Thai Tour
สถานที่ท่องเที่ยว
เกาะเสม็ด เกาะช้าง บ้านพักพัทยา ปาย เขาค้อ ที่พักหัวหิน   
: หารายละเอียด : หากระทู้
[1]  
หลักเมือง ศาลหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ต่างกันอย่างไร
โพสเมื่อ : 7 มี.ค. 51 : 11:40 น.  โดย : คนกันเอง  


 
ความเห็นที่ 1 โพสเมื่อ : 7 พ.ค. 51 : 13:14 น.  โดย : ไทยทัวร์  


เสาสะดือเมือง 108 หลัก
เสาสะดือเมืองนี้ชาวเชียงรายได้ร่วมใจกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญามังราย และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคลพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบ โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และรัฐบาลเยอรมนี เสาสะดือเมือง 108 หลัก ตั้งอยู่บนรูปแบบสมมุติของจักรวาลอันเป็นคติที่มีมาแต่โบราณ ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออก ลานรอบนอกหมายถึงแผ่นดิน ล้อมรอบด้วยคูน้ำอันเปรียบได้กับน้ำในขอบจักรวาล รอบในยกขึ้นเป็นหกชั้นหมายถึงสวรรค์ทั้งหกของกามภูมิ แล้วยกขึ้นอีกสามชั้นซึ่งหมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และชั้นบนสุดเปรียบได้กับนิพพาน สำหรับตัวเสาสะดือเมืองเป็นดั่งเขาพระสุเมรุ ตั้งอยู่บนฐานสามเหลี่ยม หมายถึงตรี***ฏบรรพตหรือผาสามเส้า ล้อมด้วยเสา 108 ต้น อันหมายถึงสิ่งสำคัญในจักรวาล และล้อมรอบอีกชั้นด้วยร่องน้ำห้าร่องซึ่งเปรียบเป็นปัญจมหานทีลดหลั่นเป็นชั้นไหลลงสู่พื้นดินตามคติโบราณของล้านนา เสาสะดือเมืองจะใหญ่เท่าห้ากำมือและสูงเท่ากับความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน โคนเสาสะดือเมืองนี้จึงใหญ่เท่ากับห้าพระหัตถ์กำ และสูงเท่ากับส่วนสูงแห่งพระวรกาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ได้เสด็จมาเจิมเสาสะดือเมืองนี้ เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2531ชาวเชียงรายมีความเคารพศรัทธาเสาสะดือเมืองแห่งนี้มาก จึงนิยมมาสรงน้ำเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาวเมือง และเชื่อว่าน้ำที่สรงเสาสะดือเมืองแล้วเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์
-------------------------------------------------------------------
อยู่ในบริเวณวัดพระธาตุดอยจอมทอง จ.เชียงราย
http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/Chiangrai/data/place/pic_prathat-doi-jomthong.htm

 
ความเห็นที่ 2 โพสเมื่อ : 7 พ.ค. 51 : 13:29 น.  โดย : ไทยทัวร์  


อินทขิลหรือเรียกว่า เสาหลักเมืองเชียงใหม่ ชาวเชียงใหม่ทราบดีว่า ทุกๆ ปีจะต้องมีพิธีสักการะบูชาเสาอินทขิล เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ให้แก่ชาวบ้านชาวเมืองรวมทั้งผู้ที่ทำเกี่ยวกับเกษตรโดยการเพาะปลูก โดยงานดังกล่าวได้อัญเชิญพระเจ้าฝนแสนห่าอันเป็นพระพุทธรูปที่บันดาลให้ฝนตกมาเป็นประธานในขบวนแห่และมีการสวดคาถาอินทขิลของหมู่สงฆ์ด้วย ชาวเชียงใหม่จะทำพิธีบูชาอินทขิลในตอนปลายเดือน 8 ต่อเดือน 9 หรือระหว่างเดือนพฤษภาคมต่อเดือนมิถุนายน โดยเริ่มในวันแรม 3 ค่ำ เดือน 8 เรียกว่า วันเข้าอินทขิล ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 24 พ.ค. การเข้าอินทขิลจะมีไปจนถึงในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 ซึ่งเป็นวันออกอินทขิล จึงเรียกว่า เดือน 8 เข้า เดือน 9 ออก

ตำนานอินทขิลหรือตำนานสุวรรณคำแดงที่พระมหาหมื่นวุฑฒิญาโณ วัดหอธรรม เชียงใหม่ เล่าความเป็นมาของเสาอินทขิลไว้ว่า บริเวณที่ตั้งเมืองเชียงใหม่ศูนย์กลางอาณาจักรล้านนานั้น เป็นที่ตั้งบ้านเมืองของชาวลัวะ ในเมืองนี้มีผีหลอกหลอนทำให้ชาวเมืองเดือดร้อนไม่เป็นอันทำมาหากิน อดอยากยากจน พระอินทร์จึงได้ประทานความช่วยเหลือ บันดาลบ่อเงิน บ่อทองและบ่อแก้วไว้ในเมือง ให้เศรษฐีลัวะ 9 ตระกูล แบ่งกันดูแลบ่อทั้ง 3 บ่อละ 3 ตระกูล โดยชาวลัวะต้องถือศีลรักษาคำสัตย์ เมื่อชาวลัวะอธิษฐานสิ่งใดก็จะได้ดังสมปรารถนา ซึ่งชาวลัวะก็ปฏิบัติตามเป็นอย่างดี บรรดาชาวลัวะทั้งหลายต่างก็มีความสุขความอุดมสมบูรณ์

ข่าวความสุขความอุดมสมบูรณ์ของเวียงนพบุรี ซึ่งเป็นตระกูลของชาวลัวะเลื่องลือไปไกลและได้ชักนำให้เมืองอื่นยกทัพมาขอแบ่งปัน ชาวลัวะตกใจจึงขอให้ฤๅษีนำความไปกราบทูลพระอินทร์ พระอินทร์จึงให้กุมภัณฑ์ หรือยักษ์ 2 ตน ขุดอินทขิล หรือ เสาตะปูพระอินทร์ ใส่สาแหรกเหล็กหาบไปฝังไว้กลางเวียงนพบุรี เสาอินทขิลมีฤทธิ์มากดลบันดาลให้ข้าศึกที่มากลายร่างเป็นพ่อค้า พ่อค้าเหล่านั้นต่างตั้งใจมาขอสมบัติจากบ่อทั้งสาม ชาวลัวะแนะนำให้พ่อค้าถือศีลรักษาคำสัตย์และอย่าละโมบ เมื่อขอสิ่งใดก็จะได้ พ่อค้าบางคนทำตาม บางคนไม่ทำตาม บางคนละโมบ ทำให้กุมภัณฑ์ 2 ตน ที่เฝ้าเสาอินทขิลโกรธพากันหามเสาอินทขิลกลับขึ้นสวรรค์ไปและบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้ว ก็เสื่อมลง มีชาวลัวะผู้เฒ่าคนหนึ่งไปบูชาเสาอินทขิลอยู่เสมอ ทราบว่ายักษ์ทั้งสองนำเสาอินทขิลกลับสวรรค์ไปแล้ว ก็เสียใจมากจึงถือบวชนุ่งขาวห่มขาว บำเพ็ญศีลภาวนาใต้ต้นยางเป็นเวลานานถึง 3 ปี ก็มีพระเถระรูปหนึ่งทำนายว่า ต่อไปบ้านเมืองจะถึงกาลวิบัติ ชาวลัวะเกิดความกลัวจึงขอร้องให้พระเถระรูปนั้นช่วยเหลือ พระเถระบอกว่า ให้ชาวลัวะร่วมกันหล่ออ่างขางหรือกระทะขนาดใหญ่ แล้วใส่รูปปั้นต่างๆ อย่างละ 1 คู่ ปั้นรูปคนชายหญิงให้ครบร้อยเอ็ดภาษาใส่กระทะใหญ่ลงฝังในหลุมแล้วทำเสาอินทขิลไว้เบื้องบนทำพิธีสักการบูชา จะทำให้บ้านเมืองพ้นภัยพิบัติ การทำพิธีบวงสรวงสักการบูชาจึงกลายเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

เดิมมีเสาอินทขิลประดิษฐานอยู่ ณ วัดสะดือเมือง หรือวัดอินทขิล ซึ่งตั้งอยู่ ณ กลางเวียงเชียงใหม่ ปัจจุบันก็คือ บริเวณหอประชุมติโลกราช ข้างศาลากลางจังหวัดเก่า ในตำนานกล่าวว่า เสาอินทขิลเดิมนั้นหล่อด้วยโลหะ จนกระทั่งสมัยพระเจ้ากาวิละ ราวปี พ.ศ. 2343 ได้ย้ายเสาอินทขิลไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง โดยบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่เป็นเสาปูน และทำพิธีบวงสรวงเป็นประเพณีสืบกันมา ปัจจุบันนี้เสาอินทขิลที่อยู่ในวิหาร เป็นเสาปูนปั้นติดกระจกสี บนเสาเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง เสาอินทขิลนี้สูง 1.30 เมตร วัดรอบได้ 67 เมตร แท่นพระสูง 0.97 เมตร วัดโดยรอบได้ 3.40 เมตร

ประเพณีบูชาอินทขิล ในสมัยเจ้าผู้ครองนครกับปัจจุบันนี้แตกต่างกันมาก ในอดีตเจ้าผู้ครองนครจะเริ่มพิธีด้วยการเซ่นสังเวยเทพยาดาอารักษ์ ผีบ้าน ผีเมือง และบูชากุมภัณฑ์ พร้อมกับเชิญผีเจ้านายลงทรง เพื่อถามความเป็นไปของบ้านเมืองว่าจะดีจะร้ายอย่างไร ฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์หรือไม่ หากคนทรงทำนายว่าบ้านเมืองชะตาไม่ดี ก็จะทำพิธีสืบชะตาเมือง เพื่อแก้ไขปัดเป่าให้เบาบางลง นอกจากนี้ยังมีการซอและการฟ้อนดาบ เป็นเครื่องสักการะถวายแด่วิญญาณบรรพบุรุษด้วย พิธีกรรมนี้ทำสืบต่อมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงหยุดไป ปัจจุบันเทศบาลนครเชียงใหม่ได้ดำเนินการสืบทอดประเพณีอินทขิล โดยมีพิธีทางพุทธศาสนาเข้ามาผสมผสาน ในวันแรกของการเข้าอินทขิล มีการแห่พระเจ้าฝนแสนห่า หรือพระพุทธรูปคันธารราษฎร์รอบตัวเมือง เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำและใส่ขันดอก เพื่อเป็นสิริมงคลกับชีวิต ส่วนภายในวิหารอินทขิล พระสงฆ์ 9 รูป จะทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์บูชาเสาอินทขิล ซึ่งฝังอยู่ใต้ดินภายใต้บุษบกที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป เมื่อเสร็จพิธีจะมีมหรสพสมโภชตลอดงาน
------------------------------------------------------------------------------
เชียงใหม่
http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/Chiangmai/main.htm

 
ความเห็นที่ 3 โพสเมื่อ : 7 พ.ค. 51 : 13:34 น.  โดย : ไทยทัวร์  


เสาหลักเมืองสี่มหาราช
ตั้งอยู่เชิงสะพานกิตติขจร ก่อนเข้าตัวเมืองตาก จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมืองตากเป็นเมืองเก่ามีมาก่อนสมัยกรุงสุโขทัย เป็นเมืองที่มีพระมหาราชเจ้าในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแกรง แล้วยกทัพกลับราชอาณาจักรไทย โดยเสด็จผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้สร้างวัดพระนารายณ์ ปัจจุบันอยู่ที่เชิงสะพานกิตติขจร และ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตากเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของอดีตมหาราช ทั้งสี่พระองค์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวจังหวัดตาก จึงได้จัดสร้างศาลหลักเมืองสี่มหาราชขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2535

-------------------------------------------------
ประวัติเสาหลักเมือง
http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/Tak/data/place/pic_citi-pole-4-great-king.htm

 
ความเห็นที่ 4 โพสเมื่อ : 9 พ.ค. 51 : 16:40 น.  โดย : ไทยทัวร์  


ศาลหลักเมืองแพร่
เมื่อปีพ.ศ.1387ขุนหลวงพล เป็นเจ้าหลวงผู้ครองเมืองแพร่ซึ่งมีชื่อว่า
เมืองพล หรือ พลรัฐนคร เป็นชื่อดั้งเดิมของเมืองแพร่ ในสมัยที่ก่อสร้าง
เมืองขึ้นคร้งแรก บางครั้งเรียกว่า พลนคร ชื่อพลนครปัจจุบันมีปรากฎเป็นชื่อ วิหารในวัดหลวง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งวัดหลวงเป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่ เป็นวัดที่เจ้าเมืองแพร่ให้ความอุปถัมภ์มาโดยตลอดจนหมดยุคเจ้าเมืองตำนานเมืองเหนือฉบับใบลาน ต่อมา พ.ศ.1559 พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนเรียกเมืองแพร่ว่า เมืองโกศัย หรือ โกสิยนคร เมืองแพล เป็นชื่อเรียกในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยโดยศิลาจารึกด้านที่ 4 ระบุว่าในสมัยพ่อขุนรามคำแหงฯ ได้มีการขยายอาณาเขตให้กว้างยิ่งขึ้น ในตำนานเมืองเหนือเรียกเมืองแพร่ว่า เมืองพล ขณะที่ศิลาจารึกเรียก เมืองแพล แต่เมื่อพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์สามารถกล่าวได้ว่า เมืองพลกับเมืองแพลเป็นเมืองเดียวกันเมืองแพร่ เป็นชื่อที่คนไทยในอาณาจักรสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ใช้เรียก เมืองแพลโดยกลายเสียงเป็นแพรหรือเมืองแป้ หมายถึงเมืองแห่งชัยชนะ (แป้ คือ ชนะ) แล้วก็มาเป็น แพร่ ตามภาษาของภาคกลาง

 
ความเห็นที่ 5 โพสเมื่อ : 9 พ.ค. 51 : 16:45 น.  โดย : ไทยทัวร์  


จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นเมืองโบราณ ที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า ใครสร้างกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวิเคราะห์ว่า เพชรบูรณ์ถูกสร้างขึ้นในสองยุค ยุคแรกสร้างในสมัยสุโขทัยยุคที่สองสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ลายพระหัตถ์ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพเกี่ยวกับจังหวัดเพชรบูรณ์มีว่า
แต่เดิมจะตั้งชื่อเมืองเป็นเพชรบูรให้ใกล้เคียงกับเพชรบุรี แปลว่า เมืองแข็ง แต่ชื่ออาจใกล้เคียงกันเกินไปจึงตั้งชื่อเป็น “เพชรบูรณ์” คำว่าเพชรบูรณ์มาจากคำว่าพืช ซึ่งตรงกับเมืองโบราณของอินเดีย คือ พืชปุระ ซึ่งหมายถึง เมืองที่มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์นั่นเอง

จังหวัดเพชรบูรณ์แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ 16เทศบาล 111องค์การบริหารส่วนตำบล ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีประชากรทั้งสิ้น 1,040,000 คน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2546 เป็นชาวไทยภูเขา 1,675 คนสภาพเศรษฐกิจ ราษฎร 90% มีอาชีพเกษตรกรรม มีผลิตผล

 
ความเห็นที่ 6 โพสเมื่อ : 9 พ.ค. 51 : 16:54 น.  โดย : ไทยทัวร์  


ฉะเชิงเทราหรือแปดริ้ว
เป็นจังหวัดในภาคกลางมีประวัติปรากฏมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน อยู่ริมแม่น้ำบางปะกงและลำคลองทั่วไป โดยมี "หลวงพ่อโสธร" เป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวแปดริ้ว ในอดีตฉะเชิงเทรามีฐานะเป็นเมืองจัตวาอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ต่อมาได้ขึ้นอยู่ในสังกัดกรม มหาดไทย และคงอยู่เช่นนี้เรื่อยมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแผ่นดินใหม่ เมืองฉะเชิงเทรามีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งใน มณฑลปราจีนบุรี และในปี พ.ศ. 2459 จึงได้เปลี่ยนจากเมืองเป็นจังหวัด เรียกว่า "จังหวัดฉะเชิงเทรา" คำว่า "ฉะเชิงเทรา" เป็นภาษาเขมร แปลว่า คลองลึก ส่วนชื่อ "แปดริ้ว" นั้น ได้มาจากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า ในเมืองนี้มีปลาช่อนขนาดใหญ่ชุกชุม เมื่อนำมาตากทำเป็นปลาแห้งจะต้องแล่เนื้อปลาถึง 8 ริ้ว ฉะเชิงเทรา อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 80 กม. มีพื้นที่ 5,351 ตรกม.
---------------------------------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Chacheongsao/data/place/pic-citipole-shrine.htm

 
ความเห็นที่ 7 โพสเมื่อ : 10 พ.ค. 51 : 15:06 น.  โดย : Nan  


ศาลหลักเมืองปทุมธานี ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานีปัจจุบันเป็นศาลาแบบจตุรมุข ด้านหน้าเป็นมณฑปประดิษฐานเสาหลักเมืองลักษณะคล้ายก้าน
ดอกบัวหลวงและมีรูปหล่อพระนารายณ์สี่กรทรงเหนือหลังนกฮูก
และพระวิษณุหล่อด้วยสัมฤทธิ์ด้านหลังของพระมณฑปบรรจุพระยอดธง วัดไก่เตี้ยอีกทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกมากมายประกอบด้วยเครื่องรางของขลัง
ที่รวบรวมมาจากวัดต่าง ๆ ในจังหวัดปทุมธานี สร้างในสมัย นายสุธี โอบอ้อม ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (วาสน์ วาสโน) เสด็จมาเป็นประธานวางศิลาฤกษ์ศาลหลักเมือง เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช๒๕๒๐กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาหลักเมือง ซึ่งทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ จากสวนป่าลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยกรมป่าไม้เป็นผู้มอบให้ เมื่อประดิษฐ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นำเข้าพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อน้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิม เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ เวลาฤกษ์ ๘.๒๙ นาฬิกา
พิธียกเสาหลักเมือง จัดให้มีขึ้นในวันที่ ๒๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ ซึ่งตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชทานฤกษ์เมืองปทุมธานี อนึ่งจังหวัดปทุมธานี ได้จัดสร้างลูกเสาหลักเมืองขึ้นอีก ๗ หลัก เพื่อให้นำไปประดิษฐานยังอำเภอ ๗ อำเภอ ที่อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดปทุมธานี
---------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Prathumthani/data/place/city.htm

 
ความเห็นที่ 8 โพสเมื่อ : 10 พ.ค. 51 : 15:20 น.  โดย : Nan  


ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองของชาวจังหวัดราชบุรี เป็นหลักเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองเดิมไปตั้งทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง สำหรับพิธีฝังหลักเมืองมีการสมโภช 3 วัน 3 คืน ตั้งแต่วันอังคาร แรม 13 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู จุลศักราช 1179 (พ.ศ. 2360) จนถึงวันพฤหัสบดี แรม 15 ค่ำ เวลา 7 นาฬิกา เมื่อฝังหลักเมืองตามกำหนดฤกษ์แล้ว จึงได้มีการก่อสร้างกำแพงเมืองและสิ่งอื่นๆ ต่อไป
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองของจังหวัดราชบุรี เป็นที่นับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก มีประชาชนไปกราบไว้บูชาอยู่เสมอมิได้ขาด และทางจังหวัดได้จัดให้มีงานบูชาศาลเจ้าพ่อหลักเมืองประจำทุกปี โดยมีกรมการทหารช่างและทหารบก รวมทั้งทางจังหวัดเป็นผู้ดูแล และได้บูรณะซ่อมแซมให้คงสภาพถาวรอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

 
ความเห็นที่ 9 โพสเมื่อ : 10 พ.ค. 51 : 16:10 น.  โดย : Nan  


เสาหลักเมืองสุพรรณบุรี
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำไปตามถนนมาลัยแมน เดิมเป็นศาลไม้ทรงไทยมีเทวรูปพระอิศวรและพระนารายณ์สวมหมวกเติ๊ก(หมวกทรงกระบอก) สลักด้วยหินสีเขียว ปัจจุบันได้สร้างศาลเป็นรูปวิหารและเก๋งจีน เจ้าพ่อหลักเมืองนี้เป็นพุทธประติมากรรมสลักบนแผ่นหินแบบนูนต่ำในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน แบบศิลปเขมรอายุราว พ.ศ.1185–1250 หรือประมาณ 1,300-1,400 ปีมาแล้ว มีพระนามว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือที่เรียกกันว่า พระนารายณ์สี่กร เป็นที่สักการะบูชาทั้งชาวไทยและชาวจีน ตามประวัติกล่าวว่า ประมาณ 150 ปีมาแล้วมีผู้พบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
-------------------------------------------
สุพรรณบุรี เป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทาง โบราณคดี มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500 - 3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่ สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี ศรีวิชัย สุพรรณบุรี เดิมมีชื่อ "ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ "พันธุมบุรี" ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า "เมืองสองพันบุรี" ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่ง ใต้ หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อ เมืองเรียกวา "อู่ทอง" จวบจนสมัย ขุนหลวงพะงั่ว เมืองจึงถูก เรียกว่าชื่อว่า "สุพรรณบุรี" นับแต่นั้นมา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรี เป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง สภาพเมือง ตลอดจนประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ถูกทำลาย ปรักหักพัง จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมือง สุพรรณได้ฟื้นตัว และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่ น้ำท่าจีน (ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้

ความสำคัญของสุพรรณบุรี ในด้านประวัติศาสตร์ การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ชัยชนะ แห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอน เจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุก ปีเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดี ไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิบ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์ เป็นต้น
-------------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Suphanburi/data/place/pic_city-pole.htm

 
ความเห็นที่ 10 โพสเมื่อ : 10 พ.ค. 51 : 19:06 น.  โดย : Nan  


ศาลหลักเมือง ของจังหวัดอ่างทองอยู่ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัด เป็นอาคารจตุรมุข ตัวศาลสูงจากพื้นประมาณ ๑.๕ เมตร ศาลหลักเมืองจังหวัดอ่างทองเป็นศาลหลักเมืองแห่งที่ ๒ ที่มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง ๔ ด้าน (ศาลหลักเมืองแห่งแรกที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังคือ ศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ) ภายในศาลมีภาพจิตรกรรมฝาผนังลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่งสวยงามมาก ศาลหลักเมืองอ่างทองเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สวยงามสมกับเป็นหลักชัยและหลักใจของประชาชนชาวอ่างทองอย่างยิ่ง ผู้ที่มีโอกาสไปเยือนจังหวัดนี้ไม่ควรพลาดการไปเคารพสักการะศาลหลักเมืองแห่งนี้
-------------------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Angthong/data/place/city.htm

 
ความเห็นที่ 11 โพสเมื่อ : 10 พ.ค. 51 : 19:34 น.  โดย : Nan  


เสาหลักเมืองจันทบุรี
หลักเมืองจันทบุรีหลังปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่หน้าค่ายตากสินด้านซ้าย เป็นศาลหลักเมืองที่ตั้งขึ้นหลักจากย้ายมาจากบ้านหัววัง (ตำบลพุงทะลายเดิม) มาแล้ว ศาลเดิมคงจะสร้างด้วยศิลาแลงแต่ได้ชำรุงโทรมไปจนต้นโพธิ์ต้นข่อยขึ้นปกคลุม และในที่สุดตัวศาลก็ไม่มีเหลืออยู่และหลักเมืองเองก็ไม่ทราบว่ามีรูปร่างลักษณะอย่างไร เมื่อประมาณ 50 ปีกว่ามาแล้ว ศาลหลักเมืองแห่งนี้เป็นศาลไม้อยู่ระหว่างต้นข่อยใหญ่ 2 ต้นศาลหนึ่งและยังมีอีกศาลหนึ่งอยู่ใต้ต้นข่อยอีกต้นหนึ่ง ที่โคนต้นข่อย ยังเคยเห็นมีก้อนศิลาแลงอยู่ศาลหลักเมืองแห่งที่กล่าวถึงนี้ ก็คือศาลหลักเมืองซึ่งทางจังหวัดจันทบุรีได้กำหนดให้เป็นศาลหลักเมืองจันทบุรีปัจจุบัน จึงได้ก่อสร้างศาล ฝังเสาหลักเมือง และหล่อองค์เจ้าพ่อขึ้นใหม่เพื่อให้สง่างามสมศักดิ์ศรีของเมือง
พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกล่าวไว้ว่า พระองค์ได้เมืองจันทบุรี เมื่อวันอาทิตย์แรม 3 ค่ำ เดือนเจ็ด ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2310 หากข้อสันนิษฐานที่ว่าศาลหลักเมืองแห่งนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงสร้างขึ้นเป็นความจริง แล้วเราก็สันนิษฐานที่ว่าศาลหลักเมืองแห่งนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงสร้างขึ้นเป็นความจริง แล้วเราก็อาจสรุปได้ว่าศาลหลักเมืองนี้คงสร้างขึ้นในราวปีพุทธศักราช 2310 นั่นเอง
-------------------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/East/Trad/data/place/pic_citypole.htm

 
ความเห็นที่ 12 โพสเมื่อ : 10 พ.ค. 51 : 19:41 น.  โดย : Nan  


ประวัติศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์หลักเมือง


เดิมแท้อยู่บ้านโนนเมือง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอชุมแพ เป็นระยะทาง 1 ก.ม. บริเวณโดยรอบเป็นเนินดินสูงมีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ล้อมรอบด้วยคลองสองชั้นมีสะพานข้ามและมีทางเข้าออกทางเดียว ชาวอำเภอชุมแพ เรียกพื้นที่ตรงนี้ว่า "กู่" ก่อนจะไปถึงกู่จะมีรูปพระนอนสลักลงบนหิน ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นวัดป่า
เมื่อปี พ.ศ.2498 ประมาณเดือน 4 ได้มีคนแก่มากราบเรียนท่านเจ้าคุณ พระราชสารธรรมมุนี(หลวงพ่อกัณหา) เจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น วัดศรีนวล เล่าว่ามีอยู่วันหนึ่งเขาได้ไปนอนพักที่โรงนาฝันประหลาดว่าเห็นคนแก่นุ่งห่มชุดขาวบ่นว่า "อยากจะไปอยู่ในเมือง" คืนที่สองฝันอีกว่า "อยากจะไปอยู่ในเมือง" และพูดต่อว่า "อยากจะไปอยู่เป็นมิ่งขวัญของเมือง" พอคืนที่สามก็ได้ฝันลักษณะเดิมอีก จากนั้นพอตื่นขึ้นก็รู้สึกว่าร้อนรนอยู่ไม่ได้นอนไม่ได้ ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร ก็เลยเดินทางเข้าในเมืองมาเล่าความฝันให้ท่านเจ้าคุณฟัง และท่านเจ้าคุณได้ถามว่า "ลักษณะตรงนั้นเป็นอย่างไร" คนแก่ตอบว่า "ลักษณะตรงนั้นเป็นกู่เก่า มีป่าขนาดใหญ่ ต้นไม้ขึ้นหนาทึบมีเสาหิน และใบเสมาเป็นจำนวนมาก" ท่านเจ้าคุณก็เลยออกปากว่า "ถ้าเป็นมิ่งเป็นขวัญของเมือง ก็ต้องเป็นหลักเมือง" ประกอบว่าจังหวัดขอนแก่นยังไม่มีหลักเมือง ท่านเจ้าคุณจึงเรียนให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น คือ หลวงพินิจ และได้มอบหมายให้ฝ่ายพระมหาสุคนธ์ พระอีกจำนวนหนึ่งพร้อมปลัดจังหวัดไปอัญเชิญหลักเมืองออกมาจากกู่ และเกิดอาเพศฝนตกหนัก มีฟ้าผ่าลงมาโดนเสาหลักเมือง (ปัจจุบันเป็นเสาหลักเมืองอำเภอชุมแพ) รถเกิดติดหลุ่มไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ ก็เลยปรึกษากันว่า "เฮาเป็นผู้น้อย ผู้ใหญ่บ่ได้มาเพิ่นเลยบ่ไป" และได้อัญเชิญหลักเมืองลงไว้ที่วัดพระนอน แล้วกลับมาเล่าเหตุการณ์ให้ท่านเจ้าคุณฟัง ท่านเจ้าคุณเลยไปอัญเชิญด้วยตัวเองได้นำหมอลำ หนัง มาฉลองที่วัดพระนอนหนึ่งคืน แล้วค่อยอัญเชิญออกมา สี่หลัก หลักที่หนึ่งอยู่ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น หลักที่สองอยู่ที่ศาลหลักเมืองอำเภอชุมแพ ส่วนสองหลักที่เหลืออยู่ที่หน้าโบสถ์วัดศรีนวลจังหวัดขอนแก่น ลักษณะหลักเมืองเป็นเสาหินทราย รูปทรง 8 เหลี่ยม สูงประมาณ 3 เมตร มีลายสลักตัวหนังสือขอม
พิธีตั้งเสาหลักเมือง นิมนต์พระมาสวดยกตั้งตามแบบพิธีพุทธ ณ ที่สนามศาลาสุขใจ ท่านเจ้าคุณได้ตั้งชื่อว่า "ศาลเทพารักษ์หลักเมือง" มีนามย่อว่า "อินทร์ตา" การก่อสร้างได้ร่วมกันสร้างทั้งคนจีนและคนไทย นอกจากนี้ได้อัญเชิญอากงอาม่าอยู่รวมกันกับหลักเมือง คนจีนเรียกว่า "ศาลหลักเมืองกง" คนไทยเรียกว่า "ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง"
คำบอกเล่านี้ได้จากคุณพ่อจารย์นนท์ ขณะนั้นเป็นมรรคนายกวัดศรีนวล หลังจากได้ก่อสร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเสร็จเรียบร้อย ท่านเจ้าคุณได้แต่งตั้งให้ คุณพ่อจารย์นนท์ เป็นผู้ดูแลรักษาศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สืบทอดจนมาถึงลูกหลานในปัจจุบัน คือ นายสมพงษ์ พูลพุทธา
-------------------------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Khonkaen/data/place/city.htm

 
ความเห็นที่ 13 โพสเมื่อ : 10 พ.ค. 51 : 20:34 น.  โดย : Nan  


ศาลเจ้าพ่อกุดป่องและศาลหลักเมือง (อยู่ติดกัน)

ศาลหลักเมือง สร้างเมื่อ พ.ศ.2525 เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ราชพฤกษ์ แกะสลักเป็นรูปหัวเม็ดทรงมัณฑน์ ลงรักปิดทองทั้งองค์ มีความสูง 139 ซ.ม.

ดินแดนซึ่งเป็นที่ก่อตั้งของจังหวัดเลย มีหลักฐานและประวัติความเป็นมาว่าก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษ ที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนก โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้อพยพผู้คนจากอาณาจักรโยนกที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนล้านช้าง ข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันจนถึงบริเวณที่ราบ พ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้าย สร้างบ้านด่านซ้าย จากนั้นได้อพยพขึ้นไปตามลำน้ำและได้สร้างบ้านหนองคูขึ้น พร้อมกับนำชื่อหมู่บ้านด่านซ้ายมาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่เป็นเมืองด่านซ้าย และอพยพไปอยู่ที่บางยางในที่สุด

ต่อมามีชาวโยนกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนระหว่างชายแดนตอนใต้ ของอาณาเขตล้านช้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงครามข้ามลำน้ำเหืองมาตั้ง เมืองเซไลขึ้น จากหลักฐานสมุดข่อยที่มีการค้นพบเมืองเซไลอยู่ด้วยความสงบร่มเย็น มาจนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัยขึ้นจึงได้พาผู้คนอพยพไปตามลำแม่น้ำเซไลและได้ตั้งบ้านเรือนขึ้น ขนานนามว่า
"ห้วยหมาน"

ในปี 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแฮ่ ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยน้ำหมานและอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น สมควรจะได้ตั้งเป็นเมืองเพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นเมือง เรียกชื่อตามนามของแม่น้ำเลยว่า "เมืองเลย"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองพื้นที่ ร.ศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลยออกเป็น 4 อำเภอ อำเภอที่ตั้งเมืองคือ อำเภอกุดป่อง ในปี พ.ศ.2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็นบริเวณลำน้ำเหือง และในปี 2450 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2450 ยกเลิกบริเวณลำน้ำเหืองให้คงเหลือไว้เฉพาะเมืองเลย โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็น อำเภอเมืองเลย จนถึงปัจจุบัน
-------------------------------------------------
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Loei/main.htm

 
ความเห็นที่ 14 โพสเมื่อ : 20 ม.ค. 52 : 16:06 น.  โดย : คนหล่อ  

ดีคับ








บายๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

 
ความเห็นที่ 15 โพสเมื่อ : 21 ม.ค. 52 : 13:16 น.  โดย : ฮาจัง  

คนสวย

 
ความเห็นที่ 16 โพสเมื่อ : 27 ส.ค. 52 : 22:23 น.  โดย : ฟองเบียร  

ความรู้เยอะดี อะ อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

 
ความเห็นที่ 17 โพสเมื่อ : 27 ส.ค. 52 : 22:24 น.  โดย : ฟองเบียร  

ความรู้เยอะดี อะ อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

 
ความเห็นที่ 18 โพสเมื่อ : 24 ต.ค. 52 : 14:25 น.  โดย : ตุ้กตี้  


อิ

 
ความเห็นที่ 19 โพสเมื่อ : 19 พ.ย. 52 : 20:52 น.  โดย : ja  

มีความรู้

 
ความเห็นที่ 20 โพสเมื่อ : 4 ม.ค. 53 : 08:11 น.  โดย : noname  

มีสาระมากกกกกกกกกกกกก

 
ความเห็นที่ 21 โพสเมื่อ : 4 ม.ค. 53 : 08:16 น.  โดย : ฮาจะเกร็ง  

 
ความเห็นที่ 22 โพสเมื่อ : 24 มี.ค. 53 : 10:14 น.  โดย : เปมี่  

ขอดูศาลหลักเมืองหนองคายด้วยนะ

 
ความเห็นที่ 23 โพสเมื่อ : 31 ส.ค. 53 : 19:59 น.  โดย : วัดดีคับทุกคน  

 
ความเห็นที่ 24 โพสเมื่อ : 9 ก.ย. 54 : 21:12 น.  โดย : โจ๊กไผ่เขียว  

อิอิ
สวดยอดเลยยยยยยย

 
ความเห็นที่ 25 โพสเมื่อ : 25 ก.พ. 55 : 14:35 น.  โดย : เด็กตราด  

เสาหลักเมืองจันทบุรีไม่ใช่ครับ เป็นเสาหลักเมืองตราด

 
ความเห็นที่ 26 โพสเมื่อ : 29 มี.ค. 58 : 05:31 น.  โดย : อาราเร่  


ข้อมูลนี้มีประโยชน์มาก ได้อ่านแล้วทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ของไทย และทีมาของการก่อตั้งศาลหลักเมืองแต่ละเมืองในจังหวัด ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้นี้ไว้ ณ. โอกาสนี้

 

[1]  

แสดงความคิดเห็น
Detail :

Picture :
Name :


 
ท่องเที่ยว