Thai Tour
สถานที่ท่องเที่ยว
เกาะเสม็ด เกาะช้าง บ้านพักพัทยา ปาย เขาค้อ ที่พักหัวหิน   
: หารายละเอียด : หากระทู้
[1]  
พระพุทธรูปปางต่าง ๆ
โพสเมื่อ : 15 ก.ค. 51 : 03:09 น.  โดย : ไทยทัวร์  

 
ความเห็นที่ 1 โพสเมื่อ : 15 ก.ค. 51 : 03:15 น.  โดย : ไทยทัวร์  

พระพุทธรูปปางต่าง ๆ มีที่มาจากเหตุการณ์ที่สำคัญในพุทธประวัติของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า นับตั้งแต่พระองค์ประสูติ ได้เสด็จออกบรรพชาเพื่อแสวงหาความดับทุกข์ เริ่มตั้งแต่ทรงบำเพ็ญเพียรด้วยการทำทุกขกิริยาไปจนปรินิพาน มีปางต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้

ปางบำเพ็ญทุกขกิริยา

มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง พระหัตถ์ทั้งสองประคองพระอุระไข้วกัน พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
พระพุทธรูปปางนี้มีที่มาจากการที่เจ้าชายสิทธิธัตถะได้เสด็จออกบรรพชา เพื่อแสวงหาความดับทุกข์ พระองค์ใด้ทดลองปฏิบัติ ตามวิธีการต่าง ๆ ที่สมัยนั้นเชื่อว่าจะทำให้บรรลุความดับทุกข์ได้ ถึงขั้นอุกฤษ วิธีการสุดท้ายที่พระองค์ทดลองปฏิบัติคือ การบำเพ็ญทุกขกิริยาด้วยประการต่าง ๆ เพื่อทรมานร่างกาย นับตั้งแต่การดำรงอยู่ในอากัปกิริยาต่าง ๆ เป็นเวลานาน ๆ เช่น กำมือจนเล็บมือแทงทะลุอุ้งมือ เป็นต้น ไปจนถึงอดพระกระยาหาร เป็นเวลาถึง ๔๙ วัน เป็นการปฏิบัติตนให้ทุกข์ทรมาน ตามแนวทางการดำเนินชีวิตแบบ อัตตกิลมถานุโยค เป็นการปฏิบัติที่ตรงข้ามกับชีวิตที่ผ่านมาของพระองค์ก่อนออกผนวช ที่พัวพันอยู่กับความสุขในกามที่เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค การปฏิบัติที่สุดโต่งดังกล่าวนี้ ทำให้พระองค์ได้พบว่ามิใช่ทางที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายได้ นับว่าเป็นจุดหักเหที่สำคัญยิ่ง ตอนหนึ่งของพระองค์ ก่อนที่จะพบวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง คือ ทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมา ปฏิปทา

 
ความเห็นที่ 2 โพสเมื่อ : 15 ก.ค. 51 : 03:20 น.  โดย : ไทยทัวร์  


ปางรับข้าวมธุปายาส


มีลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ทั้งสองข้างหงายขึ้นวางอยู่บนพระเพลา แสดงอาการรับของที่มีผู้นำมาถวาย
พระพุทธรูปปางนี้มีที่มาจากการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทุกขกิริยาขั้นสุดท้าย ด้วยการอดพระกระยาหาร แล้วทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางที่จะบรรลุความดับทุกข์ที่พระองค์แสวงหา การประพฤติปฏิบัติที่ทำมาไม่ถูกทาง เพราะครั้งใดที่มีความเพียรพยายามแรงกล้า ครั้งนั้นก็จะได้รับเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า หากครั้งใดไม่มีความเพียรพยายามแรงกล้า ครั้งนั้น ก็จะไม่ได้รับเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า จึงเป็นความเพียรพยายามที่ผิด ทำไปเพราะความไม่รู้ หลงเชื่อคำสอนที่ผิด ดังนั้นหนทางที่ถูกจะต้องเป็นทางอื่น ไม่ใช่ทางที่กระทำอยู่ เมื่อพิจารณา เห็นดังนั้นแล้ว จึงทรงเลิกอดพระกระยาหาร ทรงรับข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดานำมาถวาย เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้เพื่อแสวงหาทางที่ถูกต่อไป
---------------------------------------
วัดหน้าพระเมรุ จ.อยุธยา
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Ayutthaya/data/place/pic_watnaprameru.htm

 
ความเห็นที่ 3 โพสเมื่อ : 15 ก.ค. 51 : 03:21 น.  โดย : ไทยทัวร์  

ปางลอยถาด

มีลักษณะประทับนั่ง พระหัตถ์จับถาดหย่อนลงเพื่อปล่อยออกไป
พระพุทธรูปปางนี้มีที่มาจากปางรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา เมื่อพระองค์เสวยเสร็จแล้ว ก็ได้ทรงลอยถาดที่นางสุชาดาใส่ข้าวมธุปายาสมาถวาย ลงไปในแม่น้ำเนรัญชรา เพราะนางสุชาดาเมื่อถวายข้าวมธุปายาสแล้ว ก็จะกลับไป เป็นการถวายทั้งข้าวมธุปายาสและภาชนะคือถาด

 
ความเห็นที่ 4 โพสเมื่อ : 15 ก.ค. 51 : 03:23 น.  โดย : ไทยทัวร์  

ปางรับหญ้าคา

มีลักษณะประทับยืน ยื่นพระหัตถ์ขวาออกไปและหงายขึ้น แสดงอาการรับของถวาย
พระพุทธรูปปางนี้มีที่มาจากเหตุการณ์หลังปางลอยถาด ในตอนเย็นวันเดียวกันนั้น ได้มีพราหมณ์ ผู้หนึ่งผ่านมาทางที่พระองค์ประทับอยู่ แล้วถวายหญ้าคาแปดกำต่อพระองค์ เพื่อให้พระองค์ใช้รองนั่ง เมื่อพระองค์รับหญ้าคามาแล้ว จึงได้ลาดลงเป็นที่รองนั่ง ณ ด้านตะวันออกของต้นโพธิ์ ซึ่งเราเรียก ที่ประทับนั่งนี้ว่า วชิระอาสน์ ทรงประทับนั่งบนบัลลังค์วชิรอาสน์ พระพักต์หันไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานจิตที่จะบำเพ็ญเพียรทางจิต ตามหลักความเพียรชอบ ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ ตามลำดับคือ เพียรพยายามปิดกั้นความชั่วไม่ให้เข้ามาสู่ตน เพียรพยายามนำความชั่วที่มีอยู่ออกไปจากตน เพียรพยายามสร้างความดีให้มีขึ้นในตน เพียรพยายามรักษาความดีที่ตนมีอยู่ไม่ให้หมดสิ้นไป ในการนี้พระองค์ได้ตั้งพระทัยแน่วแน่ว่า การบำเพ็ญเพียรครั้งนี้ของพระองค์เป็นความบำเพ็ญเพียรที่ถูกทาง ดังนั้นแม้เนื้อหนังและโลหิตจะหมดไป ตราบใดที่พระองค์ยังไม่บรรลุพระโพธิญาณ อันนำไปสู่การดับทุกข์แล้ว พระองค์จะไม่ลุกจากบัลลังก์นี้

 
ความเห็นที่ 5 โพสเมื่อ : 15 ก.ค. 51 : 03:30 น.  โดย : ไทยทัวร์  


ปางมารวิชัย


มีลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิ คือประทับนั่งตั้งพระวรกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระเพลาหงายขึ้น พระหัตถ์ขวาวางอยู่บนพระเพลา คว่ำพระหัตถ์ ปลายพระดัชนีชี้ลงดิน ชาวบ้านมักจะเรียกพระพุทธรูปปางนี้ว่า ปางผจญมาร หรือปางสดุ้งมาร ซึ่งมีตำนานว่า พญามารมีชื่อว่า วสวตีกับบริวารได้มาขัดขวางพระองค์ด้วยประการต่าง ๆ เพื่อมิให้พระองค์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะมิฉะนั้นแล้ว พญามารและบริวาร ก็จะไม่สามารถครอบงำพระองค์ได้อีกต่อไป
แต่พระองค์ทรงมั่นคงไม่หวั่นไหว โดยการประมวลพระบารมีที่ดำเนินมา โดยถูกทางแล้วมาต่อสู้จนพญามารต้องพ่ายแพ้ไป
-------------------------------
วัดต้นสน จ.อ่างทอง
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Angthong/data/place/pic_wat-tonson.htm

 
ความเห็นที่ 6 โพสเมื่อ : 15 ก.ค. 51 : 03:32 น.  โดย : ไทยทัวร์  

ปางถวายเนตร


มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับยืน ลืมพระเนตร พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันไว้ที่พระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
พระพุทธรูปปางนี้มีที่มาจากเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แรกตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประทับอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ เป็นเวลา ๗ วัน จากนั้นได้มาประทับยืนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรัตนบัลลังก์ ห่างออกไป เล็กน้อย แล้วเพ่งพระเนตรมายังรัตนบัลลังก์ ทรงพิจารณาพระบารมีธรรม เป็นเหตุให้พระองค์ ได้บรรลุพระโพธิญาณคือ ทศบารมี อันได้แก่ เนกขัมมบารมี วิริยบารมี เมตตาบารมี อธิษฐานบารมี ปัญญาบารมี ศีลบารมี ขันติบารมี อุเบกขาบารมี สัจจบารมีและทานบารมี ที่พระองค์ได้บำเพ็ญ มาอย่างครบถ้วนในทศชาติ

 
ความเห็นที่ 7 โพสเมื่อ : 15 ก.ค. 51 : 03:32 น.  โดย : ไทยทัวร์  

ปางรัตนจงกรม (จงกรมแก้ว)

มีลักษณะประทับยืน ย่างพระบาทขวาไปข้างหน้า ส้นพระบาทซ้ายยกขึ้น พระหัตถ์ทั้งสอง ประสานและประทับบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
พระพุทธรูปปางนี้ มีที่มาจากเหตุการณ์ที่พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุติสุข ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ตลอด ๗ วัน ทรงนมสิการปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม และปฏิโลม คือ พิจารณาทั้งสายเกิด และสายดับ ของกองทุกข์ทั้งมวล พระองค์ทรงรู้แจ้งในธรรมทั้งหลายพร้อมทั้งเหตุ และรู้แจ้งในธรรมทั้งหลาย ถึงความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย ทำให้กำจัดมารและเสนามารเสียได้ พระองค์ได้นมสิการปฏิจจสมุปบาท ดังกล่าวตลอดปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยามแห่งราตรี เมื่อครบ ๗ วัน แล้ว จึงทรงเสด็จไปประทับ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ณ ควงไม้มุจจสินท์ ณ ควงไม้ราชาตนะ แล้วกลับไปประทับ ณ ควงไม้อชปาลนโครธ ทรงประทับอยู่ ณ ที่ต่าง ๆ ดังกล่าวแห่งละ ๗ วัน แต่ละแห่ง ทรงเข้าสมาธิโดยไม่ลุกไปไหนเลยตลอด ๗ วัน ดังนั้นระหว่างที่เปลี่ยนอิริยาบทจากการนั่งสมาธิ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง จึงน่าจะเป็นการเดินจงกรม อันเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางนี้ ตามตำนานกล่าวว่า ทรงทำจงกรม เมื่อสิ้นสุดการประทับยืนเพ่งพระเนตรไปยังบัลลังก์ แล้วจึงเสด็จ ไปประทับ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ

 
ความเห็นที่ 8 โพสเมื่อ : 15 ก.ค. 51 : 03:33 น.  โดย : ไทยทัวร์  

ปางห้ามมาร

มีลักษณะประทับนั่ง ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเสมอพระอุระ ฝ่าพระหัตถ์หันออกไปด้านหน้า แสดงอาการห้าม พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระเพลาหงายขึ้น เช่นเดียวกันกับ ท่านั่งสมาธิ
พระพุทธรูปปางนี้มีที่มาจากเหตุการณ์ตอนที่พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ หลังจากที่ได้ประทับอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ เพื่อพิจารณาปฏิจจสมุปบาทครบ ๗ วัน แล้วพญามารได้เข้ามูลเชิญ พระพุทธองค์ให้เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ตราบใดที่พุทธบริษัททั้งสี่อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกกา ผู้เป็นสาวกของพระองค์ ยังไม่รู้แจ้งในพระธรรมวินัย และพรหมจรรย์ยังไม่แพร่หลายเพียงใด พระองค์ผู้ตถาคต จะยังไม่ดับขันธ์ปรินิพพานตราบนั้น ต่อเมื่อใดที่สาวกพระองค์รู้แจ้งในพระธรรมวินัย และพรหมจรรย์ได้แพร่หลายแล้ว ตถาคตจึงจะนิพพาน

 
ความเห็นที่ 9 โพสเมื่อ : 15 ก.ค. 51 : 03:34 น.  โดย : ไทยทัวร์  

ปางนาคปรก

มีลักษณะประทับนั่ง ณ ร่มไม้จิก มีนาคราชวงรอบองค์พระด้วยขนด ๗ รอบ และแผ่พังพานปกอยู่เหนือพระเศียร
พระพุทธรูปปางนี้มีที่มาจากเหตุการณ์ตอนที่พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ได้เสด็จจากควงไม้อชปาลนิโครธ เข้าไปยังต้นไม้มุจลินทร์ แล้วประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ ๗ วัน ครั้งนั้นได้เกิดเมฆใหญ่ และฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาวตกตลอด ๗ วัน เป็นฝนนอกฤดูกาล มุจจลินทนาคราชได้ออกมาแวดวงพระกายพระผู้มีพระภาคด้วยขนด ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่เหนือพระเศียร ด้วยหวังจะป้องกันความร้อนหนาว และการรบกวนจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ ไม่ให้มารบกวนพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่นี้ ได้เปล่งอุทานมีความว่า "ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้สันโดษ มีธรรมปรากฏแล้ว เห็นอยู่ ความไม่พยาบาท คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก ความปราศจากกำหนัด คือ ความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นสุขในโลก การกำจัดอัสมิมานะเสียได้นั่นแล เป็นสุขในโลก"

 
ความเห็นที่ 10 โพสเมื่อ : 15 ก.ค. 51 : 03:35 น.  โดย : ไทยทัวร์  

ปางรำพึง

มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นทาบอยู่บนพระอุระ พระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย ส้นพระบาทชิดกัน ทอดพระเนตรไปข้างหน้า
พระพุทธรูปปางนี้มีที่มาจากเหตุการณ์หลังจากที่พระผู้มีพระภาค แรกตรัสรู้ ได้เสด็จพระราชดำเนิน เปลี่ยนพระอิริยาบาท กลับมาเสวยพระวิมุติสุข ณ ควงไม้อชปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่ง ทรงรำพึงถึงพระธรรม ที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ว่าเป็นธรรมที่สุขุมลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลงสู่ ความตรึก ละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงรู้ ส่วนหมู่สัตว์ผู้เริงรมย์ ยินดี และชื่นชมในอาลัยจะเห็นได้ยาก ถ้าพระองค์จะแสดงธรรม สัตว์เหล่านั้นก็จะไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ เป็นการเหนื่อยเปล่า ดังนั้น พระองค์จึงทรงดำริที่จะไม่ประกาศธรรม เพราะเห็นว่าธรรมนั้น สัตว์ผู้มีราคะและโทสะ เข้าครอบงำแล้ว ยากที่จะรู้ตามได้
ตามตำนานกล่าวว่า สหัมบดีพรหมได้ทราบ จึงได้อาราธนาพระผู้มีพระภาค ขอให้แสดงธรรม เพราะสัตว์ที่มีธุลีในจักษุน้อยนั้นมีอยู่ ถ้าไม่ได้ฟังธรรมก็ย่อมเสื่อมไป และผู้รู้ทั่วถึงจักมีได้ เพราะได้ฟังธรรม พระผู้มีพระภาคอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นสัตว์มีคุณสมบัติยิ่งหย่อนดีเลวต่างกัน เปรียบเหมือนดอกบัวที่บางพวกยังจมอยู่ในน้ำ บางพวกตั้งอยู่เสมอน้ำ และบางพวกอยู่พ้นน้ำแล้ว เมื่อพิจารณาเห็นดังนี้ จึงตกลงพระทัยที่จะแสดงธรรม (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เล่ม ๔ หน้า ๑๐-๑๓)

 
ความเห็นที่ 11 โพสเมื่อ : 15 ก.ค. 51 : 03:36 น.  โดย : ไทยทัวร์  

ปางปฐมเทศนา

มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งบนอาสนะ พระหัตถ์ขวายกขึ้น เสมอพระอุระ
พระพุทธรูปปางนี้ มีที่มาจากเหตุการณ์หลังจากที่พระผู้มีพระภาค ตกลงพระทัย ที่จะแสดงธรรม แล้วก็ทรงดำริที่จะแสดงธรรมแก่ อาฬารดาบส และอุทกดาบส เพราะจะเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้ฉับพลัน แต่ปรากฎว่าดาบสทั้งสองได้สิ้นชีพเสียแล้ว จึงทรงดำริว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์ เป็นผู้ที่สมควรที่พระองค์จะแสดงธรรม พระผู้มีพระภาค จึงได้เสด็จไป แสดงธรรมแก่ ภิกษุปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี ด้วยธรรมที่เรียกว่า ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร นับว่าเป็นปฐมเทศนา ทรงแสดงเมื่อ วันเพ็ญ เดือน ๘ หลังจากตรัสรู้ได้ ๒ เดือน มีใจความดังนี้
ทรงแสดงที่สุด ๒ อย่างที่บรรพชิตไม่ควรกระทำ คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุข ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นของ ชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อีกอย่างหนึ่งคือ การประกอบความทรมานตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
การดำเนินทางสายกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา และญาณให้เกิด เป็นไปเพื่อความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ และนิพพาน
ทางสายกลางได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ
ทุกข์อริยสัจ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความได้พบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่ เป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น โดยย่ออุปทานในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ทุกข์สมุทัยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ความกำหนัดเพลิดเพลินในอารมณ์ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับทุกข์ โดยดับตัณหา ด้วยมรรค คือ วิราคะ สละ ดับ ปล่อยไป และไม่พัวพัน
ทุกขนิโรธดามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ หนทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรค มีองค์ ๘
ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชา แสงสว่างได้เกิดแก่พระองค์ว่า นี้เป็นทุกข์อันควรกำหนดรู้ และพระองค์ได้กำหนดรู้แล้ว นี้เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ อันควรละ และพระองค์ได้ละแล้ว นี้เป็นความดับทุกข์อันควรทำให้แจ้ง และพระองค์ได้ทำให้แจ้งแล้ว นี้เป็นหนทางดับทุกข์ อันควรเจริญ และพระองค์ได้เจริญแล้ว
สรุปได้ว่า ปัญญาอันรู้เห็นตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒
ของพระองค์หมดจดดีแล้ว พระองค์จึง ยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมในโลก ความพ้นวิเศษไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป
โกณทัญญะ ฟังธรรมเทศนานี้ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไป เป็นธรรมดา
เมื่อพระภาค ทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ได้มีการบันลือต่อ ๆ กันไปให้ทราบทั่วกันว่า พระธรรมอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันใคร ๆ ในโลกจะปฏิวัติไม่ได้ (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง หน้า ๑๓-๒๒)

 
ความเห็นที่ 12 โพสเมื่อ : 7 พ.ค. 63 : 16:26 น.  โดย : anastasia george  

Get best HND assignment help Check reviews get writer help review

 

[1]  

แสดงความคิดเห็น
Detail :

Picture :
Name :


 
ท่องเที่ยว