประเทศไทย เรานี่ก้าวหน้าดี การเงินการอุตสาหกรรมการค้าดี มีกำไร อีกทางหนึ่งก็ต้องบอกว่าเรากำลังเสื่อมลงไปส่วนใหญ่ ทฤษฎีว่า ถ้ามีเงินเท่านั้นๆ มีการกู้เท่านั้นๆ หมายความว่าเศรษฐกิจก้าวหน้า แล้วก็ประเทศก็เจริญมีหวังว่าจะเป็นมหาอำนาจ ขอโทษเลยต้องเตือนเขาว่า จริงตัวเลขดี แต่ว่าถ้าเราไม่ระมัดระวังในความต้องการพื้นฐานของประชาชนนั้นไม่มีทาง...”

 
ความเห็นที่ 13 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:49 น.  โดย : สิริพร  

“...เดี๋ยวนี้ประเทศไทยก็ยังอยู่ดีพอสมควร ใช้คำว่า พอสมควร เพราะเดี๋ยวมีคนเห็นว่ามีคนจน คนเดือดร้อน จำนวนมากพอสมควร แต่ใช้คำว่า พอสมควรนี้ หมายความว่าตามอัตภาพ...”

 
ความเห็นที่ 14 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:50 น.  โดย : สิริพร  

“...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก

 
ความเห็นที่ 15 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:52 น.  โดย : สิริพร  

“...พอเพียง มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมี มีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น...”

 
ความเห็นที่ 16 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:52 น.  โดย : สิริพร  

“...ไฟดับถ้ามีความจำเป็น หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่ เรามีเครื่องปั่นไฟก็ใช้ปั่นไฟ หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงก็มีเป็นขั้นๆ แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์นี่เป็นสิ่งทำไม่ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน ถ้ามีการช่วยกัน แลกเปลี่ยนกัน ก็ไม่ใช่พอเพียงแล้ว แต่ว่าพอเพียงในทฤษฎีในหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้...”

 
ความเห็นที่ 17 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:53 น.  โดย : สิริพร  

“...โครงการต่างๆ หรือเศรษฐกิจที่ใหญ่ ต้องมีความสอดคล้องกันดีที่ไม่ใช่เหมือนทฤษฎีใหม่ ที่ใช้ที่ดินเพียง ๑๕ ไร่ และสามารถที่จะปลูกข้าวพอกิน กิจการนี้ใหญ่กว่า แต่ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน คนไม่เข้าใจว่ากิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสักก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน เขานึกว่าเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ห่างไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง แต่ที่จริงแล้ว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน...”

 
ความเห็นที่ 18 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:57 น.  โดย : สิริพร  

“...ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียงความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ขึ้นไปเป็นสองหมื่น สามหมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิดคือเป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป...”

 
ความเห็นที่ 19 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:58 น.  โดย : สิริพร  

“การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเอง
และครอบครัวช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น
ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”

 
ความเห็นที่ 20 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:58 น.  โดย : สิริพร  

“ถ้าทำงานด้วยความตั้งใจที่จะให้เกิดผลอันยิ่งใหญ่ คือความเป็นปึกแผ่นของประเทศชาติ
ด้วยความสุจริตและด้วยความรู้ความสามารถด้วยจริงใจ ไม่นึกถึงเงินทองหรือนึกถึงผลประโยชน์ใดๆ
ก็เป็นการทำหน้าที่โดยตรงและได้ทำหน้าที่โดยเต็มที่”

 
ความเห็นที่ 21 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 14:59 น.  โดย : สิริพร  

“ถ้าทุกคนสนใจในความรักประเทศชาติ รักษาความดีเอาไว้ ไม่ต้องไปตามอย่างในสิ่งที่เราเห็นว่าไม่น่า
ที่จะเจริญไม่น่าจะพัฒนา เราต้องรักษาแนวทางความคิดตามที่เรามีอยู่
แม้จะเป็นสิ่งที่ตกทอดมาแต่โบราณกาลจากปู่ย่าตายายของเรา แต่เป็นระเบียบการหรือเป็นวิธีการที่ดี จะไม่ล้าสมัย”

 
ความเห็นที่ 22 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:00 น.  โดย : สิริพร  

“ชาติบ้านเมืองประกอบด้วยนานาสถาบัน อันเปรียบได้กับอวัยวะทั้งปวง ที่ประกอบกันขึ้นเป็นชีวิตร่างกาย
ชีวิตร่างกายดำรงอยู่ได้ เพราะอวัยวะใหญ่น้อยทำงานเป็นปรกติพร้อมกันอย่างไร
ชาติบ้านเมืองก็ดำรงอยู่ได้เพราะสถาบันต่าง ๆ ตั้งมั่นและปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยพร้อมมูลอย่างนั้น”

 
ความเห็นที่ 23 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:01 น.  โดย : สิริพร  

“ชาติบ้านเมือง คือ ชีวิต เลือดเนื้อ และสมบัติของเราทุกคน และการดำรงรักษาชาติประเทศนั้น
มิใช่หน้าที่ของบุคคลผู้ใดหมู่ใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นหน้าที่ของทุกๆฝ่าย ทุกๆคน
ที่จะต้องร่วมมือกระทำ พร้อมกันไปโดยสอดคล้องเกื้อกูลกัน”

 
ความเห็นที่ 24 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:02 น.  โดย : สิริพร  

“การมีเสรีภาพนั้น เป็นของที่ดีอย่างยิ่ง แต่เมื่อจะใช้ จำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ตามความรับผิดชอบ
มิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นที่เขามีอยู่เท่าเทียมกัน ทั้งมิให้กระทบกระเทือนถึงสวัสดิภาพและความเป็นปกติสุข
ของส่วนร่วมด้วย”

 
ความเห็นที่ 25 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:03 น.  โดย : สิริพร  

“ความรู้ในวิชาการ เป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคได้ และทำให้เป็นคนที่มีเกียรติ เป็นคนที่สามารถ
เป็นคนที่มีความพอใจได้ในตัวว่า ทำประโยชน์แก่ตนเองและแก่ส่วนรวม นอกจากวิชาความรู้
ก็จะต้องฝึกฝนในสิ่งที่ตัวต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสังคม สอดคล้องกับสมัยและสอดคล้องกับศีลธรรมที่ดีงาม
ถ้าได้ทั้งวิชาการ ทั้งความรู้รอบตัว และความรู้ในชีวิต ก็จะทำให้เป็นคนที่ครบคน ที่จะภูมิใจได้”

 
ความเห็นที่ 26 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:04 น.  โดย : สิริพร  

“จิตใจและความประพฤติที่สะอาดและมีระเบียบ เป็นรากฐานสำคัญของชีวิตจิตใจทั้งความประพฤติดังนั้นใช่จะเกิดมีขึ้นเองได้
หากแต่จำเป็นต้องฝึกหัดอบรมและสนับสนุนส่งเสริมกันอย่างจริงจังสม่ำเสมอ นับตั้งแต่บุคคลเกิด
ดังที่มนุษย์ไม่ว่าชาติใดภาษาใด ได้เฝ้าพยายามกระทำสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย ทั้งเพื่อให้สามารถรักษาตัวและมีความสุข
ความสำเร็จในการครองชีวิต ทั้งให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ด้วยความผาสุกสงบ”

 
ความเห็นที่ 27 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:10 น.  โดย : สิริพร  

“ความสามัคคีนั้น อาจหมายความถึงเห็นชอบเห็นพ้องกันโดยไม่แย้งกัน ความจริงงานทุกอย่างหรือการอยู่
เป็นสังคมย่อมต้องมีความขัดแย้งกัน ความคิดต่างกัน ซึ่งไม่เสียหาย แต่อยู่ที่จิตใจของเรา ถ้าเราใช้หลักวิชา
และความปรองดองด้วยการใช้ปัญญา การแย้งต่าง ๆ ย่อมเป็นประโยชน์ หากมีรากฐานของความคิดอย่างเดียวกัน
รากฐานของความคิดนั้นคือ แต่ละคนจะต้องทำให้บ้านเมืองมีความมีความเป็นปึกแผ่น”

 
ความเห็นที่ 28 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:13 น.  โดย : สิริพร  

“ความเข้มแข็งในจิตใจนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องฝึกฝนแต่เล็กเพราะว่าต่อไป ถ้ามีชีวิตที่ลำบาก ไปประสบอุปสรรคใดๆ
ถ้าไม่มีความเข้มแข็ง ไม่มีความรู้ ไม่มีทางที่จะผ่านอุปสรรคนั้นได้ เพราะว่าถ้าไม่เจออุปสรรคอะไร
ก็ไม่มีอะไรที่จะมาช่วยเราได้แต่ถ้ามีความรู้ มีอัธยาศัยที่ดี และมีความเข้มแข็ง ในกาย ในใจ
ก็สามารถที่จะผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ นั้นได้”

 
ความเห็นที่ 29 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:20 น.  โดย : สิริพร  

“สามัคคี คือการเห็นแก่บ้านเมือง และช่วยกันทุกวิธีทาง เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้เข้มแข็ง ด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแย่งตรงไปตรงมา นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมนั้นคือความมั่นคงของบ้านเมือง”

 
ความเห็นที่ 30 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:20 น.  โดย : สิริพร  

“คนเราอยู่คนเดียวไม่ได้ จะต้องอยู่เป็นหมู่คณะ และถ้าหมู่คณะนั้นมีความสามัคคี คือเห็นอกเห็นใจ
ซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือในทุกเมื่อ ช่วยกันคิดว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่สมควร สิ่งใดที่จะทำให้นำมาสู่ความเจริญ
ความมั่นคง ความสุขก็ทำ สิ่งใดที่นำมาซึ่งหายนะหรือเสียหายก็เว้น และช่วยกันปฏิบัติทั้งหน้าที่ทางกายทั้งหน้าที่ทางใจ”

 
ความเห็นที่ 31 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:22 น.  โดย : สิริพร  

“ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพชอบ เป็นหลักสำคัญ
ผู้ที่จะสามารถประพฤติชอบและหาเลี้ยงชีพชอบได้ด้วยนั้น ย่อมจะมีทั้งวิชาความรู้ ทั้งหลักธรรมทางศาสนา
เพราะสิ่งแรกเป็นปัจจัยสำหรับใช้กระทำการทำงาน สิ่งหลังเป็นปัจจัยสำหรับส่งเสริมความประพฤติ
และการปฏิบัติงานให้ชอบคือให้ถูกต้องและเป็นธรรม”

 
ความเห็นที่ 32 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:23 น.  โดย : สิริพร  

“การมีเสรีภาพนั้นเป็นของดีอย่างยิ่ง แต่เมื่อจะใช้ จำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและความรับผิดชอบ
มิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น ที่เขามีอยู่เท่าเทียมกัน
ทั้งมิให้กระทบกระเทือนถึงสวัสดิภาพและความเป็นปกติสุขของส่วนรวมด้วย มิฉะนั้น จะทำให้มีความยุ่งยาก
จะทำสังคมและชาติประเทศต้องแตกสลายจนสิ้นเชิง”

 
ความเห็นที่ 33 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:24 น.  โดย : สิริพร  

“คนไทย รักษาชาติ รักษาแผ่นดิน เป็นปึกแผ่นมั่นคงมาได้ ด้วยสติปัญญาความสามารถ และด้วยคุณความดี
อิสรภาพ เสรีภาพ ความร่มเย็นเป็นสุข ตลอดจนความเจริญ ทุกอย่างที่มีอยู่บัดนี้ เราทั้งหลายในปัจจุบัน
จึงต้องถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบอย่างสำคัญ ในอันที่จะรักษาคุณความดี พร้อมทั้งจิตใจที่เป็นไทยไว้ให้มั่นคงตลอดไป”

 
ความเห็นที่ 34 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:24 น.  โดย : สิริพร  

“วิถีทางดำเนินของบ้านเมืองและประชาชนโดยทั่วไป มีความเปลี่ยนแปลงมาตลอดเนื่องจากความวิปริตผันแปร
ของวิถีแห่งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่น ๆ ของโลก ยากยิ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ จึงต้องระมัดระวัง
ประคับประคองตัวเรามากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นอยู่ โดยประหยัดเพื่อที่จะอยู่ให้รอดและก้าวต่อไปได้โดยสวัสดี”

 
ความเห็นที่ 35 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:25 น.  โดย : สิริพร  

“บรรพ ชนไทย เป็นนักต่อสู้ ผู้มีชีวิตจิตใจผูกพันปรองดอง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สามัคคีพร้อมเพรียงกันทุกเมื่อ
ไม่ว่าจะทำการสิ่งใด บ้านเมืองไทยจึงมีเอกราชอธิปไตย และมีความสุขความสมบูรณ์ทุกอย่างมาจนกระทั่งทุกวันนี้”

 
ความเห็นที่ 36 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:26 น.  โดย : สิริพร  

“ความจงรักภักดีต่อชาตินั้น คือความสำนึกตระหนักในคุณของแผ่นดิน อันเป็นที่เกิดที่อาศัย
ซึ่งทำให้บุคคลเกิดความภูมิใจในชาติกำเนิด และมุ่งมั่นที่จะธำรงรักษาประเทศชาติไว้ ให้เป็นอิสระมั่นคงตลอดไป”

 
ความเห็นที่ 37 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:27 น.  โดย : สิริพร  

“ทุกวันนี้ ประเทศไทยยังมีทรัพยากรพร้อมมูล ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคล
ซึ่งเราสามารถนำมาใช้เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ และเสถียรภาพอันถาวรของบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี
ข้อสำคัญ เราต้องรู้จักใช้ทรัพยากรนั้นอย่างฉลาด คือไม่นำมาทุ่มเทใช้ให้เปลืองไปโดยไร้ประโยชน์
หรือได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า หากแต่การระมัดระวังใช้ด้วยความประหยัดรอบคอบ ประกอบด้วยความคิดพิจารณาตามหลักวิชา
เหตุผล และความถูกต้องเหมาะสม โดยมุ่งถึงประโยชน์แท้จริงที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันยืนยาว”

 
ความเห็นที่ 38 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:27 น.  โดย : สิริพร  

“บ้านเมืองไทย สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ได้โดยดี เพราะว่าจิตใจสามัคคีและแสดงออกซึ่งสามัคคี
ถ้าตราบใดเรารักษาความสามัคคี ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันไว้ได้ เราก็จะอยู่ได้อย่างมีความสุขตราบนั้น”

 
ความเห็นที่ 39 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:28 น.  โดย : สิริพร  

“การที่คนสมัยใหม่บอกว่าคนสมัยเก่ามีความรู้น้อยก็อาจเป็นจริง แล้วคนสมัยใหม่ดูถูกหรือเหยียดหยามคนสมัยเก่าก็มีสิทธิ์
แต่ถ้าพูดตามความจริงแล้ว สิทธิ์ที่จะเหยียดหยามคนรุ่นเก่าไม่ควรจะมี ด้วยเหตุว่าคนรุ่นเก่านี้เองทำให้คนรุ่นใหม่เกิดขึ้นมาได้”

 
ความเห็นที่ 40 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:28 น.  โดย : สิริพร  

“ความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับความรักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้อง
สองประการนี้ คือคุณลักษณะสำคัญของไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้านเมืองอยู่รอดเป็นอิสระ และเจริญมั่นคง มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน”

 
ความเห็นที่ 41 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:29 น.  โดย : สิริพร  

“ในการปฏิบัติงานนั้น ย่อมมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นได้เสมอ เมื่อปัญหาเกิดขึ้นต้องแก้ไข อย่าทิ้งไว้พอกพูนลุกลามแก้ยาก
ขอให้ทุกคนระลึกว่าปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ได้ ถ้าแก้คนเดียวไม่ได้ก็ช่วยกันคิดช่วยกันแก้หลายๆ
คนหลายๆทาง ด้วยความร่วมมือปรองดองกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจักได้ไม่กลายเป็นอุปสรรคขัดขวาง
และบั่นทอนทำลายความเจริญและความสำเร็จของการงาน”

 
ความเห็นที่ 42 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:30 น.  โดย : สิริพร  

“ต่างคนต่างมีหน้าที่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทำเฉพาะหน้าที่นั้น เพราะว่าถ้าคนใดทำหน้าที่เฉพาะของตัว
โดยไม่มองไม่แลคนอื่น งานก็ดำเนินไปไม่ได้ เพราะเหตุว่างานทุกงานจะต้องพาดพิงกันจะต้องเกี่ยวโยงกัน
ฉะนั้นแต่ละคนจะต้องมีความรู้ถึงงานของผู้อื่นแล้วช่วยกันทำ”

 
ความเห็นที่ 43 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:30 น.  โดย : สิริพร  

“ความสามัคคี เป็นคุณสมบัติประจำตัวของคนไทย ที่ได้อบรมสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษโดยไม่ขาดสาย
ทั้งนี้เพราะคนไทย ทราบตระหนักว่า หมู่คณะที่มีความสามัคคีแน่นแฟ้นสมบูรณ์ ย่อมมีกำลังกล้าแข็งทั้งในการคิดและการปฏิบัติ”

 
ความเห็นที่ 44 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:31 น.  โดย : สิริพร  

“สามัคคี หรือการปรองดองกัน ไม่ได้หมายความว่าคนหนึ่งพูดอย่างหนึ่ง คนอื่นต้องพูดเหมือนกันหมด
ลงท้ายชีวิตก็ไม่มีความหมาย ต้องมีความแตกต่างกัน แต่ต้องทำงานให้สอดคล้องกัน แม้จะขัดกันบ้างก็ต้องสอดคล้องกัน”

 
ความเห็นที่ 45 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:32 น.  โดย : สิริพร  

“ผู้ที่จะรักษาความเป็นไทยได้มั่นคงที่สุด ดี และเหมาะสมที่สุด ไม่มีใครอื่นนอกจากคนไทย
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งใด คนไทยมีหน้าที่ต้องรักษาความเป็นไทยเสมอ”

 
ความเห็นที่ 46 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:32 น.  โดย : สิริพร  

“การที่ในประเทศใดมีประชาชนทั้งหมดอยู่ร่วมกัน โดยสันติ ก็เป็นสิ่งที่ปรารถนาของทุกคน
ไม่มีใครอยากให้มีความวุ่นวายในหมู่คณะในประเทศชาติ เพราะว่าถ้ามีความวุ่นวายนั้นเป็นความทุกข์
ทุกคนต้องการความสุขหากความสุขนั้นก็จะมาจากความปรองดอง และความที่ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปโดยยุติธรรม”

 
ความเห็นที่ 47 โพสเมื่อ : 9 ก.พ. 60 : 15:33 น.  โดย : สิริพร  

“สังคม ใดก็ตาม ถ้ามีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ด้วยความมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน
สังคมนั้นย่อมเต็มไปด้วยไมตรีจิต มิตรภาพ มีความร่มเย็นเป็นสุข น่าอยู่”

 
ความเห็นที่ 48 โพสเมื่อ : 17 มี.ค. 60 : 13:36 น.  โดย : nutum  

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นประมุขแห่งประเทศไทย เป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ชาวไทยตลอดพระชนมายุของพระองค์ โดยพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ คือ การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศ ดังในปฐมพระบรมราชโองการในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม
ในปี พ.ศ. 2539 จากการที่พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชนอย่างหนัก จึงได้มีการลงนามโดยประชาชนชาวไทยเพื่อถวายสมัญญานามให้ทรงเป็น "มหาราช"

 
ความเห็นที่ 49 โพสเมื่อ : 28 เม.ย. 60 : 19:19 น.  โดย : nutum  

การอุทิศพระองค์ ในหลวง ร. 9 เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของพสกนิกรทั้งมวลในประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ที่หว่านไถไร่นา ดูแลรักษาแหล่งน้ำและป่าของชาติ...พระองค์ทรงยึดมั่นในคติพจน์ว่า “พัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่ออนาคตอันมั่นคง”

 
ความเห็นที่ 50 โพสเมื่อ : 23 มิ.ย. 60 : 17:01 น.  โดย : ืnutum  

สามัคคี คือการเป็นแก่บ้านเมือง และช่วยกันทุกวิธีทาง เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้เข้มแข็ง ด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแย่งตรงไปตรงมา นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมนั้นคือความมั่นคงของบ้านเมืองพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9(ในพิธีประดับยศนายตำรวจชั้นนายพล 15 มกราคม 2519)

 
ความเห็นที่ 51 โพสเมื่อ : 30 มิ.ย. 60 : 19:38 น.  โดย : nutum  

“ความสามัคคี เป็นคุณสมบัติประจำตัวของคนไทย ที่ได้อบรมสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษโดยไม่ขาดสาย

ทั้งนี้เพราะคนไทย ทราบตระหนักว่า หมู่คณะที่มีความสามัคคีแน่นแฟ้มสมบูรณ์ ย่อมมีกำลังกล้าแข็งทั้งในการคิดและการปฏิบัติ”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานในการประชุมใหญ่ สามัคคีสมาคม ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๔

 
ความเห็นที่ 52 โพสเมื่อ : 24 พ.ค. 61 : 15:21 น.  โดย : แผนกควบคุม กกบ.ยศ.ทบ.  

ขอให้พระบรมศานุวงศ์แห่งราชวงศ์จักรีมีพระชนมายุยิ่งยืนนานมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง

 
ความเห็นที่ 53 โพสเมื่อ : 8 มิ.ย. 61 : 14:44 น.  โดย : แผนกควบคุม กกบ.ยศ.ทบ.  

จะปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ให้เป็นที่พึ่งของเราชาวไทยตลอดไป

 
ความเห็นที่ 54 โพสเมื่อ : 23 ก.ค. 61 : 09:57 น.  โดย : แผนกควบคุม กกบ.ยศ.ทบ.  

จงรักภัคดี เทิดทูนและสนองพระเดชพระคุณด้วยการสร้างความดีถวายแด่ในหลวง

 
ความเห็นที่ 55 โพสเมื่อ : 31 ส.ค. 61 : 15:58 น.  โดย : แผนกควบคุม กกบ.ยศ.ทบ.  

ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยืนหยัด ยิ่งใหญ่ ยืนยง

 

[1]  

แสดงความคิดเห็น
Detail :

Picture :
Name :


 
ท่องเที่ยว